พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้เบิกเกินบัญชี ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้สัญญาไม่ได้กำหนดดอกเบี้ย
ผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่สัญญาถึงกำหนดวันที่ 1เมษายน 2532 ไม่ได้เสนอขอชำระหนี้ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดในช่วงเวลาที่สัญญาถึงกำหนด เพิ่งเสนอขอชำระเมื่อถูกโจทก์ฟ้อง ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้ว่าสัญญาค้ำประกันจะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมาย เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่า 100,000 บาทตามวงเงินในสัญญาค้ำประกัน ในวันที่ 5 เมษายน 2533 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดดอกเบี้ยแบบทบต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ของต้นเงินดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6เมษายน 2533 เป็นต้นไปจนกว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะเลิกกัน แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตั้งแต่วันที่ดังกล่าว โจทก์ไม่อุทธรณ์และต่อมาฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นอย่างอื่นเกินไปกว่าที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยที่ 2 รับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหนี้เบิกเกินบัญชี, การค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, หักหนี้
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ และมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้พนักงานของธนาคารโจทก์กระทำการใด ๆตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับธนาคารโจทก์ ส. ได้มอบอำนาจให้ ป. รองผู้จัดการมีอำนาจกระทำการบอกกล่าว ทวงถามเรียกเก็บหนี้สิน ฟ้องคดีแพ่ง และต่อสู้คดีทั้งปวงแทนได้และมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อกระทำการดังกล่าวได้ และป. ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.และหรือค. ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม เมื่อการมอบอำนาจของโจทก์เป็นไปโดยต่อเนื่องไม่ขาดสาย การฟ้องและดำเนินคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์กับเดินสะพัดทางบัญชีกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียน จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ นอกจากนี้ยังระบุ ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและวันที่คิดดอกเบี้ย ในแต่ละอัตราต่าง ๆ และระบุยอดหนี้คิดถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 128,931,527.86 บาท คิดดอกเบี้ย ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 12,169,017.73 บาท รวมเป็นหนี้ 141,100,555.59 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกัน ชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่า จะชำระเสร็จอันเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงสภาพแห่งข้อหา ของโจทก์ คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนรายละเอียดหรือเอกสารเกี่ยวกับการ คิดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความชอบ ที่จะนำสืบพิสูจน์พยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาได้ แม้คำฟ้องโจทก์ไม่ระบุรายละเอียดหรือเอกสารดังกล่าวมา ก็หาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นสัญญาที่ใช้ประกอบกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2527 กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนแก่โจทก์ภายใน 1 ปี สัญญาจึงย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528เว้นแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะได้ตกลงต่อสัญญากันต่อไปแต่ไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาแต่อย่างใด อีกทั้งหลังวันที่2 เมษายน 2528 ซึ่งสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ก็ไม่ยินยอม ให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีหรือเดินสะพัดทางบัญชีกัน อีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่สิ้นสุดเมื่อโจทก์ บอกเลิกสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมมีสิทธิ คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระ ณ วันสิ้นสุดสัญญา โดยไม่ทบต้น หามีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันบอกเลิกสัญญาไม่ โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกันตั้งแต่ปี 2522 เป็นหนี้ผูกพันกันตลอดมาจนถึงปี 2527 แล้วตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก และเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาจนสิ้นสุดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 ซึ่งสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี และตามการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าชำระหนี้ตั้งแต่ปี 2527 จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2533 ชำระครั้งสุดท้ายจำนวน 5,000,000 บาท อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)เมื่อนับอายุความใหม่จนถึงวันฟ้องวันที่ 30 กรกฎาคม 2535ยังไม่เกิน 10 ปี สำหรับสิทธิเรียกร้องในต้นเงินค้างชำระและไม่เกิน 5 ปี สำหรับดอกเบี้ยค้างชำระ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวทั้ง 2 กรณีจึงไม่ขาดอายุความ แม้โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.บอกกล่าวบังคับจำนองหรือไม่ก็ตาม แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้ทำ เป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างใดเมื่อ อ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ไม่ชำระหนี้และต่อมาโจทก์ได้ฟ้องบังคับจำนอง ถือได้ว่าโจทก์ ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 แล้วการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์เป็นไปโดยชอบมิได้ตกเป็นโมฆะ ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันทุกฉบับ และข้อความในสัญญาก็ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นการแสดงฐานะของจำเลยที่ 3ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าค้ำประกันในฐานะส่วนตัว หาใช่จำเลยที่ 3 อ้างว่าลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้เป็น กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ส่วนเรื่องการบอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิ เรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหรือไม่ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิด ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในต้นเงินจำนวน 63,200,000 บาทซึ่งเป็นการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และยอดหนี้ของจำเลยที่ 