พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การออกเช็คชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ว. เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 570,000 บาท แล้ว ว. สลักหลังโอนเช็คนั้นให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่การที่ ว.ให้จำเลยกู้ยืมเงินไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมทั้งเช็คก็มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จึงฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653การที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้ยืมให้ ว. เป็นการชำระหนี้ที่ไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลัง จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้มีสิทธิเก็บหนี้จากบุคคลที่สามได้
จำเลยให้นางถนอมยืมเงินไป 2,500 บาท นางถนอมมอบหลักฐานให้จำเลยเก็บเงินค่าหิน ค่าทรายเอากับนายบุญทองเพื่อชดใช้เงินที่นางถนอมเป็นหนี้จำเลย ๆ ไปเก็บเงินนั้น ไม่ต้องคืนให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทนางถนอม แม้ว่านางถนอมยืมเงินจำเลยไปไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5326/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทขาดองค์ประกอบความผิดเนื่องจากหนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสามร่วมกันออกให้แก่โจทก์แลกเปลี่ยนกับเช็คที่จำเลยทั้งสามร่วมกันออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม 3,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กู้ยืมไปจากโจทก์ และโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กู้ยืมเงินโดยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมไว้ ดังนั้น การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่จะฟ้องร้องบังคับคดีได้ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น...ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิด..." และ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้ในขณะจำเลยทั้งสามร่วมกันออกเช็ค บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" หนี้เงินกู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีจำนวนเกินกว่าห้าสิบบาท เมื่อไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไว้เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหนี้โจทก์อยู่จริง แต่หนี้นั้นก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4