พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย-เช่าซื้อ: การรับซื้อคืนและการคำนวณหนี้คงค้างตามสัญญา
จำเลยยื่นคำให้การและนำสืบเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ชัดเจนว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจนเวลาล่วงเลยไปปีเศษนับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเป็นผลให้เครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อเสื่อมสภาพ เสื่อมราคาและตกรุ่น จำเลยนำออกจำหน่ายไม่ได้จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนผิดสัญญาเช่าซื้อที่ผ่อนเวลาการบอกเลิกสัญญาออกไปปีเศษทำให้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายบางส่วนและทำให้จำเลยเสียโอกาสที่จะจำหน่ายทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนผิดนั้น จึงเป็นการหยิบยกเรื่องที่เป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นวินิจฉัย และแม้คู่ความจะแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์รวม 32 งวด ก็ไม่ทำให้ประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ยุติตามข้อเท็จจริงที่แถลงรับกัน ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยขายเครื่องเรียงพิมพ์กราฟิคแก่โจทก์เพื่อนำไปให้บริษัท ว. เช่าซื้ออีกทอดหนึ่งโดยจำเลยทำหนังสือสัญญารับซื้อคืนกับโจทก์ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ถ้าผู้ให้เช่าซื้อต้องการและแจ้งให้ผู้รับซื้อคืนทราบเป็นหนังสือ ผู้รับซื้อคืนจะรับซื้อทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวซึ่งยึดกลับคืนมาในสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นในราคาเท่ากับจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่ผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อบริษัท ว. ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืนพร้อมกับส่งมอบให้แก่จำเลย จำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระตามหนังสือสัญญารับซื้อคืนก็คือเงินคงค้างทุกจำนวนที่บริษัท ว. ต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันที่โจทก์ยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืน แต่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบเพียงว่าจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่บริษัท ว. ค้างชำระอยู่เป็นเงิน 145,418.45 บาท โดยมิได้แสดงรายละเอียดแห่งหนี้ว่าเป็นการค้างชำระหนี้รายการใดบ้าง จำนวนเท่าใด จึงต้องถือจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ควรได้รับตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์กล่าวยืนยันในคำฟ้องคือ 882,605.52 บาท เป็นยอดสุทธิหักด้วยเงินค่าเช่าซื้อ 32 งวด จำนวน 839,456 บาท ที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงคงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เพียง 43,149.52 บาท
จำเลยขายเครื่องเรียงพิมพ์กราฟิคแก่โจทก์เพื่อนำไปให้บริษัท ว. เช่าซื้ออีกทอดหนึ่งโดยจำเลยทำหนังสือสัญญารับซื้อคืนกับโจทก์ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ถ้าผู้ให้เช่าซื้อต้องการและแจ้งให้ผู้รับซื้อคืนทราบเป็นหนังสือ ผู้รับซื้อคืนจะรับซื้อทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวซึ่งยึดกลับคืนมาในสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นในราคาเท่ากับจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่ผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อบริษัท ว. ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืนพร้อมกับส่งมอบให้แก่จำเลย จำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระตามหนังสือสัญญารับซื้อคืนก็คือเงินคงค้างทุกจำนวนที่บริษัท ว. ต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันที่โจทก์ยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืน แต่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบเพียงว่าจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่บริษัท ว. ค้างชำระอยู่เป็นเงิน 145,418.45 บาท โดยมิได้แสดงรายละเอียดแห่งหนี้ว่าเป็นการค้างชำระหนี้รายการใดบ้าง จำนวนเท่าใด จึงต้องถือจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ควรได้รับตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์กล่าวยืนยันในคำฟ้องคือ 882,605.52 บาท เป็นยอดสุทธิหักด้วยเงินค่าเช่าซื้อ 32 งวด จำนวน 839,456 บาท ที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงคงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เพียง 43,149.52 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้คงค้าง ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้ร้องจะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 102 นั้น จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 ผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามบัญชีเงินฝากประจำคือเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใด แล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1ได้ ผู้ร้องไม่อาจนำดอกเบี้ยของเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น แม้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ลูกหนี้ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ที่ 1 และจำเลยอื่นในต้นเงิน 40,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยลูกหนี้ที่ 2 จึงต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 จะต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนอง และมีลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนวน 16,774,820 บาท แต่ก็นำไปชำระหนี้ได้เพียงดอกเบี้ยส่วนหนึ่งของหนี้ที่ค้างชำระเท่านั้น จึงมีหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่เป็นจำนวน 76,321,642.55 บาท ส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ยังไม่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ในส่วนที่ลูกหนี้ที่ 2 ต้องรับผิดเลย เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกวงแชร์ต้องชำระค่าแชร์ตามสัญญา แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องหนี้คงค้าง การค้ำประกันผูกพันผู้ค้ำประกัน
