พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6793/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: ธนาคารมีหน้าที่จ่ายเงินตามเงื่อนไข แม้โจทก์มีข้อพิพาทกับผู้ขาย ศาลมิอาจอายัดการจ่ายเงิน
ธนาคารผู้ร้องไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 แต่การที่โจทก์จำเป็นต้องขอให้ผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ก็เพื่อให้ผู้ร้องที่เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือในฐานะการเงินเข้ารับภาระในการจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตอันมีผลให้ผู้ขายคือจำเลยที่ 4 มั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอน เมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตกล่าวคือ เมื่อมีการเสนอเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น หากผู้ร้องไม่ชำระเงินโดยปราศจากเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นที่ยอมรับได้ในวงการค้าระหว่างประเทศก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในวงการค้าระหว่างประเทศของผู้ร้อง และมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการในการออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของผู้ร้องและลูกค้าที่ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศในภายหน้าด้วยเหตุนี้การที่ศาลจะออกคำสั่งอายัดห้ามผู้ร้องชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทย ไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทย ไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าทดแทนเวนคืน: สิทธิเจ้าของภารจำยอม & หน้าที่จ่ายเงินเมื่อไม่มารับชดใช้
บทบัญญัติมาตรา 18(6) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ระบุไว้ชัดเจนว่า บุคคลผู้มีสิทธิ ได้รับเงินค่าทดแทนนั้น หมายถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ ทางตามมาตรา 1349 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับทางจำเป็น ส่วนกรณีทางภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 29ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ หาอาจนำมาตรา 18(6) มาใช้บังคับโดยอาศัยมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ไม่ ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิหรือทางภารจำยอมตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 29จะต้องร้องขอรับชำระหนี้หรือรับชดใช้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา 28, หรือมาตรา 29แล้วแต่กรณี หากในระหว่างเวลา 60 วันนั้นผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่ง อสังหาริมทรัพย์นั้นได้ จึงจะมีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิดังกล่าวมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา 60 วันก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกันเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากเจ้าหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์หาชอบที่จะนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ไว้ตามบทบัญญัติมาตรา 31 ไม่ เมื่อจำเลยมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนให้แก่โจทก์ แต่จำเลยนำไปวางทรัพย์ไว้ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการวางทรัพย์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แคชเชียร์เช็ค: ผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่จ่ายเงินให้ผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้มีการแจ้งหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991 (3) ซึ่งบัญญัติว่าธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีที่ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คหายนั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจธนาคารไม่จำต้องจ่ายเงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้าสั่งจ่ายมาเบิกเงินแก่ตน จึงเป็นคนละกรณีกับการที่ธนาคารซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คผู้ที่นำเช็คมาเรียกเก็บเงินจากธนาคาร เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คพิพาทเป็นแคชเชียร์เช็คซึ่งธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย และโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบธนาคารจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันตนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะต้องจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่ผู้ทรง ธนาคารจำเลยที่ 1 จะอ้างมาตรา 991(3) มายกเว้นความรับผิดต่อผู้ทรงหาได้ไม่