คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้ที่แน่นอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ทรัสต์รีซีท และการกำหนดจำนวนหนี้ที่แน่นอน
เดิมจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์แต่ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ จึงได้ทำสัญญา ทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปรับสินค้าก่อน แล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้า ไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นหนี้โจทก์ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท มิใช่เป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินอันเป็นหนี้ คนละส่วนแยกต่างหากจากกัน หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ย่อมมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายใน 10 ปี หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทยังไม่ขาดอายุความ ตามใบแจ้งยอดหนี้ทรัสต์รีซีทมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนหนี้และการคำนวณดอกเบี้ย ซึ่งสามารถทราบยอดหนี้ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจำนวนเท่าใดหนี้จำนวนนี้จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5739/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอน ทำให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้
ปัญหาว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ให้การไว้และมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นฎีกาได้ หนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสามให้การยอมรับว่าเป็นหนี้ดังกล่าวจริงจึงผูกพันจำเลยทั้งสามและหนี้นั้นสามารถคิดคำนวณเป็นจำนวนแน่นอนได้จึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนโดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความประกอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่ถึงที่สุด เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้ และการโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงชำระหนี้
หนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษา แม้จะยังไม่ถึงที่สุดก็ตามคู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษานั้นจนกว่าคำพิพากษาจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9(3)เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบคำบังคับและหมายบังคับคดีแล้วได้โอนทรัพย์สินของตนไปเสียทั้งหมด ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีทรัพย์สินรวมกันไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์กรณีจึงไม่มีเหตุที่ยังไม่สมควรให้จำเลยที่ 1ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 14.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน, คดีล้มละลาย, การหักกลบลบหนี้, สิทธิเจ้าหนี้, เงินฝากประกัน
การที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ระบุจำนวนเงินพร้อมอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอน สามารถคำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้องได้ หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนการที่โจทก์อาจได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ อ. ในภายหลังนั้น หาเป็นเหตุให้หนี้ตามฟ้องกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่
ความปรากฏเพียงว่าในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้มอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันเท่านั้น แต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้อย่างไร สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2)