จำเลยเป็นลูกวงแชร์ได้ประมูลแชร์ในเดือนมีนาคมได้ มีหน้าที่จะต้องชำระค่าแชร์คืนโจทก์ ซึ่งเป็นนายวงเป็นงวดประจำเดือนตั้งแต่ เมษายนถึงกันยายน เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ชำระค่าแชร์ให้แก่โจทก์ ปัญหาว่าค่าแชร์งวดประจำเดือนมิถุนายนถึงกันยายน จะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ จึงไม่สำคัญ จำเลยต้องชำระค่าแชร์งวดประจำเดือนมิถุนายนถึงกันยายนให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12162/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ล้มละลาย: ศาลลดค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับหนี้คงค้าง เพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้
เมื่อจำเลยประสงค์จะชำระหนี้ที่เหลือรวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อถอนการยึดทรัพย์ หากให้จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 (3) (เดิม) โดยไม่พิจารณายอดหนี้ที่เหลือที่จำเลยต้องรับผิดประกอบด้วย ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง เมื่อพิจารณาว่าจำเลยพยายามขวนขวายชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งประสงค์ที่จะชำระหนี้ทั้งหมด แสดงว่าจำเลยมีความสุจริตในการดำเนินคดีและมีเหตุอันสมควร อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 (เดิม) จึงกำหนดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ในขอบเขตของยอดหนี้ที่ค้างชำระขณะยึดทรัพย์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค้ำประกัน: การระงับหนี้ลูกหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหากยังมีหนี้คงค้าง
การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือต้องเป็นกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา แล้วการชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้นภายหลังส่งมอบงานให้แก่ผู้ว่าจ้างในสภาพเรียบร้อยถูกต้องตามสัญญาแล้ว มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นเพราะผู้รับจ้างปฏิบัติหรือทำงานไม่ถูกต้องตามสัญญา สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัท ร. ข้อ 6 มีความว่า เมื่องานแล้วเสร็จบริบูรณ์และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างรายใหม่ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 5 หากมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นภายในกำหนด 1 ปี นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของผู้รับจ้างอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือทำไว้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้าโดยผู้ว่าจ้างไม่ต้องออกเงินใด ๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างบิดพลิ้วไม่กระทำการดังกล่าวภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างหรือไม่ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิกระทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นโดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความชำรุดบกพร่องเสียหายเกิดจากการที่บริษัท ร. ใช้วัสดุไม่ถูกต้องหรือทำงานไม่เรียบร้อยไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชาเป็นจำนวนมาก อันเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลแห่งความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากการดำเนินการตามสัญญาจ้างของบริษัท ร. โดยตรง มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัท ร. ส่งมอบงานที่รับจ้างที่ถูกต้องสมบูรณ์ไร้ข้อบกพร่องให้แก่โจทก์แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษ ซึ่งโจทก์และบริษัท ร. ผูกพันต้องปฏิบัติต่อกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ที่จะนำอายุความตามมาตรา 601 มาใช้บังคับ และไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้บทบัญญัติเรื่องอายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนี้ แม้จะนับแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2538 ซึ่งโจทก์พบความชำรุดบกพร่อง อันเป็นวันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้เป็นครั้งแรกจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 2 คือวันที่ 16 มิถุนายน 2548 ยังเป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้นั้น แม้จะเข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสามว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงนั้นได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ยังมีภาระต้องชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวแก่โจทก์ และหนี้ดังกล่าวมิได้ระงับไปด้วยเหตุประการอื่นใด จำเลยที่ 1 ยังคงต้องชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ เพียงเหตุที่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันกลับคืนมาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็หาส่งผลให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 ได้
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้นั้น แม้จะเข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสามว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงนั้นได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ยังมีภาระต้องชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวแก่โจทก์ และหนี้ดังกล่าวมิได้ระงับไปด้วยเหตุประการอื่นใด จำเลยที่ 1 ยังคงต้องชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ เพียงเหตุที่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันกลับคืนมาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็หาส่งผลให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 ได้