พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ หน่วยงานรับผิดชอบละเมิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว เห็นว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงยกฟ้องโจทก์นั้น แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ใช้รูปแบบคำพิพากษา ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่ประการใด
ส่วนการที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย คือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 และสั่งพักราชการโจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20, 21, 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยทั้งสามกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ไม่ว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยและคำสั่งพักราชการโจทก์จะกระทำไปโดยถูกต้อง หรือปราศจากอำนาจหรือเป็นการจงใจทำละเมิดต่อจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้หน่วยงานของรัฐรับผิด แต่จะฟ้องจำเลยทั้งสามไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายเบื้องต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้วพิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้
ส่วนการที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย คือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 และสั่งพักราชการโจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20, 21, 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยทั้งสามกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ไม่ว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยและคำสั่งพักราชการโจทก์จะกระทำไปโดยถูกต้อง หรือปราศจากอำนาจหรือเป็นการจงใจทำละเมิดต่อจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้หน่วยงานของรัฐรับผิด แต่จะฟ้องจำเลยทั้งสามไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายเบื้องต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้วพิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่การเวนคืนที่ดินของรัฐและการฟ้องร้องค่าทดแทน
จำเลยที่ 1 เป็นกระทรวง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และนโยบายของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีหรือสร้างทางหลวง ตลอดจนการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทางหลวง การดำเนินการสำรวจเพื่อเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524ก็เพื่อให้ได้ที่ดินมาสร้างทางหลวง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสองตามนโยบายของรัฐ เมื่อเวนคืนแล้ว พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก...เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532มาตรา 4 ให้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตกเป็นของจำเลยที่ 2 เงินค่าทดแทนที่จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินงบประมาณของจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับจากรัฐ เหตุที่กฎหมายกำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพราะจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลไม่อาจแสดงเจตนาและกระทำการเองได้ จำเป็นต้องแสดงเจตนาและกระทำโดยอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการของจำเลยทั้งสองนั่นเอง ส่วนที่ต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนค่าทดแทนของอสังหาริมทรัพย์ และคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ค่าทดแทนนั้น เป็นเพียงกลไกของกฎหมายเพื่อกลั่นกรองงานเสนอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนและรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.หรือ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์พิจารณาสั่งการให้ดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย นอกจากนี้การดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนถือว่าเป็นการกระทำในทางปกครองอย่างหนึ่ง และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็มีบทบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.หรือ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่กรณี และฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ หาใช่คดีมีข้อพิพาทในทางแพ่งสามัญทั่ว ๆไปที่ต้องคำนึงถึงการโต้แย้งสิทธิไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้นและไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีโดยเห็นว่ายังไม่เป็นธรรม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้แม้ พ.ร.บ.ดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้ฟ้องผู้ใดก็ย่อมหมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเวนคืนซึ่งก็คือจำเลยทั้งสองนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2007/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องฟ้องหน่วยงานที่ออกคำวินิจฉัยด้วยก่อน หากต้องการเพิกถอนคำวินิจฉัยนั้น
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอน ส. ทนายความโจทก์ร่วมและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น เมื่อฎีกาโจทก์และโจทก์ร่วมลงชื่อ ส. เป็นผู้ฎีกา ซึ่งเป็นเพียงทนายความโจทก์เพียงผู้เดียว จึงต้องถือว่าโจทก์ร่วมไม่ได้ฎีกาด้วย ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ว่าโจทก์หมดสิทธิซื้อนาพิพาทจากผู้รับโอนโจทก์ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล โดยฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด กับให้โจทก์มีสิทธิซื้อนาพิพาทจากผู้รับโอนได้ แต่การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดดังกล่าวต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเป็นจำเลยด้วยทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์การที่โจทก์ไม่ฟ้อง คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก็ยังไม่ถูกเพิกถอนและมีผลบังคับอยู่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องผู้รับโอนนาพิพาท ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดและให้โจทก์มีสิทธิซื้อนาพิพาทจากผู้รับโอนโดยลำพังได้แต่การยกฟ้องโจทก์เกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานต่อการกระทำของข้าราชการ: หลักการแทน และความรับผิดแม้ไม่มีประมาทเลินเล่อ
รถยนต์ของกลางหายไปในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพันตำรวจตรี ส. ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ของพันตำรวจตรี ส. จึงกระทำไปในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะมิได้ประมาทเลินเล่ออันเป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าวสูญหาย จำเลยที่ 1 ก็จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อที่ราชพัสดุ: กระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้อง ไม่ใช่หน่วยงานที่ครอบครอง
ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนที่เป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 นั้นตามมาตรา 5 ประกอบด้วยมาตรา 11 ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง โรงเรียนดังกล่าวขุดดินในที่ราชพัสดุขึ้นมาใช้ในการก่อสร้างโรงเรียนโดยไม่ชอบเป็นการกระทำละเมิดต่อที่ราชพัสดุกระทรวงการคลังจึงเป็นผู้มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายกรมสามัญศึกษาที่โรงเรียนดังกล่าวสังกัดอยู่ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ กรณีหน่วยงานย้ายที่ทำการ แม้ไม่มีคำสั่งย้าย
ข้าราชการซึ่งต้องย้ายตามไปทำงานในท้องที่อื่น เพราะสำนักงานเดิมย้ายที่ทำการมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของ ผวจ. ในคดีละเมิดต่อหน่วยงานอื่น: ต้องเสียหายโดยตรงจึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดและรับผิดชอบงานบริหารราชการจังหวัดและมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งรับราชการอยู่ในจังหวัดและอยู่ในบังคับบัญชารับผิดชอบของโจทก์ที่ 2 แต่เงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยที่ 1 เบิกเอาไปโดยไม่มีสิทธินั้น มิใช่เป็นเงินงบประมาณของโจทก์ที่ 2 แต่เป็นเงินงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการโจทก์ที่ 1 เมื่อมีการกระทำละเมิดเอาเงินดังกล่าวไป ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงคือโจทก์ที่ 1 ส่วนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ 50,51,53 และฉบับที่ 310 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะละเมิดนั้นเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้น หาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลาง ที่เป็นผู้เสียหายด้วยไม่เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ และไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของนักเรียนตำรวจ และความรับผิดของหน่วยงาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยรวม 5 ปากเพราะพยานเหล่านี้กับพยานที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 นำเข้าสืบแล้วกับตัว จำเลยที่ 1 เป็นพยานคู่กันแม้สืบไปก็ได้ความเหมือนกับที่จำเลยที่ 1 กับพวกเบิกความมาแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงได้ความจากคำให้การของพยานดังกล่าว ในสำนวนสอบสวนเพื่อพิจารณาทัณฑ์ทางวินัยแก่จำเลยที่ 1 ว่าพยานเหล่านี้ไม่เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ แต่ มารู้เห็นเมื่อเกิดเหตุแล้วการที่จะสืบพยานเหล่านี้ไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี และเป็นการฟุ่มเฟือยเกินไปคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานดังกล่าวจึงชอบแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นนักเรียนโรงเรียนพลตำรวจภูธร 4ของกรมตำรวจจำเลยที่ 5 การที่จำเลยที่ 1เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 5การฝึกชัยยะ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะ นักเรียนพลตำรวจตาม คำสั่งและนโยบายของจำเลยที่ 5 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เกิดความเสียหายขึ้นก็เรียกได้ว่าจำเลยที่ 1ทำละเมิดในหน้าที่การงาน กรมตำรวจ จำเลยที่ 5 แม้ไม่ได้ร่วมทำละเมิดและมิได้เป็นลูกจ้างนายจ้างหรือตัวแทนก็จำต้องร่วมรับผิดเสียค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายนั้นด้วย ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 การที่ปืนในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ลั่นขึ้น และโจทก์ได้รับอันตรายสาหัสเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายซึ่ง ตามมาตรา 444 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้อง เสียไป กับเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตาม ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 บัญญัติไว้ได้ การวินิจฉัยถึง ค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายไม่มีกฎหมายใด บัญญัติว่าจะต้อง คำนึงถึง ฐานะ และรายได้ของผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานต่อละเมิดของลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ แม้ฝ่าฝืนระเบียบ
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนสั่งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์อยู่ใต้ บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นำรถออกนอกพื้นที่โดยมิได้ขออนุมัติก่อน แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบที่วางไว้ก็ตาม เมื่อฟังได้ว่าเป็นการเดิน ทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการมิใช่เรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 ดังนั้น ต้องถือว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 เป็นผลให้กรมตำรวจจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการจ้างงานระหว่างหน่วยงาน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติหน้าที่กับการประปานครหลวงตามความประสงค์ของโจทก์อันเนื่องมาจากจำเลยโอนกิจการการประปาบางบัวทองของจำเลยให้การประปานครหลวงนั้นเป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย.