พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, การปรับขึ้นดอกเบี้ย, และความรับผิดของภริยาในหนี้สินสมรส
หนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาจำนองได้ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนด และระบุด้วยว่าจำเลยผู้กู้และผู้จำนองตกลงให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ และถือว่าจำเลยได้ยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้ว และตามสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินระบุว่าหากภายหลังวันทำสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จำเลยยินยอมให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ดังนั้นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ18 ต่อปี เป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีจึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่กำหนดให้โจทก์มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยจะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ที่ศาลจะลดลงได้ตามมาตรา 383 การที่โจทก์ปรับดอกเบี้ยตามข้อตกลงขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เป็นแต่เพียงวิธีการหนึ่งในการเรียกเอาชำระหนี้ทั้งหมดจากจำเลยเท่านั้น ไม่ทำให้สภาพของดอกเบี้ยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีอยู่แต่เดิมต้องแปรเปลี่ยนเป็นเบี้ยปรับไปไม่
จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินที่จำนองมาในระหว่างที่จำเลยที่ 1 สมรสกับจำเลยที่ 3 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1) และเมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ให้ความยินยอม หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินที่จำนองมาในระหว่างที่จำเลยที่ 1 สมรสกับจำเลยที่ 3 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1) และเมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ให้ความยินยอม หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินสมรส แม้เป็นการยกให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
แม้จะเป็นการยกให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ซึ่งผู้ให้ จะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 3 ได้รับการยกให้โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 3 มิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้อง เสียเปรียบ เพียงแต่จำเลยที่ 2 ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว ศาลก็เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินสมรส: สิทธิการกันส่วนของภริยาเมื่อถูกยึดทรัพย์ชำระหนี้
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปไถ่จำนองที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรส หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสอันเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (2) ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาจำเลยไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินสมรส: สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทรัพย์สินเมื่อสามีภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปไถ่จำนองที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสหนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสอันเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1490(2) ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาจำเลยไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินสมรส: สามีร่วมรับผิดเมื่อรู้เห็นยินยอมภริยาจำนองที่ดิน
ภริยาจำนองที่ดินสินสมรสโดยสามีรู้เห็นยินยอม เป็นหนี้ร่วมตาม มาตรา 1482(2) สามีขอกันส่วนของตนออกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินและการบังคับคดี: กรณีตัวแทนทำสัญญาซื้อขายและหนี้สินสมรส
จำเลยมาศาลโดยไม่ปรากฏว่านอกจากตัวจำเลยแล้วมีพยานจำเลยมาศาลอีก และไม่ปรากฏว่าเมื่อศาลสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี และถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบกับให้นัดสืบพยานโจทก์ต่อไปแล้วจำเลยได้แถลงขอสืบพยานที่มาศาล ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่าการที่ศาลไม่ถามจำเลยเสียก่อนว่า จำเลยจะสืบพยานของจำเลยต่อไปหรือไม่นั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นเพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องแถลงต่อศาลเอง
ศาลพิพากษาให้ อ. ใช้เงินคืนแก่สามีจำเลยตามฟ้องจำเลยมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับสามี สามีจำเลยเท่านั้นที่จะบังคับยึดทรัพย์ของ อ. ตามคำพิพากษาได้
เมื่อทรัพย์ที่พิพาทเป็นของโจทก์ แม้ปรากฏว่า อ. ในในฐานะตัวแทนโจทก์มีอำนาจทำสัญญาขายที่พิพาทให้สามีจำเลยได้ แต่โจทก์ก็มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับ อ.และอ. ก็มิได้ถูกฟ้องในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ ทั้งจำเลยและสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ อ.จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเหนือที่พิพาทซึ่งเป็นของโจทก์และเป็นบุคคลนอกคดีได้
ศาลพิพากษาให้ อ. ใช้เงินคืนแก่สามีจำเลยตามฟ้องจำเลยมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับสามี สามีจำเลยเท่านั้นที่จะบังคับยึดทรัพย์ของ อ. ตามคำพิพากษาได้
เมื่อทรัพย์ที่พิพาทเป็นของโจทก์ แม้ปรากฏว่า อ. ในในฐานะตัวแทนโจทก์มีอำนาจทำสัญญาขายที่พิพาทให้สามีจำเลยได้ แต่โจทก์ก็มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับ อ.และอ. ก็มิได้ถูกฟ้องในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ ทั้งจำเลยและสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ อ.จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเหนือที่พิพาทซึ่งเป็นของโจทก์และเป็นบุคคลนอกคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11691/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินสมรส: การฟ้องซ้ำในประเด็นที่เคยมีคำวินิจฉัยแล้ว
หนี้ระหว่างสมรสที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยร่วมรับผิดคดีนี้เป็นหนี้อันเกิดจากการที่โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมตึกแถว 3 ชั้น เมื่อปี 2532 เพื่อให้จำเลยและบุตรอยู่อาศัยซึ่งระหว่างนั้นโจทก์กับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า ต่อมาเดือนตุลาคม 2543 โจทก์ยืมเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ ตราด จำกัด และเดือนตุลาคม 2546 ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ ระยอง จำกัด เพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าว ดังนั้น ที่ดินพร้อมตึกแถวจึงเป็นสินสมรสและหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมดังกล่าวถือว่าเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสที่โจทก์และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันและต้องรับผิดร่วมกัน ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องแย้งให้จำเลยร่วมรับผิดในคดีก่อนได้อยู่แล้ว เพราะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องในเรื่องเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสในคดีก่อนที่โจทก์อาจดำเนินคดีได้ไปในคราวเดียวกัน การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