พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737-2751/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ใหม่ และการเรียงกระทงโทษในความผิด พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนตามเช็คเอกสารหมาย จ. 1 ถึง จ. 12 รวมทั้งสิ้นจำนวน 15,467,184 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ตกลงลดหนี้แก่จำเลยจำนวน 467,184 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 15,000,000 บาท ให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเดือนละ 1,000,000 บาท โดยทำหลักฐานเป็นสัญญากู้ยืมเงินตามสำเนาสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ. 13 ถึง จ. 26 และ จ. 56 ไว้ ถือเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เช็คพิพาทตามสำเนาเช็คทั้งสิบห้าฉบับลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันถึงกำหนดชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ. 13 ถึง จ. 26 และ จ. 56 ฟังได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยในขณะที่ออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้โดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ในเช็คจำนวน 15 ฉบับ โดยแยกฟ้องเป็น 15 สำนวน และมีคำขอให้นับโทษของจำเลยแต่ละสำนวนต่อกัน ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีทั้งสิบห้าสำนวนเข้าด้วยกัน การกระทำของจำเลยในแต่ละสำนวนเป็นความผิดต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า การออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ แม้ศาลล่างทั้งสองจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั่นเอง เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ในเช็คจำนวน 15 ฉบับ โดยแยกฟ้องเป็น 15 สำนวน และมีคำขอให้นับโทษของจำเลยแต่ละสำนวนต่อกัน ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีทั้งสิบห้าสำนวนเข้าด้วยกัน การกระทำของจำเลยในแต่ละสำนวนเป็นความผิดต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า การออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ แม้ศาลล่างทั้งสองจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั่นเอง เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญากู้ยืม และความรับผิดของทายาทผู้รับมรดก
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเครื่องอุปโภคและบริโภค รวมทั้งให้ยืมเงินแก่ ผ. จำเลยและลูกค้าของโจทก์รายอื่น ๆ อีกหลายรายที่ประกอบอาชีพทำนาที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องอุปโภคบริโภคโดยโจทก์ให้เครดิตสินเชื่อสินค้าและเงินยืมของแก่ลูกค้า มีบัญชีบันทึกหนี้สินกันไว้เป็นหลักฐานโดยโจทก์หวังผลประโยชน์ตอบแทนปรากฏว่า ผ. ยังค้างชำระหนี้อยู่จึงยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยกับยอดหนี้ดังกล่าวเป็นต้นเงินในปีต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ตอบแทนในทางการค้าไม่ใช่การคิดดอกเบี้ย
ผ. ยอมทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้แก่โจทก์เป็นการแปลงหนี้เดิมที่ค้างชำระกันอยู่มาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน หนี้เดิมย่อมระงับสิ้นไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้เงินกู้ยืม ผ. ไม่ยอมชำระหนี้จึงตกเป็นผิดนัดต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญากู้ยืมเงินนั้นตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะภริยาของ ผ. และจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ผ. จึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามมาตรา 1599 ประกอบด้วยมาตรา 1629,1635(1) และมาตรา 1737
ผ. ยอมทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้แก่โจทก์เป็นการแปลงหนี้เดิมที่ค้างชำระกันอยู่มาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน หนี้เดิมย่อมระงับสิ้นไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้เงินกู้ยืม ผ. ไม่ยอมชำระหนี้จึงตกเป็นผิดนัดต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญากู้ยืมเงินนั้นตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะภริยาของ ผ. และจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ผ. จึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามมาตรา 1599 ประกอบด้วยมาตรา 1629,1635(1) และมาตรา 1737
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้และผลของการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันหลังเกิดหนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ก่อนบอกเลิก
สัญญาค้ำประกันตามสัญญากู้เงินฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้คือธนาคารโจทก์ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตามมาตรา 699 ได้เมื่อจำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์หลังจากวันที่จำเลยที่ 6 และที่ 8 บอกเลิกการค้ำประกันไปแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และการพิสูจน์ภาระหน้าที่ของจำเลยในคดีสัญญากู้ยืมเงิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระหนี้เงินตามสัญญากู้ยืมเงินและคืน น.ส.3 ก. ที่ให้เป็นประกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจริง แต่อ้างว่าได้เปลี่ยนสัญญากู้ยืมเงินกันใหม่อีก 2 ครั้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า คู่กรณีได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้คือจำนวนเงินที่กู้ยืม หากเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องย่อมระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 โจทก์ย่อมขอชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวอีกมิได้ เหตุนี้ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่จริงหรือไม่
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่นาโจทก์รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลยที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่นาโจทก์รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลยที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหนี้และการออกเช็คชำระหนี้ใหม่ ย่อมทำให้จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
แม้เดิมจำเลยจะออกเช็คพิพาทเพื่อประกันหนี้ตามบันทึกข้อตกลงอันมีผลให้จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม แต่เมื่อ โจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเสีย แล้วทำ บันทึกข้อตกลงกันใหม่ โดยตกลงให้นำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ก็ต้องถือว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงใหม่ อันเป็นหนี้ ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว กรณีหาใช่โจทก์ร่วมกับ จำเลยตกลงกันใหม่เพื่อไม่ให้คดีอาญาระงับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน, การนำหนี้เดิมมารวมกับหนี้ใหม่, การไถ่ถอนจำนอง, และการชำระหนี้ซ้ำซ้อน
การที่จำเลยทำสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ไว้ให้โจทก์ด้วยความสมัครใจ และจำเลยได้รับเงินกู้จำนวน 145,000 บาทไปจากโจทก์แล้วส่วนต้นเงินจำนองจำนวน 350,000 บาทกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระจำนวน 52,500 บาท จำเลยยินยอมให้นำมาเป็นต้นเงินในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเป็นต้นเงินใหม่จำนวน 547,500 บาท ก็ย่อมบังคับกันได้ตามข้อตกลงนั้น เมื่อโจทก์บังคับเอาเงินจำนวนนี้ซึ่งมีต้นเงินจำนองและดอกเบี้ยค้างชำระรวมอยู่จากจำเลยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ปลอดจำนองแก่จำเลยด้วย มิฉะนั้นแล้วโจทก์อาจบังคับจำนองเอาแก่จำเลยอันมีผลเท่ากับเรียกให้ชำระหนี้ซ้ำสอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ใหม่ vs. การแปลงหนี้: อายุความฟ้องคดี
กรณีที่จะต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35ต้องเป็นกรณีลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาหนี้ขาดอายุความภายหลังจากนั้นลูกหนี้จึงได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์มาก่อน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ขอชำระหนี้แทนบริษัท บ. ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 193/35 แต่กรณีเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัท บ.จำกัด มาเป็นจำเลย
การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/30
การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ต้องมีการตกลงทำสัญญาใหม่ หากไม่มี ถือว่าหนี้เดิมยังคงอยู่
การแปลงหนี้เป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีเพื่อระงับหนี้เดิมแล้วก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นผูกพันกันแทน หนี้เดิมเป็นอันระงับไป เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีลักษณะเป็นการแปลงหนี้เพราะไม่มีการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 อีกทั้งไม่มีข้อความตอนใดบ่งไว้เลยว่ามีการแปลงหนี้ และมิได้เป็นการแปลงหนี้ด้วยวิธีเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 เพราะไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ใหม่ได้เข้ามาให้ความยินยอมทำสัญญาแปลงหนี้ด้วย กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่สร้างหนี้ใหม่ได้ แม้เป็นดอกเบี้ยหนี้เดิม
แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทจะออกเพื่อชำระดอกเบี้ยของหนี้เดิมที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนก็ตาม เมื่อจำเลยได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้นั้น จำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงกลายเป็นหนี้ใหม่ และเป็นต้นเงินไปเสียแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินจำนวนนี้ หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินชำระหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินต้น
แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทจะออกเพื่อชำระดอกเบี้ยของหนี้เดิมที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนก็ตาม เมื่อจำเลยได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้นั้น จำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงกลายเป็นหนี้ใหม่และเป็นต้นเงินไปเสียแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินจำนวนหนี้ หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยไม่