คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่จำเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: จำเลยมีหน้าที่แบ่งแยกที่ดินก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ การไม่ทำตามถือเป็นการผิดสัญญา
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ 3 ห้อง ซึ่งตามข้อตกลงเป็นการจะซื้อที่ดินพร้อมด้วยอาคารพาณิชย์มาเป็นของโจทก์แต่เพียงผุ้เดียวมิใช่จะซื้อส่วนเพื่อเข้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเท่านั้น เพราะมีผลแตกต่างกันซึ่งต้องมีการตกลงกันเป็นพิเศษโดยชัดแจ้ง จำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลง ๆ ตามพื้นที่ของอาคารพาณิชย์ที่โจทก์จะซื้อและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่ละแปลงให้โจทก์ แต่เมื่อถึงวันนัดจดทะเบียนจำเลยมิได้แบ่งแยกที่ดินพร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ไปตามนัดและมีเงินพอที่จะชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่จำเลยจะริบเงินที่โจทก์จ่ายแล้วทั้งหมดตามข้อตกลงในสัญญาได้ สัญญายังคงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยชำระหนี้ตอบแทนกันอยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ในเวลาต่อมา แต่จำเลยไม่ไปตามนัด ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (3) และมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้จากจำเลยได้ตามมาตรา 380 อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบพื้นที่ให้โจทก์ก่อน หากไม่ส่งมอบถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ก่อสร้างขยายผิวจราจรพร้อมท่อระบายน้ำ คันหินและทางเท้า โดยระบุให้เริ่มลงมือทำงาน ณ สถานที่และวันที่กำหนดไว้ แสดงว่าตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวจำเลยต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบแก่โจทก์เพื่อลงมือก่อสร้าง แม้ว่าในสัญญาจะมิได้ระบุเรื่องการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างไว้ แต่ก็เข้าใจได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือจำเลยมีสิทธิครอบครองดูแลหรือใช้ประโยชน์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์ก่อน มิฉะนั้นโจทก์ไม่อาจลงมือก่อสร้างได้ การที่โจทก์ทราบถึงอุปสรรคในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ท่อประปา และมีอาคารของผู้อื่นบางส่วนกีดขวางอยู่นั้นก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการแก้ไขเพราะหากโจทก์ลงมือทำงานในส่วนที่ไม่มีอุปสรรคไปก่อนก็อาจไม่ตรงตามงวดงานในสัญญาจ้าง และหากมีผลกระทบถึงที่ดินหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โจทก์ก็อาจถูกดำเนินคดีอาญาฐานบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์จนกระทั่งล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกัน เมื่อจำเลยไม่คืนก็ต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้ของสัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์: การติดตั้งระบบสายสัญญาณเป็นหน้าที่ของจำเลย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสัญญา
โจทก์ส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขาย จำเลยรับสิ่งของไว้แล้วแต่ยังไม่ตั้งคณะกรรมการตรวจรับเพราะยังไม่สามารถทดสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เนื่องจากยังไม่มีการติดตั้งระบบสัญญาณและระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อยซึ่งถ้าพิจารณาเฉพาะข้อความตามสัญญาซื้อขายแล้วจะเห็นว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบในการส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งให้แล้วเสร็จจนกว่าจะใช้งานได้รวมถึงการติดตั้งระบบสายสัญญาณและระบบไฟฟ้าจนกว่าจะทดลองเครื่องคอมพิวเตอร์จนใช้งานได้ด้วย แต่ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือจ้างโจทก์ให้ติดตั้งระบบสายสัญญาณและสายไฟฟ้าสำหรับติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงทำให้เห็นเจตนารมณ์ที่แท้จริงของคู่สัญญาได้ว่า ตามสัญญาซื้อขายนั้นมีความหมายเพียงโจทก์จะต้องส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วนำมาติดตั้งคือการมาตั้งเครื่องและเชื่อมโยงต่อเครื่องเข้ากับระบบสายสัญญาณและสายไฟฟ้าที่ฝ่ายจำเลยจะต้องทำเตรียมไว้ให้พร้อม ซึ่งโจทก์และจำเลยเคยทำสัญญาซื้อขายให้ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะเช่นเดียวกับสัญญาในคดีนี้ โดยจำเลยต้องว่าจ้างโจทก์ให้ติดตั้งระบบสัญญาณและระบบไฟฟ้า เมื่อโจทก์ส่งมอบแล้วติดตั้งให้ทดลองล่าช้าจำเลยก็มิได้ปรับโจทก์แต่ประการใดจึงทำให้เห็นเจตนารมณ์ของคู่สัญญาได้ชัดเจนขึ้นว่ามีการทำสัญญาซื้อขายโดยไม่ได้รวมถึงการติดตั้งระบบสัญญาณและระบบไฟฟ้าเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในกำหนดสัญญาจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงมิอาจหักค่าปรับตามสัญญาซื้อขาย
แม้จำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะปรับได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยปรับได้บางส่วน โจทก์ไม่อุทธรณ์ประเด็นนี้จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่อาจฎีกาได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากคู่ความไม่มาศาล และหน้าที่จำเลยในการแจ้งความประสงค์ให้พิจารณาต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยที่ 1 มาศาล ส่วนผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ทนายโจทก์ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องสอบถามจำเลยที่มาศาลก่อน แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่มาศาลต้องแจ้งต่อศาลในวันหรือก่อนวันสืบพยานว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันหรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9605/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จำเลยอนาถาในการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ หากเพิกเฉยถือเป็นการทิ้งอุทธรณ์
กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในชั้นที่มีคู่ความขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ และการมีคำสั่งให้รับหรือไม่รับอุทธรณ์ของคู่ความผู้อุทธรณ์นั้น เป็นคนละส่วนกัน จำเลยผู้อุทธรณ์ที่ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถามีหน้าที่นำส่งหมายนัดไต่สวนชั้นขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาให้แก่โจทก์และหากศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยก็มีหน้าที่นำส่งหมายนัดสำเนาอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยด้วย การที่จำเลยวางเงินนำหมายตามแบบคำขอวางเงินนำหมายนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเท่านั้น โดยยังมิได้มีการนำส่งหมายนัดสำเนาอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับของจำเลยให้โจทก์แก้ เมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายส่งสำเนาอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับให้แก่จำเลยเพื่อนำส่งให้แก่โจทก์ไว้แล้ว จำเลยเพิกเฉยไม่นำส่งตามเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จนเวลาล่วงเลยมานานเกินสมควร พฤติการณ์ของจำเลยย่อมเป็นการทิ้งอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วย มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ข้อตกลงหน้าที่จำเลย vs. เงื่อนไขที่ทำให้สัญญาสิ้นผล
จำเลยให้การว่า จำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์จริงแต่มีข้อกำหนดในสัญญาเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนว่า สัญญาจะมีผลเป็นการซื้อขายต่อเมื่อจำเลยทำการออกโฉนดที่ดินให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด แต่เงื่อนไขดังกล่าวไม่สำเร็จลงภายในกำหนดสัญญา สัญญาเป็นอันยกเลิก คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย และดอกเบี้ย ดังนี้เท่ากับจำเลยยกข้อสัญญาขึ้นปฏิเสธความรับผิดว่า โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานั่นเอง ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยทำกับโจทก์เป็นสัญญาที่สมบูรณ์สามารถบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะทำการหักโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ เมื่อออกโฉนดแล้วภายใน 180 วัน นั้นมิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล จึงมิใช่เงื่อนไขบังคับก่อนตาม มาตรา145 เดิม หากแต่เป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ของจำเลยจะต้องดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินที่จะขายให้สำเร็จ ก่อนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับเพิ่มขึ้นโดยข้อสัญญาเป็นการกำหนดหน้าที่จำเลยเพิ่มขึ้นโดยข้อสัญญา เมื่อโจทก์สละประโยชน์ที่จะพึงได้รับตามข้อสัญญาดังกล่าวเสีย ขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นสิทธิตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม มาตรา 456 วรรคสอง กำหนดเวลา180 วัน ที่จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินที่จะขายอย่างที่ดินมีโฉนดแล้วจึงเป็นอันสิ้นผลไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7318/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายตามคำพรรณนา: จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินตรงตามที่โฆษณาไว้ แม้ไม่ได้ระบุในสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าในเขตแนวถนนที่จำเลยมีข้อตกลงตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์และตามแผนผังที่ได้โฆษณาไว้ในแนวถนน 2 เมตร ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังข้ออ้างของโจทก์ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง โจทก์เข้าทำสัญญากับจำเลยโดยเชื่อคำโฆษณา จึงเข้าลักษณะเป็นการซื้อขายตามคำพรรณา จำเลยจึงมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายให้ตรงตามคำพรรณนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จำเลยในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลของการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งศาล
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่ง สำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้อง จัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมาย รายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่ง ในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลงถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลจะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "จำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่จัดหาสัตวแพทย์ตรวจเนื้อสุกรชำแหละ หากละเลยถือเป็นการละเมิด โจทก์มีส่วนละเลยไม่บรรเทาความเสียหาย
โจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่เกินห้าหมื่นบาท ส่วนโจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน แต่โจทก์ทั้งสามต่างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โดยลำพังตนเอง แม้จะฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกันเพื่อความสะดวกแต่การพิจารณาถึงสิทธิในการฎีกาต้องพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง การฟ้องคดีรวมกันหรือแยกกันย่อมไม่มีผลทำให้สิทธิในการฎีกาเปลี่ยนแปลงไป เมื่อปรากฏว่าค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 แต่ละคนเรียกร้องมาไม่เกินห้าหมื่นบาทการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นฎีกา จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จัดให้มีโรงฆ่าสัตว์ และต้องดูแลควบคุมให้การดำเนินการเป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ออกอาชญาบัตรให้แก่โจทก์เพื่อฆ่าสุกรในโรงฆ่าสัตว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องจัดหาสัตวแพทย์มาตรวจเนื้อสุกรชำแหละก่อนนำออกไปจำหน่ายแก่ประชาชนในระหว่างเวลา 0.01 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกาการที่สัตวแพทย์เพิ่งมาตรวจเนื้อสุกรชำแหละ และตีประทับตราให้นำเนื้อสุกรชำแหละออกจากโรงฆ่าสัตว์ได้ในเวลาประมาณ 10 นาฬิกาจนเป็นเหตุให้เนื้อสุกรชำแหละของโจทก์เน่าเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้จัดหาสัตวแพทย์มาตรวจเนื้อสุกรชำแหละภายในเวลาที่จะต้องตรวจตามหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการละเลย ประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การที่โจทก์มีส่วนละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายโดยไม่นำเนื้อสุกรชำแหละที่ผ่านการตรวจจากสัตวแพทย์ และตีประทับตราแล้วออกจำหน่าย ทั้งที่อยู่ในช่วงเวลาที่จะสามารถจำหน่ายได้บ้างอันจะเป็นการบรรเทาความเสียหายให้ลดน้อยลงได้ ศาลเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงครึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขาย การสร้างศูนย์การค้าตามโฆษณาเป็นหน้าที่ของจำเลย หากไม่ทำตามโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญา
เอกสารที่จำเลยโฆษณาขายอาคารพร้อมที่ดินปรากฏใจความและรูปภาพแสดงว่าจำเลยได้โฆษณาเสนอขายอาคารพาณิชย์มากกว่า 800 ห้อง โดยระบุว่าเป็นโอกาสทองของผู้ลงทุนเพราะเป็นศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรม โรงภาพยนตร์ และตลาดสด ทั้งกำหนดโครงการสร้างเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งต่อมาโจทก์จำเลยได้เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคาร 5 ห้อง พร้อมที่ดิน แม้จะไม่ปรากฏข้อความตามคำโฆษณาดังกล่าวสัญญานั้นก็ตาม แต่แผนผังแนบท้ายสัญญาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นแผนผังศูนย์การค้าที่จำเลยจะสร้าง แสดงที่ตั้งของอาคารพาณิชย์ ศูนย์รวมรถเมล์โรงแรม โรงภาพยนตร์ ตลาดสด และอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อ ดังนี้ ศูนย์การค้าตามแผนผังจะมีรายละเอียดอย่างไร กำหนดสร้างเสร็จเมื่อไร โจทก์ย่อมมีสิทธินำคำโฆษณาเสนอขายของจำเลยตอนทำสัญญาจะซื้อจะขายมานำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่การนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้าม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องสร้างศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรม โรงภาพยนตร์และตลาดสดในบริเวณศูนย์การค้าดังกล่าวภายในเวลา 1 ปี ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้โดยไม่สร้างศูนย์การค้าภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันถือว่าผิดสัญญา โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าซื้อก็ไม่จำต้องชำระเงินค่าซื้อต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 และยังมีสิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยได้ตามมาตรา 387 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วให้โจทก์ตามมาตรา 391
of 3