พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลายตามหนี้คำพิพากษา & ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย มิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น เมื่อศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำพิพากษาคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์คดีดังกล่าวจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2538 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และจำเลยทั้งสองถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ทั้งจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดตามมาตรา 14
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และจำเลยทั้งสองถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ทั้งจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดตามมาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาคืนรถยนต์เช่าซื้อ: โจทก์ต้องบังคับคดีตามลำดับก่อนเรียกร้องราคาแทน หากรถยนต์ยังอยู่
หนี้ตามคำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งสามร่วมกันส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เป็นกรณีคำพิพากษากำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ ซึ่งโจทก์ต้องบังคับคดีไปตามลำดับ โจทก์มีพยานมาเบิกความเพียงว่า ติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว แต่ไม่พบ โดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ได้ ซึ่งในข้อนี้กลับได้ความจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตอบคำถามค้านว่าจำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อทั้งจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้มาโดยตลอดว่าสามารถนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาส่งมอบคืนได้ กรณีน่าเชื่อว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ และโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยทั้งสามคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ จึงยังไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาให้บริษัทบริหารสินทรัพย์โดยไม่ต้องบอกกล่าวลูกหนี้ตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
หนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นสินทรัพย์ด้วยคุณภาพของธนาคารโจทก์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โจทก์ย่อมสามารถโอนสินทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และผู้ร้องได้มอบหมายให้โจทก์ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นอันชอบด้วยพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 และมาตรา 9 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนไปยัง จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้ ทั้งการโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องมิใช่การซื้อขายความจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย: ผลของการฟ้องคดีต่ออายุความ
ลูกหนี้ตกลงชำระหนี้งวดแรกตามคำพิพากษาตามยอมในวันที่ 30 สิงหาคม 2528 แต่ลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะบังคับ คดีเพื่อรับชำระหนี้ดังกล่าวทั้งหมดได้ ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2528 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 ดังนั้น การที่ เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องให้ลูกหนี้เป็น บุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2538 ซึ่งอยู่ในกำหนด 10 ปี จึงสามารถกระทำได้ และการฟ้องคดีดังกล่าวมีผลทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19/32 ด้วยเหตุนี้แม้เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 8 ธันวาคม 2538 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลา บังคับคดี 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้วก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ยื่นใน ระหว่างอายุความสะดุดหยุดลง ซึ่งไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)