คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้อื่น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนลูกจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นตามประกาศ มท. หากเกี่ยวข้องกับสัญญาจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30 ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำว่า "หนี้อื่น" นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะเสียเงินค่าเช่าเดือนละ 300 บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากค่าจ้างลูกจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 30ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างคำว่า "หนี้อื่น" นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฎิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยแม้โจทก์จะเสียค่าเช่าเดือนละ 300 บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฎิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่ หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่ จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากค่าจ้างลูกจ้าง: หนี้ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานไม่ใช่ 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30 ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำว่า 'หนี้อื่น' นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะเสียเงินค่าเช่าเดือนละ 300บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5154/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง: หนี้จากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างไม่ใช่ 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
คำว่าหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 หมายถึงหนี้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง เช่นหนี้เงินกู้จากนายจ้าง เป็นต้น กรณีหนี้ที่ลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้แก่นายจ้างเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้อื่นที่นายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างลาออกจากงานโดยไม่ส่งสมุดตัวอย่างสินค้าคืนแก่นายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่ากับราคาของสมุดตัวอย่างดังกล่าวเช่นนี้นายจ้างย่อมมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้กับลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเกินวงเงิน: สิทธิบังคับจำนองสงวนเฉพาะวงเงินที่ระบุ แม้มีหนี้อื่นเพิ่ม
จำเลยที่ 1 กู้เงินผู้ร้องไป 260,700 บาท โดยจำนองที่ดินพร้อมด้วยเรือนพิพาทเป็นประกันในวงเงินไม่เกิน 97,700 บาทผู้ร้องฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับจำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้ดังกล่าว และเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงิน 115,000 บาท แต่มิได้ยึดเรือนพิพาท จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ผู้ร้องอยู่อีก 130,000 บาท ดังนี้ ผู้ร้องจะบังคับจำนองเอากับที่ดินและเรือนพิพาทได้ไม่เกิน 97,700 บาท เท่านั้นไม่ว่าจะแยกบังคับหรือบังคับเอาพร้อมกันเมื่อผู้ร้องบังคับจำนองเฉพาะที่ดินได้เงินจำนวน 115,000 บาท เกินจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้ ก็ไม่มีสิทธิจะบังคับจำนองเอากับเรือนพิพาทอีก แม้การจำนองจะคลุมถึงหนี้อื่นเช่นดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมด้วย แต่ผู้ร้องก็ไม่ได้นำสืบว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนแน่นอนแยกได้จากหนี้สามัญเท่าใด ผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยอำนาจแห่งการจำนองนั้นขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดเรือนพิพาทก่อนเจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546-3547/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการโจรกรรม: 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหมายถึงหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน
คำว่า "หนี้อื่น" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 30 นั้น หมายถึงหนี้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หนี้ที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างจึงมิใช่หนี้อื่นซึ่งนายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546-3547/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'หนี้อื่น' ตามประกาศ มท. 15/1/2515: หักค่าจ้างชดใช้ความเสียหายจากหน้าที่การงานได้
คำว่า 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 30นั้น หมายถึงหนี้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หนี้ที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างจึงมิใช่หนี้อื่นซึ่งนายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าก่อสร้าง vs. การยึดเงิน: สิทธิในการเฉลี่ยทรัพย์ของผู้มีหนี้อื่น
เงินค่าก่อสร้างที่จำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิเบิกตามงวดจากกรมทางหลวงแผ่นดิน เป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะขอให้อายัดไว้ ฉะนั้น เจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องยื่นคำขอภายในบังคับตามมาตรา 290 วรรคสี่ มิใช่กรณียึดเงินซึ่งเจ้าหนี้จะอ้างว่ายังอยู่ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 290 วรรคห้า โดยนับแต่วันที่กรมทางหลวงส่งเงินมาให้กองบังคับคดีแพ่งดังที่อ้าง