คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้ผ่อนชำระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ผ่อนชำระ และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
การที่ บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 5 งวดละ 27,800 บาทงวดที่ 6 จำนวน 26,642.41 บาท งวดที่ 7 จำนวน 47,450 บาทแล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน 22,950 บาทรวมทั้งหมด 57 งวด ถือได้ว่า บ. ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวด ๆ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี โจทก์ฟ้องคดีวันที่16 พฤศจิกายน 2536 เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่9 มกราคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่ บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ. ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 193/33(2) โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ. ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่9 มกราคม 2523 แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและที่ บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วน จึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส. บิดาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้น ถือตามอายุความของลูกหนี้ เมื่อคดีเกี่ยวกับบ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว คดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2และ ส. บิดาจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ผ่อนชำระ: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องพ้น 5 ปีนับจากวันผิดนัด แม้มีการชำระหนี้บางส่วน
การที่บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่1ถึงงวดที่5งวดละ27,800บาทงวดที่6จำนวน26,642.41บาทงวดที่7จำนวน47,450บาทแล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน22,950บาทรวมทั้งหมด57งวดถือได้ว่าบ. ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5ปีโจทก์ฟ้องคดีวันที่16พฤศจิกายน2536เป็นเวลาเกินกว่า5ปีนับแต่วันที่9มกราคม2523ซึ่งเป็นวันที่บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้บ. ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา193/33(2) โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้บ. ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่9มกราคม2523แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่7กรกฎาคม2531ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและที่บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วนจึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง สำหรับจำเลยที่1ที่2และส. บิดาจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้นถือตามอายุความของลูกหนี้เมื่อคดีเกี่ยวกับบ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้วคดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2และส. บิดาจำเลยที่3ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ผ่อนชำระและการฟ้องล้มละลาย
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ และเดินบัญชีเดินสะพัดกับโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาจำเลยทั้งสองทำหนังสือรับสภาพหนี้ตกลงผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายเดือนซึ่งโจทก์ก็ยอมตกลงด้วย ย่อมถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ใหม่โดยการผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ที่แก้ไขใหม่) จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตั้งแต่งวดแรกที่ต้องเริ่มชำระตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2520โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แต่ละงวดได้ตั้งแต่เมื่อครบกำหนดที่จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้ในงวดนั้น ๆ สิทธิเรียกร้องในหนี้งวดใดที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2525 ซึ่งสิทธิเรียกร้องในหนี้งวดที่อยู่ภายในกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังแต่วันฟ้องที่ไม่ขาดอายุความ และเมื่อคำนวณแล้วเป็นหนี้ไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท อยู่ในหลักเกณฑ์ที่โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกหนี้ผ่อนชำระ: การฟ้องเรียกหนี้แต่ละงวดมีอายุความ 5 ปีนับจากวันถึงกำหนดชำระ
เมื่อเงินประกันของโจทก์ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนโจทก์นั้นโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยผ่อนชำระคืนโจทก์เป็นงวด ๆ งวดละเดือนการที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 มีกำหนดอายุความห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกหนี้ผ่อนชำระ: การฟ้องเรียกแต่ละงวดมีอายุความ 5 ปีนับจากวันครบกำหนดชำระ
เมื่อเงินประกันของโจทก์ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนโจทก์นั้นโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยผ่อนชำระคืนโจทก์เป็นงวด ๆ งวดละเดือนการที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 มีกำหนดอายุความห้าปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้ผ่อนชำระและการมีอำนาจฟ้องของภรรยาผู้รับมรดก
กฎหมายเก่ากับใหม่ขัดกันสิทธิเรียกร้องเอาเงินที่ผ่อนส่งเงินกู้เป็นงวด ๆ นั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ผิดนัดผ่อนใช้เงินเป็นงวด ๆ ตามสัญญาซึ่งทำไว้ก่อนใช้ประมวลแพ่ง ฯ นั้นสำหรับงวดในระวางเวลาที่ใช้ประมวลแพ่ง ฯ แล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้เพียง 5 ปีคือนับแต่วันที่ฟ้องย้อนขึ้นไป 5 ปี
ผัวเมีย,มฤดก วิธีพิจารณาแพ่ง อำนาจฟ้อง หน้าที่นำสืบ หลักวินิจฉัย ภรรยาซึ่งเป็นผู้รับมฤดกจากสามีผู้วายชนม์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลย ๆ รับว่าเป็นภรรยจริงแต่ต่อสู้ว่าเป็นผู้ไม่ควรได้รับมฤดกเป็นนาที่จำเลยต้องนำสืบว่าไม่ควรรับมฤดกเพราะเหตุไรมิฉะนั้นต้องฟังว่าโจทก์เป็นผู้ควรรับมฤดกแลมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการผ่อนชำระ: สิทธิเรียกร้องแต่ละงวด vs. ทั้งหมด
หนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นหนังสือรับรองว่าจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่โดยตกลงผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกำหนดวีธีชำระหนี้โดยผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33 (2) เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรก โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้แต่ละงวดได้ตั้งแต่เมื่อครบกำหนดที่จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้เป็นงวดนั้นๆ สิทธิเรียกร้องในหนี้งวดใดที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ได้มีข้อตกลงว่า หากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมดหรือหนี้ทั้งหมดนั้นถึงกำหนดชำระอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันที ข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือรับสภาพหนี้ว่า หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยินยอมให้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ทันที หมายถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดในงวดนั้นๆ แล้วเท่านั้น ส่วนงวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระโจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสอง