พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ แม้มีเงื่อนไขชำระในใบแจ้งหนี้
สัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์จำเลย ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 แม้ตามเงื่อนไขของสัญญาที่ระบุให้ผู้ใช้บริการ (จำเลย) นำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่ผู้ให้บริการ (โจทก์) ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อปรากฏตามใบแจ้งหนี้ว่าช่วงเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้องเกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ, หากเกิน 2 ปี คดีขาดอายุความ
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการให้จำเลยชำระค่าเช่าให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการซึ่งหากมิได้กำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้ชัดเจน ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บริการโทรศัพท์ แม้ในเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวจะระบุให้จำเลยผู้ใช้บริการนำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่โจทก์ผู้ให้บริการภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ข้อความดังกล่าวก็เป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อปรากฏตามใบแจ้งหนี้ว่าช่วงระยะเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้องเกินกว่า 2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และการรับผิดในหนี้ค่าบริการ โดยมีข้อตกลงพิเศษระหว่างผู้ให้บริการและโจทก์
คู่สัญญาเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทคือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจำเลยแต่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าด้วยการแบ่งรายได้ค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศว่าไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์เรียกเข้าหรือเรียกออกโจทก์จะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนาทีละ4บาทและกำหนดด้วยว่าการเรียกเก็บเงินองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการและกล่าวถึงว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและโจทก์ตกลงที่จะแบ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนฝ่ายละครึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นความตกลงระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้นถือได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนกันในการหาประโยชน์และผลกำไรร่วมกันนอกจากนี้ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของโจทก์ฉบับที่224ว่าด้วยบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศพ.ศ.2535หมวด6ว่าด้วยการระงับบริการและการยกเลิกการระงับบริการข้อ32มีข้อความว่าผู้เช่าโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ประสงค์จะดำเนินการตามข้อ31.1ให้ยื่นคำขอระงับ/ยกเลิกการขอระงับบริการต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยการขอระงับการใช้บริการหรือยกเลิกการระงับดังกล่าวจะมีผลต่อเมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้วดังนี้การที่จำเลยได้แจ้งการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทให้แก่จำเลยร่วมต่อผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่15กันยายน2535และพนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ลงชื่อรับแบบขอโอนและรับโอนสิทธิการเช่าสองฝ่ายตามเอกสารหมายล.3ในวันเดียวกันนั้นต้องถือว่าจำเลยได้แจ้งระงับการใช้บริการแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแล้วและเอกสารหมายล.3ซึ่งเป็นแบบฟอร์มขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเองมีใจความว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอโอนสิทธิการเช่าพร้อมทั้งภาระผูกพันต่างๆและหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนและที่จะปรากฏต่อไปให้แก่จำเลยร่วมประกอบกับหลังจากมีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ตามเอกสารหมายล.3แล้วองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องส่งเรื่องให้โจทก์เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับรู้การโอนสิทธิการเช่าซึ่งได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามเอกสารหมายล.3ดังกล่าวแล้วและมีผลผูกผันไปถึงโจทก์ด้วยตามข้อตกลงระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์และระเบียบของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นจำเลยจึงยกเอาการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวขึ้นยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งจำเลยจึงพ้นจากความรับผิดในหนี้ค่าบริการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5667/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยอมรับหนี้ค่าบริการโทรศัพท์ ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มีอายุความ 2 ปี
เอกสารมีใจความว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์และยินยอมผ่อนชำระเป็น 3 งวด หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยินยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หากจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์-ทรัพย์หรือจำเลยถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดหรืออายัดทรัพย์ให้ถือว่าสัญญาสิ้นสุดจำเลยยินยอมชำระเงินที่ค้าง แต่หนี้ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นมูลหนี้อันเนื่องมาจากค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ เมื่อ ท. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยมาทำเอกสารดังกล่าวยอมใช้หนี้แก่โจทก์ เอกสารฉบับนี้จึงเป็นเพียงหนังสือที่ฝ่ายจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ยอมรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องหาใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่
โจทก์เป็นผู้จัดให้มีบริการพูดโทรศัพท์ถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกร้องเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) เดิม หรือ 193/37 (7) ใหม่ สิทธิเรียกร้องค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศของโจทก์มีอายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นผู้จัดให้มีบริการพูดโทรศัพท์ถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกร้องเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) เดิม หรือ 193/37 (7) ใหม่ สิทธิเรียกร้องค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศของโจทก์มีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี
ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์ต้องเสียค่าบริการพูดโทรศัพท์ตามอัตราที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกำหนด ค่าใช้บริการจึงเป็นสินจ้างและถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าโดยรับทำการงานเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น หนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ ไม่ใช่เมื่อทวงถาม
แม้โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการให้บริการและการปฏิบัติการด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนก็ตาม แต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์จากในประเทศไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ค่าธรรมเนียมก็คือสินจ้าง จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าหรือผู้รับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีและสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์นั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล: การนับวันสุดท้ายเมื่อตรงกับวันหยุดราชการ
ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุของโจทก์ มีลักษณะเป็นสินจ้างโจทก์จึงเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลของโจทก์ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 2 ปี เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความครบกำหนดตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ การนับระยะเวลาวันสุดท้ายของการฟ้องร้อง ก็ต้องถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 คือให้นับวันจันทร์อันเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยเป็นวันสุดท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าบริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) เนื่องจากโจทก์เป็นผู้ให้บริการและเรียกเก็บค่าบริการ
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่ประชาชนประจำเป็นปกติธุระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการต่างๆจึงเป็นสินจ้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการเมื่อโจทก์ในฐานะผู้ค้าในการรับทำการงานต่างๆฟ้องเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นจึงต้องอยู่ในอายุความ2ปีตามป.พ.พ.มาตรา165(7).