พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคล, การฟ้องบังคับหนี้ก่อนกำหนด, และดอกเบี้ยตามสัญญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2535 คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งตามบทมาตราดังกล่าวโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น ทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้นคดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาได้โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาด้วยไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ในกำหนด 1 ปี นับแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระ อายุความ 1 ปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม ดังกล่าวข้างต้นอาจจะล่วงพ้นไปแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แม้หนังสือกู้ยืมเงินจะระบุข้อความไว้ว่าไม่มีดอกเบี้ยแต่ข้อความตอนต้นก็ระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญา นอกจากนี้ผู้กู้ยังได้บันทึกรับรองไว้ในตอนท้ายของสัญญากู้ยืมเงินว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปียินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา ดังนี้แสดงให้เห็นว่าผู้กู้ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี) นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน กรณีมิใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคล: ข้อตกลงเลือกศาลต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทย
ความรับผิดของจำเลยอันเนื่องมาจากสัญญารับขนสินค้าทางทะเลเป็นหนี้เหนือบุคคล เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งได้ ข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่อาจใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลือกศาลต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทยเมื่อฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคลในไทย
ข้อตกลงใน ใบตราส่งระหว่าง ผู้ส่งและ ผู้ขนส่งที่ให้ ฟ้องคดีที่ศาลใน กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษนั้นเมื่อคดีเป็นหนี้เหนือบุคคล ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม(มาตรา4(1)ที่แก้ไขใหม่)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเรื่องเขตอำนาจศาลและการฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคล
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญายอมให้โจทก์ฟ้อง ณ ศาลแพ่ง อันเป็นศาลที่โจทก์จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจึงเป็นอันผูกพันโจทก์จะต้องเสนอคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่ง โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรานอกเหนือไปจากข้อตกลงไม่ได้
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งทำให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นหนี้เหนือบุคคลต้องฟ้องยังศาลที่จำเลยคนใดคนหนึ่งมีภูมิลำเนา เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยทั้งสองยังศาลแพ่ง จะเสนอคำฟ้องต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราไม่ได้เช่นกัน
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งทำให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นหนี้เหนือบุคคลต้องฟ้องยังศาลที่จำเลยคนใดคนหนึ่งมีภูมิลำเนา เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยทั้งสองยังศาลแพ่ง จะเสนอคำฟ้องต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราไม่ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเอกสารที่ดินไม่ใช่การครอบครองสิทธิ ทำให้คำฟ้องเป็นการฟ้องหนี้เหนือบุคคล ต้องฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจตามภูมิลำเนาจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินในเขตลาดกระบัง มีนบุรี ให้โจทก์โดยจำเลยที่ 1 รับค่าที่ดินบางส่วนไปแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำที่ดินมาโอนขายให้โจทก์ได้จึงได้มีการเลิกสัญญาซื้อขายต่อกันโดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะคืนเงินค่าที่ดินที่รับไว้ พร้อมทั้งชดใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 1 นำ น.ส.3 ก. และ น.ส.3 จำนวน 42 แปลง มอบให้โจทก์ไว้ เพื่อนำไปขายนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ได้ร่วมกันนำ น.ส.3 ก. และ น.ส.3 ที่จำเลยที่ 1 มอบให้โจทก์ไว้ดังกล่าวไปจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1ได้มอบเอกสาร น.ส.3 ก. และ น.ส.3 ให้โจทก์ยึดถือไว้ ไม่ได้มอบการครอบครองหรือมอบสิทธิในที่ดินให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงมิใช่คำฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ทวิ หากแต่เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาตามมาตรา 4(1) การที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่มอบเอกสาร น.ส.3 ก. และ น.ส.3ให้แก่โจทก์ไว้ไม่ทำให้โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิหรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินตาม น.ส.3 ก. และ น.ส.3 ทั้งตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินโดยไม่สุจริตหรือร่วมกระทำการโดยสุจริต กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 5ที่ 6 และที่ 7 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2057/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ฟ้องจำเลยต่างประเทศ, หนี้เหนือบุคคล, ตัวแทนทางเรือ
