พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์อายุความหนี้ในคดีล้มละลาย: หน้าที่นำสืบพยานหลักฐานของเจ้าหนี้
ที่เจ้าหนี้ฎีกาว่า หนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังไม่ขาดอายุความ เพราะก่อนยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาไปฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อขอให้ลูกหนี้ล้มละลายภายในอายุความ และในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงการฟ้องคดีแล้ว แต่ปรากฏในสำนวนสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า พยานเจ้าหนี้ให้การและเสนอพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนแต่เพียงเรื่องมูลหนี้และจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอรับชำระเท่านั้น มิได้ให้การหรือแจ้งถึงเหตุที่หนี้ตามคำพิพากษายังไม่ขาดอายุความ ทั้งที่เจ้าหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระตามคำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1) ดังนั้น ข้ออ้างของเจ้าหนี้จึงนอกจากจะระงับฟังไม่ได้แล้ว ยังเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นโต้เถียงในชั้นฎีกา มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมาย ใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ฎีกาของเจ้าหนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรค้างในคดีล้มละลาย การนำทรัพย์สินลูกหนี้มาชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่ม
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ถือว่า เงินเพิ่มตามมาตรา 27 เป็นเงินภาษี และมาตรา 12 วรรคแรก กำหนดว่าภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อถึงกำหนด ชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง ดังนั้น การที่ลูกหนี้ค้างชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำ ปี 2528 รวมทั้งเงินเพิ่ม เนื่องจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตาม กำหนดและเงินเพิ่มใหม่ จึงถือเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตาม ความหมายของมาตรา 12 วรรคแรกทั้งสิ้น การที่เจ้าหนี้ นำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ไปหักออกจาก หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการกระทำเพื่อให้เจ้าหนี้ ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง นั่นเอง หาใช่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใดไม่ แม้เจ้าหนี้จะอ้างคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่อง การชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1(3) ที่ระบุว่า การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมี การเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มนั้น ก็เป็น เพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้ที่แจ้งให้ เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มี หน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับ ตามประมวลรัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้ง การประเมินภาษีเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคล ทั่วไป ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เกิดจากเจตนาพยุงฐานะลูกหนี้ล้มละลาย แม้สุจริต ก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้เจตนาจะพยุงฐานะของลูกหนี้แม้จะกระทำโดยสุจริตก็ตามเมื่อหนี้ที่ก่อขึ้นนี้เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามมาตรา94(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 แม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีผู้ใดโต้แย้งแต่ถ้าตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปรากฎว่าเป็นหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลก็มีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา94ประกอบด้วยมาตรา106แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8080/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้หลังล้มละลายเป็นโมฆะ ผู้รับเช็คไม่มีสิทธิเรียกร้อง ผู้ฟ้องไม่มีอำนาจฟ้อง
มูลแห่งหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว จึงไม่อยู่ในบทบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 24 ด้วยการออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมมูลแห่งหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ร่วมไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ได้รับ ความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 โจทก์ร่วมจึงไม่เป็นผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์คดีความผิดต่อส่วนตัวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ล้มละลายต้องมีจำนวนแน่นอน การบังคับให้ชำระหนี้ค่าทรัพย์สินและการส่งมอบทรัพย์สินคืน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 กำหนดให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ดังนั้น แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในประเด็นเกี่ยวกับหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อเครื่องยนต์เรือไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาเช่าซื้อเป็นผลให้สัญญาเลิกกัน โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งคืนเครื่องยนต์เรือที่เช่าซื้อ หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาดังนั้น มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย จึงเป็นมูลหนี้ส่งมอบทรัพย์สินคืน เมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ที่รู้ฐานะลูกหนี้ล้มละลาย สิทธิการรับชำระหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันต้องยกเลิกกันไปโดยปริยายนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอากับลูกหนี้ได้จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น
การที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เป็นจำนวนมากและไม่ได้ติดต่อกับธนาคารเจ้าหนี้ทางบัญชีมาประมาณ 2 ปีทั้งไม่เคยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนกระทั่งวันที่มาทำสัญญากู้ซึ่งลักษณะการติดต่อทางบัญชีเช่นนี้ผู้ประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าลูกหนี้ขณะนั้นมีสภาพเช่นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้เป็นเวลาถึง 2 ปีเมื่อลูกหนี้มาขอกู้เงินจากธนาคารเพิ่มอีกธนาคารเจ้าหนี้ยังให้กู้ไปเช่นนี้ถือได้ว่าธนาคารเจ้าหนี้รู้ถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ในขณะที่ยินยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามสัญญากู้ขึ้นอีกหนี้ดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94(2)
การที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เป็นจำนวนมากและไม่ได้ติดต่อกับธนาคารเจ้าหนี้ทางบัญชีมาประมาณ 2 ปีทั้งไม่เคยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนกระทั่งวันที่มาทำสัญญากู้ซึ่งลักษณะการติดต่อทางบัญชีเช่นนี้ผู้ประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าลูกหนี้ขณะนั้นมีสภาพเช่นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้เป็นเวลาถึง 2 ปีเมื่อลูกหนี้มาขอกู้เงินจากธนาคารเพิ่มอีกธนาคารเจ้าหนี้ยังให้กู้ไปเช่นนี้ถือได้ว่าธนาคารเจ้าหนี้รู้ถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ในขณะที่ยินยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามสัญญากู้ขึ้นอีกหนี้ดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738-740/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เกิดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์/เช็คไม่ใช่หลักฐานกู้ยืม: เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
การพิจารณาของศาลตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น อาจพิจารณาได้จากสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องออกนั่งพิจารณาฟังพยานหลักฐานอะไรอีกก็ได้
เจ้าหนี้ให้เงินตามจำนวนในเช็คแก่ลูกหนี้ไปแลกกับเช็คที่ลูกหนี้ออกให้ลงวันออกล่วงหน้าไว้ แต่วันที่ลงในเช็คเป็นวันภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เช็คนี้จึงเพิ่งเกิดมูลหนี้ขึ้นภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในฐานเป็นผู้ทรงเช็คหาได้ไม่และจะขอรับชำระหนี้จำนวนนี้ในฐานเป็นหนี้กู้ยืมในเมื่อไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมต่อกัน เพียงแต่ลูกหนี้ออกเช็คให้เจ้าหนี้ไว้เป็นหลักฐานเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะเช็คไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม (อ้างฎีกาที่ 1595/2503) จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา94 อีก
เจ้าหนี้ให้เงินตามจำนวนในเช็คแก่ลูกหนี้ไปแลกกับเช็คที่ลูกหนี้ออกให้ลงวันออกล่วงหน้าไว้ แต่วันที่ลงในเช็คเป็นวันภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เช็คนี้จึงเพิ่งเกิดมูลหนี้ขึ้นภายหลังวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในฐานเป็นผู้ทรงเช็คหาได้ไม่และจะขอรับชำระหนี้จำนวนนี้ในฐานเป็นหนี้กู้ยืมในเมื่อไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมต่อกัน เพียงแต่ลูกหนี้ออกเช็คให้เจ้าหนี้ไว้เป็นหลักฐานเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะเช็คไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม (อ้างฎีกาที่ 1595/2503) จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ต้องด้วยข้อจำกัดมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา94 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เกิดขึ้นก่อนล้มละลาย ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด มิฉะนั้นสิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งถึงที่สุดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลแทนจำเลยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2552 มูลหนี้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันดังกล่าว ก่อนศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 และเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ส่วนที่โจทก์มีมติเห็นชอบให้กำหนดจำนวนค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 เป็นเรื่องการรวบรวมค่าเสียหายให้ถูกต้องครบถ้วน มิใช่มูลหนี้ค่าเสียหายเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อโจทก์มีมติ เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงและขยายเวลาขอรับชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์สินคืน แม้ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากไม่ใช่หนี้ที่ขอรับชำระในคดีล้มละลาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนแต่จำเลยไม่ส่งมอบคืน ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อติดตามทรัพย์สินของโจทก์คืนได้ แม้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 24 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว มีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตนดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แต่มาตรา 26 ก็บัญญัติว่าตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จะฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยมิได้เรียกร้องค่าเสียหายอื่นจากจำเลย เป็นการขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งและเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนเป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 26