คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน่วยงานราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8898/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกประกวดราคาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการไม่มีละเมิดจากหน่วยงานราชการ
ประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมาเป็นเพียงประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจที่จะรับจ้างขนขยะมูลฝอยจากท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาไปทำลายโดยวิธีฝังดิน ยื่นคำเสนอขอทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยวิธียื่นซองประกวดราคา ซึ่งต่อมาโจทก์เป็นผู้เข้าประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุดอันเป็นการทำคำเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เท่ากับโจทก์ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของจำเลยที่ 1 ทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 โดยประธานคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคามีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบในภายหลังว่าตกลงรับราคาที่โจทก์เสนอถือได้ว่าเป็นการทำคำสนองรับคำเสนอของโจทก์ แต่ในประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 16 ระบุว่าเมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งให้ผู้ประกวดราคาได้ทราบเป็นหนังสือผู้ประกวดราคาได้นั้นต้องไปทำสัญญาตามแบบของจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ทำสัญญาตามแบบของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ประกาศยกเลิกการประกวดราคาจ้างเหมาครั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาจะทำผิดเงื่อนไขตามประกาศแจ้งความประกวดราคาหรือไม่ก็ตามก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยที่ 1
ตามประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 18 ได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยที่ 1 ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคารายนี้เสียก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการและผู้ยื่นซองประกวดราคาไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะเป็นผู้ที่ยื่นซองประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุด ทั้งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ยื่นซองประกวดราคาตามที่ได้ประกาศแจ้งความไว้แล้วก็ตามจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งยกเลิกการประกวดราคาหลังจากการเปิดซองประกวดราคานานถึง 5 ปี แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยคนหนึ่งคนใดมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า โครงการขนขยะมูลฝอยริมแม่น้ำเจ้าพระยามีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่กลบฝังขยะ ตลอดจนบริเวณท่าเทียบเรือที่ใช้เป็นที่ขนลำเลียงขยะมูลฝอยลงเรือเป็นอย่างมาก การพิจารณาถึงผลกระทบดังกล่าวจึงต้องกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและตลอดมา ซึ่งโจทก์ก็ได้ร่วมรับรู้อย่างใกล้ชิด ทั้งยังให้ความยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาที่โจทก์เสนอไว้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการแจ้งยกเลิกการประกวดราคาล่าช้าของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แม้โจทก์จะได้ระบุไว้ในหนังสือยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาว่าหากไม่ตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ภายในกำหนดแล้ว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีผลทางกฎหมายว่าการที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำสัญญาจ้างเหมากับโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้ความว่าปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องสอดของหน่วยงานราชการ: อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดได้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62 วรรคสามและระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4(1) และ ข้อ 5(1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ (อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานราชการในการเวนคืน และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือ
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ระบุให้อธิบดีกรมโยธาธิการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกา แต่การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาธิการจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ การแจ้งวางทรัพย์และขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สิน หรือการแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ก็แจ้งเป็นหนังสือออกโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 การที่อธิบดีกรมโยธาธิการจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการไปต้องถือว่ากระทำการในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้กำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้แล้ว โดยผู้ที่ไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อน หากผู้มีสิทธิได้รับเงิน ไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสองก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลง และกล่าวถึงที่ดินส่วนที่เหลือว่าใช้ประโยชน์ได้น้อยไม่ได้ราคาโดยไม่ได้กล่าวอ้างว่ามีราคาลดลงเท่าใดและจะขอค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนหรือไม่ จึงไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทน ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงให้แก่โจทก์ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระค่าจ้างและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใดแต่การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์โดยโจทก์ได้ทวงถามจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยก็ยัง ไม่ยอมชำระให้นั้น ถือว่าจำเลยผิดนัดในการชำระค่าจ้างค้าง แก่โจทก์แล้ว จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ โจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและการรับอุทธรณ์ กรณีหน่วยงานราชการมีขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบ
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 และมาตรา 229 บัญญัติให้จำเลยผู้อุทธรณ์ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องเสียในการอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียมที่จะต้องชำระให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งค่าทนายความที่ศาลสั่ง มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ก็ตาม แต่หากมีพฤติการณ์พิเศษจำเลยทั้งสองย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 วันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย พร้อมกันไปในวันเดียวกัน ล้วนยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ และยังไม่ครบกำหนดอุทธรณ์ในวันที่ 7 มีนาคม 2540 ตามที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ เหตุนี้แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าการเบิกจ่ายเงินค่าฤชาธรรมเนียมชักช้าเนื่องมาจากความบกพร่องในวิธีการเบิกจ่ายเงินที่มีขั้นตอนไม่เหมาะสมและไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลาได้ก็ตามแต่ย่อมแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวเช่นกันว่าจำเลยมิได้จงใจ ที่จะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางในวันยื่นอุทธรณ์ประกอบกับยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา อุทธรณ์ดังกล่าวเช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นไว้ยังมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็ควรให้โอกาสแก่จำเลยชำระหรือวางเงิน ดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาอุทธรณ์ซึ่งยังจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่จำเลยที่มิได้จงใจที่จะไม่ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียวและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนโดยมิได้ให้โอกาสจำเลยก่อนนั้นเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าในวันที่ 17 มีนาคม 2540 จำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์จำนวน 200,000 บาท และค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางต่อศาลชั้นต้นจนครบถ้วนแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์และให้ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาล ในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยนำมาวาง กับให้รับอุทธรณ์ของจำเลย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหน่วยงานราชการ และเบี้ยปรับตามสัญญาที่สูงเกินส่วน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลตามที่กล่าวไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้นได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามป.พ.พ. สำหรับนิติบุคคลนั้นได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 65 แล้วว่าจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ป.พ.พ.หรือกฎหมายอื่น
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า ด่านศุลกากรจังหวัด ส.โจทก์ที่ 2เป็นหน่วยงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 และไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคล ดังนี้ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงส่วนราชการของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์ที่ 2 จึงเข้าเป็นคู่ความฟ้องคดีนี้ไม่ได้ โจทก์ที่ 2ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประกันฉบับพิพาท ข้อ 1 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 สัญญารับประกันภัยรถยนต์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายสัญญานี้ และสัญญาว่าจะส่งรถยนต์ให้ตามกำหนดนัดของโจทก์ และในระหว่างประกันนี้ข้าพเจ้าหรือผู้ต้องหาจะปฏิบัติตามนัดหรือหนังสือเรียกของพนักงานของโจทก์ที่ 1 มิฉะนั้นข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบใช้เงินเป็นจำนวน 280,000 บาท ข้อความตามสัญญาดังกล่าว เป็นการตกลงจะชำระเงิน280,000 บาท ให้โจทก์ที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 ดังนี้เงินจำนวน 280,000 บาท ตามข้อสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379และเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อความเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในการยึดและดูแลของกลาง
จำเลยที่2เป็นสารวัตรใหญ่และจำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนคนทั้งสองต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่1การที่จำเลยที่2และที่3ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1และจำเลยที่1มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่2และที่3ให้เป็นไปตามระเบียบและคำสั่งเพื่อมิให้เกิดความเสียหายเมื่อจำเลยที่2และที่3ยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมีคนตายและได้รับบาดเจ็บในกรณีนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1จำเลยที่2และที่3จึงมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3ไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์พิพาทของกลางตามสมควรเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหายกรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคหนึ่งจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2และที่3รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ด้วยจะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดของตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อสัญญาที่ข้าราชการทำโดยมิได้รับมอบหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 3 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมจำเลยที่ 1ได้นำรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมโดยไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการจัดซื้อและจัดจ้างทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้มอบหมายหรือตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนไปทำสัญญาจ้างดังกล่าวและจำเลยที่ 3 มิได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการหนี้ของหน่วยงานราชการโดยผู้กำกับดูแล หากเป็นการทำตามหน้าที่และหน่วยงานรับรู้ ไม่ถือเป็นการขัดความประสงค์
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณีไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่2ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรรและไม่รายงานให้จำเลยที่1ทราบทำให้จำเลยที่1ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ1ปีมิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10ปี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396บัญญัติว่า"ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดีหรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดีและผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้นแม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่าผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้วและโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานหาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา396ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทมาตรา 100 พ.ร.บ.ยาเสพติดสำหรับลูกจ้างประจำของหน่วยงานราชการที่ไม่เข้าข่ายพนักงานรัฐ
จำเลยที่2เป็นลูกจ้างประจำสังกัดศูนย์มาลาเรียกองมาลาเรียกรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นส่วนราชการจำเลยที่2จึงมิใช่พนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา100ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยปรับบทมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่2และศาลอุทธรณ์ไม่แก้ไขมิชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
of 5