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 4 ว่า 'บริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด)จำกัดโดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด จำเลยที่ 4' ทั้งบรรยายฟ้องด้วยว่าบริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด) จำกัดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ณ ประเทศฮ่องกงโดยบริษัทโทรีเซน (กรุงเทพ)จำกัด เป็นสาขาในประเทศไทย เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องบริษัทโทรีเซนแอนด์โก(ลิมิเต็ด) จำกัด เป็นจำเลยที่ 4หาใช่ฟ้องบริษัทโทรีเซน(กรุงเทพ) จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันเป็นจำเลยที่ 4 ไม่
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล ระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย กับลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมิได้เข้ามาหรือมีสาขาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยดังกล่าวต่อศาลไทย
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเรือต่างชาติเกี่ยวกับพิธีการนำเรือเข้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ และจัดการจ่ายของที่บรรทุกมาในเรือให้แก่ผู้รับในประเทศไทย ตลอดทั้งหาผู้ส่งสินค้าลงเรือดังนี้บริษัทจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นตัวแทนในกิจการดังกล่าวเท่านั้น จึงหาต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดในการที่เรือต่างชาติชนเรือของโจทก์ไม่
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล ระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย กับลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมิได้เข้ามาหรือมีสาขาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยดังกล่าวต่อศาลไทย
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเรือต่างชาติเกี่ยวกับพิธีการนำเรือเข้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ และจัดการจ่ายของที่บรรทุกมาในเรือให้แก่ผู้รับในประเทศไทย ตลอดทั้งหาผู้ส่งสินค้าลงเรือดังนี้บริษัทจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นตัวแทนในกิจการดังกล่าวเท่านั้น จึงหาต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดในการที่เรือต่างชาติชนเรือของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยต่างประเทศในคดีหนี้เหนือบุคคล ต้องมีภูมิลำเนาในไทยหรือเข้ามาในไทยชั่วคราว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องหนี้เหนือบุคคลระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3) โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 เข้ามาในประเทศไทยชั่วคราว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เข้ามาในประเทศไทยเลย แม้จะตั้งบุคคลอื่นเป็นตัวแทนในประเทศไทยในการฟ้องหรือต่อสู้คดี โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยเหนือจำเลยต่างชาติในคดีหนี้เหนือบุคคล
ในกรณีเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคล ถ้าจำเลยเป็นชาวต่างประเทศและอยู่ในต่างประเทศ ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย แม้มูลกรณีจะเกิดในเขตศาลไทยหรือจำเลยมีทรัพย์อยู่ในเขตศาลนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลไทย จนกว่าจำเลยจะได้เข้ามาในประเทศไทย และศาลจะดำเนินคดีต่อไปได้ก็ต่อเมื่อไดส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยแล้ว
การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเมืองต่างประเทศตามมาตรา 34 นั้น ใช้ในกรณีที่ศาลรับฟ้องของโจทก์ไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในต่างประเทศซึ่งศาลอาจขอร้องให้รัฐบาลต่างประเทศจัดการให้ตามความสัมพันธ์ทางการต่างประเทศได้
การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเมืองต่างประเทศตามมาตรา 34 นั้น ใช้ในกรณีที่ศาลรับฟ้องของโจทก์ไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในต่างประเทศซึ่งศาลอาจขอร้องให้รัฐบาลต่างประเทศจัดการให้ตามความสัมพันธ์ทางการต่างประเทศได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดในคดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยต่างชาติ – ต้องส่งหมายเรียกก่อน
ในกรณีเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคล ถ้าจำเลยเป็นชาวต่างประเทศและอยู่ในต่างประเทศ ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยแม้มูลกรณีจะเกิดในเขตศาลไทยหรือจำเลยมีทรัพย์อยู่ในเขตศาลนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลไทย จนกว่าจำเลยจะได้เข้ามาในประเทศไทย และศาลจะดำเนินคดีต่อไปได้ก็ต่อเมื่อได้ส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยแล้ว
การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเมืองต่างประเทศตามมาตรา 34 นั้น ใช้ในกรณีที่ศาลรับฟ้องของโจทก์ไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในต่างประเทศซึ่งศาลอาจขอร้องให้รัฐบาลต่างประเทศจัดการให้ตามความสัมพันธ์ทางการต่างประเทศได้
การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเมืองต่างประเทศตามมาตรา 34 นั้น ใช้ในกรณีที่ศาลรับฟ้องของโจทก์ไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในต่างประเทศซึ่งศาลอาจขอร้องให้รัฐบาลต่างประเทศจัดการให้ตามความสัมพันธ์ทางการต่างประเทศได้