พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษา: การบังคับคดีตามลำดับก่อนใช้ราคาแทนรถยนต์เช่าซื้อ และผลต่อการเป็นบุคคลล้มละลาย
หนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดให้จำเลยส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้จำเลยใช้ราคารถยนต์เป็นเงิน 1,250,000 บาท เป็นการกำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่และโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยคืนได้ ซึ่งหากการคืนรถยนต์ยังอยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับให้ใช้ราคาแทน กรณีจึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องบังคับคดีตามลำดับ หากยังไม่สามารถบังคับเอารถได้ ยังไม่ถือเป็นหนี้ที่จำนวนแน่นอนตามกฎหมายล้มละลาย
หนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายศาลพิพากษาให้จำเลยส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนรถไม่ได้จึงให้จำเลยใช้ราคารถเป็นเงิน 800,000 บาท เป็นการกำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา ไม่ปรากฏว่าการบังคับเอากับตัวรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งหากการคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อยังสามารถที่จะกระทำได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้ราคาใช้แทน จึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีตามลำดับ หากไม่สามารถบังคับเอารถคืนได้ จึงบังคับใช้ราคาแทน หนี้ยังไม่แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
มูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งพิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้ราคาแทนเป็นเงิน 800,000 บาท เป็นเรื่องคำพิพากษากำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา โดยจะต้องบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก่อน หากไม่สามารถบังคับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาได้จึงจะสามารถบังคับเอาราคาใช้แทนจำนวน 800,000 บาท ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าการบังคับเอากับตัวรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่สามารถกระทำได้ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีตามลำดับในคำพิพากษา กรณีจึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องล้มละลายได้ และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
มูลหนี้ตามคำฟ้องเป็นหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยต้องผูกพันในผลของคำพิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสียในที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแรงงาน ไม่ครอบคลุมหนี้ตามคำพิพากษา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 27 มีความหมายอย่างชัดแจ้งว่า การยื่นฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใดๆ ในศาลแรงงาน ให้ได้รับการยกเว้นเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมเท่านั้น คดีนี้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดและให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแก่โจทก์ เงินที่จำเลยทั้งสองต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานมิใช่ค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด หากจำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลแรงงานกลาง จำเลยทั้งสองต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 โดยต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลแรงงานกลางเสียก่อน
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย การฟ้องคดีล้มละลายภายในอายุความทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
หนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 เมื่อโจทก์นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาย่อมมีผลเป็นการฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้อย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ อันทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีไม่ใช่เรื่องการบังคับคดีจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 มาใช้บังคับ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6385/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาคดีอาญา การฟ้องล้มละลาย และการเรียกดอกเบี้ย
คำพิพากษาในคดีอาญาที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 34,922 บาท จำเลยทั้งสองมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับแรกคือส่งมอบทรัพย์คืนให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ส่งมอบทรัพย์และโจทก์ไม่สามารถบังคับคดีให้จำเลยทั้งสองร่วมส่งมอบทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยทั้งสองใช้ราคาทรัพย์จำนวน 34,922 บาท หนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นหนี้ให้ส่งมอบทรัพย์ ส่วนหนี้เงินจำนวน 34,922 บาท ตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวนั้นเป็นหนี้ซึ่งกำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน อีกทั้งคำพิพากษาในคดีอาญานั้นก็มิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดในกรณีที่ใช้ราคาทรัพย์ แม้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 แต่การเรียกดอกเบี้ยตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้ต้องเสียหายที่จะเรียกเอาดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้เมื่อฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้บังคับตามสิทธิดังกล่าว มิใช่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกดอกเบี้ยภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวน 34,922 บาท จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษา vs. การฟ้องล้มละลาย: ผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะนำมาใช้กับกรณีที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายแล้วขอรับชำระหนี้ไม่ได้ เพราะมิใช่เรื่องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาคดีแพ่งแต่เป็นเรื่องการนำเอาสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่มาใช้บังคับแก่ลูกหนี้ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่เกินกำหนดระยะเวลา 10 ปี ย่อมเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในระหว่างเวลาที่อายุความสะดุดหยุดลง เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งได้ ไม่ต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7412/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการฟ้องคดีล้มละลาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2529 ให้ลูกหนี้ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อลูกหนี้จึงเกิดขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำเอาหนี้ตามคำพิพากษานี้มาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม2538 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี เจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องได้ และมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ตามคำพิพากษานี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 17ตุลาคม 2540 จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ในขณะที่อายุความสะดุดหยุดลงย่อมไม่ต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 94(1) กรณีมิใช่เป็นการที่เจ้าหนี้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาที่จะต้องนำเอาระยะเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 มาปรับใช้แก่กรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย: ผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อลูกหนี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี เจ้าหนี้นำเอาหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายในขณะที่ยังไม่พ้นกำหนด10 ปี เจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องได้และมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่ง อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดไปแล้ว เมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในขณะที่อายุความยังสะดุดหยุดลง จึงไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ กรณีมิใช่เป็นการที่เจ้าหนี้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาคดีแพ่ง จึงนำเอาระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี มาปรับใช้แก่กรณีนี้หาได้ไม่