1 อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการนำเงินเข้าและถอนออกในบัญชี ช่วงเวลาใดที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ครบวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกัน พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงิน ค้ำประกันเป็นต้นไป แต่หากต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น ลูกหนี้ชั้นต้นนำเงินชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิด ในหนี้ส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะมีการเบิกถอนเงินจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ย นั้นอีก ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกัน พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินค้ำประกันครั้งสุดท้ายเมื่อปรากฏว่าครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินตามสัญญาค้ำประกันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์ นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปแต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528 จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันที่1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2528อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น หลังจากนั้นเสียดอกเบี้ยไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ต้องคิดดอกเบี้ย ในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราเดียวกับจำเลยที่ 1และต้องนำเงินฝากในช่วงเวลาดังกล่าวตามรายการในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาหักทอนบัญชีคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเพื่อประกันการค้ำประกัน vs. หนี้เบิกเกินบัญชี: สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ใด
จำเลยที่ 3 มอบอำนาจให้ ช. จำนองที่ดินกับโจทก์ โดยระบุในหนังสือมอบอำนาจและสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน117,000 บาท จึงเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้ดังกล่าว หาใช่หนี้อื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ด้วยไม่ ที่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินข้อ 5 ระบุว่า ส่วนข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาต่อท้ายนั้น ย่อมหมายถึงข้อตกลงที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย นอกจากที่กล่าวไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต้องถือเอาข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักในการพิจารณา โดยข้อความในสัญญาต่อท้ายเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นดังนั้นแม้หนังสือสัญญาต่อท้าย จะมีข้อความระบุว่า เพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้สินอื่นใดซึ่งผู้จำนองหรือจำเลยที่ 1เป็นหนี้ธนาคารอยู่ในเวลานี้หรือต่อไปในภายหน้าในวงเงินไม่เกิน117,000 บาท จึงจะตีความว่ารวมถึงหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 มีอยู่กับโจทก์ด้วยหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 3 นำสืบพยานบุคคลว่า การจำนองที่ดินตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง เป็นการจำนองเพื่อประกันการที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร โดยไม่รวมถึงหนี้ตามฟ้องโจทก์ เป็นการนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ไม่มีหนี้ตามฟ้องต่อกัน สัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามฟ้องไม่เกิดขึ้นหรือไม่สมบูรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องชัดเจน จำเลยต้องรับผิดหนี้เบิกเกินบัญชี การจำนองเป็นประกันหนี้ ไม่ถือเป็นการชำระหนี้
คำฟ้องบรรยายว่าการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 มีการขอเพิ่มวงเงินหลายครั้งรวมเป็นเงิน 700,000 บาท โดยมีที่ดินจำนองเป็นประกัน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์อยู่เฉพาะต้นเงิน 334,207.57 บาท ฟ้องโจทก์จึงชัดแจ้งสามารถทำให้จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนจะมีการหักทอนบัญชีกันอย่างไร ค้างชำระหนี้ค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความตามฟ้องและตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองให้กับโจทก์แล้วก็ตาม ก็จะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์และมิได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหาได้ไม่ เพราะการจำนองดังกล่าวก็เพื่อเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ต่อโจทก์เท่านั้น เป็นคนละเรื่องกับการชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นอุทธรณ์หรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาจำเลย, การฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจ, และความรับผิดในหนี้เบิกเกินบัญชี
ปัญหาว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือไม่นั้นแม้จำเลยจะมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาวินิจฉัยให้
บ้านที่จังหวัดสระบุรีซึ่งเป็นที่อยู่ของจำเลยตามฟ้องนั้นบุตรและภริยาจำเลยอาศัยอยู่ และยังคงใช้ชื่อยี่ห้อบ้านหลังดังกล่าวเป็นยี่ห้อร้านของจำเลย จำเลยไปมาระหว่างกรุงเทพมหานครกับบ้านหลังนี้ แสดงว่าบ้านที่อยู่ของจำเลยตามฟ้องเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ และการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องยังบ้านที่อยู่ของจำเลยตามฟ้องก็ถือได้ว่าได้ส่งยังภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว.
บ้านที่จังหวัดสระบุรีซึ่งเป็นที่อยู่ของจำเลยตามฟ้องนั้นบุตรและภริยาจำเลยอาศัยอยู่ และยังคงใช้ชื่อยี่ห้อบ้านหลังดังกล่าวเป็นยี่ห้อร้านของจำเลย จำเลยไปมาระหว่างกรุงเทพมหานครกับบ้านหลังนี้ แสดงว่าบ้านที่อยู่ของจำเลยตามฟ้องเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ และการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องยังบ้านที่อยู่ของจำเลยตามฟ้องก็ถือได้ว่าได้ส่งยังภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้นผิดสัญญา, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่ลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีและถอนไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีกันอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีแต่อย่างใดไม่
จะนำข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือนไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง
จะนำข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือนไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้วไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง