พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์: หน้าที่ของคู่สัญญาในการจัดหาเงินกู้และการโอนกรรมสิทธิ์
ตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญามีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การชำระเงินงวดสุดท้ายชำระในวันที่โจทก์ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย โดยโจทก์จะพาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพาจำเลยไปจดทะเบียนจำนองกู้เงินจากธนาคารตามสัญญา เมื่อโจทก์เพียงแต่แนะนำให้จำเลยไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารมาชำระหนี้ค่าซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทเท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้พาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาดังกล่าวอีกทั้งโจทก์ได้นัดหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทที่สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 25 ธันวาคม 2534 โดยให้จำเลยชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 420,750 บาท ในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามนัด และได้ทำบันทึกโต้แย้งว่าจำนวนเงิน 420,750 บาท นั้น โจทก์ต้องเป็นผู้จัดการนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินเข้าจำนองแก่ธนาคารให้จำเลย แสดงว่าจำเลยถือเอาข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญในการทำสัญญาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทจากโจทก์ แม้จำเลยนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเอง และขอยืมจากผู้อื่นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพราะจำเลยต้องการจะได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทและกลัวว่าจะถูกโจทก์ยึดไปเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย-ว่าจ้างก่อสร้าง: ความสัมพันธ์หน้าที่ระหว่างคู่สัญญา และผลของการผิดสัญญา
หนังสือสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้านพิพาทซึ่งทำในวันเดียวกันกับวันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ว่าจ้าง น.เป็นผู้รับจ้างจำเลยที่ 2 ได้จัดทำสัญญามาเรียบร้อยแล้วนำมาให้โจทก์ลงชื่อโดย น.ไม่ได้อยู่ด้วย จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างบ้านพิพาท ในการซื้อที่ดินและบ้านพิพาทได้ตกลงกันว่า เมื่อจะโอนที่ดินและบ้านต้องเอาที่ดินและบ้านพิพาทจำนองธนาคารก่อน แล้วเอาเงินจากธนาคารมาชำระค่าที่ดินและบ้านส่วนที่ยังเหลือแก่จำเลยที่ 1 จากนั้นโจทก์จะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้ต่อธนาคารที่ยังชำระค่าบ้านไม่ครบเพราะยังสร้างบ้านไม่เสร็จ ข้อความต่าง ๆ ในหนังสือสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้านพิพาท โจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย แต่จำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตกลงว่าจ้าง น.ทำการก่อสร้าง การระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างก่อสร้างบ้านจึงถือว่ากระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น บ้านพิพาทที่ น.รับจ้างก่อสร้างจึงเป็นบ้านของจำเลยที่ 1 ที่ตกลงจะขายให้แก่โจทก์
การก่อสร้างบ้านพิพาทแล้วเสร็จก่อนโจทก์ฟ้องราวปีเศษและโจทก์ยังค้างชำระค่าก่อสร้างบ้านพิพาทอีกประมาณ 200,000 บาท เมื่อโจทก์เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ทวงถามให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นเงิน 300,000 บาท การที่โจทก์ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอน แต่เตรียมเงินไปเพียง 70,000 บาท ซึ่งไม่พอชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทถือว่าโจทก์มิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินในวันนัดดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดหรือผิดสัญญา
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และยังค้างชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำเลยที่ 1 เป็นเงินจำนวน300,000 บาท โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแย้งซึ่งถือว่าโจทก์ผิดนัดแล้ว และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนด้วยจำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาท การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดจำเลยทั้งสอง ส่วนในกรณีที่หากโจทก์ไม่ชำระเงินค่าที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องของการผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายอย่างไร ก็ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากโจทก์เป็นอีกกรณีหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1อันจะทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งได้
การก่อสร้างบ้านพิพาทแล้วเสร็จก่อนโจทก์ฟ้องราวปีเศษและโจทก์ยังค้างชำระค่าก่อสร้างบ้านพิพาทอีกประมาณ 200,000 บาท เมื่อโจทก์เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ทวงถามให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นเงิน 300,000 บาท การที่โจทก์ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอน แต่เตรียมเงินไปเพียง 70,000 บาท ซึ่งไม่พอชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทถือว่าโจทก์มิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินในวันนัดดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดหรือผิดสัญญา
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และยังค้างชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำเลยที่ 1 เป็นเงินจำนวน300,000 บาท โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแย้งซึ่งถือว่าโจทก์ผิดนัดแล้ว และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนด้วยจำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาท การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดจำเลยทั้งสอง ส่วนในกรณีที่หากโจทก์ไม่ชำระเงินค่าที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องของการผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายอย่างไร ก็ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากโจทก์เป็นอีกกรณีหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1อันจะทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: หน้าที่ของคู่สัญญาในการรังวัดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม มีใจความว่า ข้อ 1. จำเลยตกลงขายส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยจำเลยจะดำเนินการให้มีการรังวัดแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2532หากจำเลยไม่ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด ก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย ข้อ 2. โจทก์ยินยอมซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย และจะชำระราคาที่ดินดังกล่าวให้จำเลยภายในวันที่ 27ธันวาคม 2532 ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกรวมตลอดจนถึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โจทก์จะเป็นผู้ออกเองทั้งหมดตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกำหนดเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องเป็นผู้ดำเนินการให้มีการรังวัดแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2532 ส่วนโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ดินและเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกรวมตลอดถึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกเมื่อโจทก์ชำระราคาให้จำเลยแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้ไปสำนักงานที่ดินเพื่อชำระค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในวันที่ 27 ธันวาคม 2532 ก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิ์ซื้อที่ดินพิพาท เพราะตามสัญญาประนีประนอมดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงกันไว้เช่นนั้น กรณีนี้เป็นเรื่องของการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลหากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอย่างไรก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้บังคับโจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง, สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
ตึกที่จำเลยปลูกขายโจทก์ทำผิดแบบแปลนชำรุดบกพร่อง ไม่ใช่เพราะจำเลยทำไม่ดี โจทก์เรียกค่าเสียหายไม่ได้ โจทก์ต้องชำระราคาก่อนจึงจะเรียกให้จำเลยโอนที่ดินและตึกให้ได้ จำเลยบอกกล่าวให้ชำระเงินที่ค้างใน 15 วัน มิฉะนั้นถือเป็นการบอกเลิกสัญญา โจทก์ไม่ชำระเงินตามกำหนด โจทก์ต้องออกจากตึก และจำเลยริบมัดจำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายไม้: หน้าที่ของคู่สัญญาและการพิสูจน์การปฏิบัติตามสัญญา
ในสัญญาบ่งว่าก่อนที่จำเลยจะส่งไม้ลงเรือเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องไปทำการวัดตรวจไม้กำหนดเครื่องหมายก่อนเมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ว่าตนได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วและจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่กลับปรากฏว่าจำเลยเตรียมเลื่อยไม้ไว้ตามสัญญาแล้วหากโจทก์ไม่ส่งคนไปวัดไม้จนกระทั่งจำเลยได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำแล้วโจทก์ยังมีหนังสือขอความเห็นใจให้จำเลยผ่อนผันยืดอายุสัญญาต่อไปอีกเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเองจำเลยจึงไม่ชำระหนี้ เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่
มาตรา 204 เป็นเรื่องลูกหนี้ผิดนัดเป็นคนละเรื่องกับการบอกเลิกสัญญาซึ่งจะต้องปฏิบัติตาม มาตรา387
มาตรา 204 เป็นเรื่องลูกหนี้ผิดนัดเป็นคนละเรื่องกับการบอกเลิกสัญญาซึ่งจะต้องปฏิบัติตาม มาตรา387