พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การบังคับคดี, ฉ้อฉล: ยึดที่ดินที่เป็นสินสมรสได้แม้จะซื้อขายไปแล้ว หากผู้ซื้อรู้ถึงหนี้สินและร่วมฉ้อฉล
ปรากฏตามสำเนาทะเบียนสมรสว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2524 และทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ 26526 ให้แก่ ส. เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 โดยไม่ปรากฏว่า ส. ได้ที่ดินมาด้วยเหตุใด กรณีจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าที่ดินแปลงนี้เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) และวรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยย่อมมีสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278 ประกอบมาตรา 282 ที่จะบังคับคดีเอาชำระหนี้จากที่ดินแปลงนี้ได้
ผู้ร้องและ ส. มีภูมิลำเนาอยู่หมู่ที่ 1 เช่นเดียวกัน จำเลยกับ ส. แต่งงานกันมาเกือบ 30 ปี และผู้ร้องทราบจาก ก. บ. และ ป. ก่อนผู้ร้องจะทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ส. ว่าบุคคลทั้งสามกับพวกกำลังดำเนินคดีแก่จำเลยกับ ส. เป็นคดีอาญาและดำเนินคดีทางแพ่งแก่จำเลยอีกด้วย จึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องซื้อที่ดินจาก ส. โดยคบคิดกันฉ้อฉลทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยการยึด
ผู้ร้องและ ส. มีภูมิลำเนาอยู่หมู่ที่ 1 เช่นเดียวกัน จำเลยกับ ส. แต่งงานกันมาเกือบ 30 ปี และผู้ร้องทราบจาก ก. บ. และ ป. ก่อนผู้ร้องจะทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ส. ว่าบุคคลทั้งสามกับพวกกำลังดำเนินคดีแก่จำเลยกับ ส. เป็นคดีอาญาและดำเนินคดีทางแพ่งแก่จำเลยอีกด้วย จึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องซื้อที่ดินจาก ส. โดยคบคิดกันฉ้อฉลทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยการยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สิน การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่าโจทก์ต้องใช้สิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินระหว่าง ธ. กับผู้คัดค้านตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสียก่อน โจทก์จึงจะยึดที่ดินแปลงดังกล่าวบังคับคดีต่อไปได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีไปทีเดียว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านด้วยเหตุที่ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามี แต่ได้โอนให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง โจทก์หาจำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อนไม่
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามี แต่ได้โอนให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง โจทก์หาจำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการล้มละลาย
คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้การโต้แย้งว่าหนังสือรับรองเอกสารท้ายคำฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2), 1080 และมาตรา 1087 เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด คดีถึงที่สุดแล้วตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง จำเลยที่ 2 ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามฟ้องกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้เถียงว่าตนเองมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอีกได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์มีจำนวน 5,813,980.32 บาท และจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งกรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย คดีย่อมมีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5667/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในคดีฟื้นฟูกิจการ: หลักเกณฑ์และฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และ 90/60 ประสงค์ให้หนี้ที่อาจขอรับชำระได้ทุกประเภทซึ่งเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการชำระสะสางภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จไป นอกจากนี้กรณีใดที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรในมูลหนี้ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้จึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดให้ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการรวมทั้งกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามแผนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7454/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานการล้มละลาย: การปิดธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และหน้าที่ในการนำสืบหักล้าง
การที่โจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ถึง 2 ครั้ง โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ครั้งแรกได้รับแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ย้ายที่อยู่ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ และครั้งหลังมีการระบุเหตุขัดข้องว่าไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า ทั้งในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวปรากฏในรายงานของพนักงานเดินหมายว่ามีลักษณะเป็นบ้านร้าง ไม่มีผู้อยู่อาศัยเป็นเวลานานแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปิดสถานประกอบธุรกิจเพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 8 (4) (ข) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้กับการระงับคดีอาญา: การผ่อนชำระหนี้ต้องครบถ้วนจึงจะระงับคดีได้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงรับกันว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมผ่อนชำระหนี้จนกว่าจะครบ แต่ประสบปัญหาการเงิน จึงผ่อนชำระหนี้เพียงบางส่วน ข้อตกลงตามฎีกามิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแต่เป็นกรณีต้องผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจนครบถ้วนจึงจะถือว่าคดีอาญาระงับจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริษัทเลิกแล้วยังถูกฟ้องได้: เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้สินก่อนการชำระบัญชี แม้บริษัทจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดและได้จดทะเบียนเลิกบริษัท แม้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว แต่ก็หาทำให้หนี้สินต่างๆ ของจำเลยที่ 1 สิ้นสุดไปด้วยไม่ เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และไม่มีบทกฎหมายใดที่จะต้องให้มีการดำเนินการจดชื่อจำเลยที่ 1 เข้าสู่ทะเบียนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้จากบริษัทที่เลิกบริษัทแล้ว แม้มีการชำระบัญชีแล้ว เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องได้
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดและได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 แม้ต่อมาได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายหลังก็ตาม ก็ไม่ทำให้หนี้สินของจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลง เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นหนี้ที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1272 แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้ได้ คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้วก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5300/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
ลูกหนี้ที่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา อันเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เป็นกรณีที่โจทก์อาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ถ้าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายแล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5190/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องทายาทได้ แม้ไม่ได้ร่วมโอน
โจทก์บรรยายฟ้องตอนแรกว่า ย. เป็นหนี้ภาษีอากรแก่โจทก์ ก่อนตาย ย. โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 1 โดยเสน่หาเพื่อให้พ้นการยึด โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่าง ย. กับจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องเพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นความรับผิดส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับการให้แล้ว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นบุตรและเป็นทายาทโดยธรรมของ ย. เป็นการบรรยายฟ้องแสดงถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทซึ่งกองมรดกของ ย. ตกทอดแก่บุคคลดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1600 เมื่อคดีร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ย. ได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเป็นความรับผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน จึงเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทซึ่งทายาทคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดอาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ ฟ้องโจทก์เท่านี้เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่แล้วว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรม มิใช่รับผิดในฐานะส่วนตัวอย่างจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นผู้รับการให้โดยเสน่หา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แม้ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วย