พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระภาษีการค้าของผู้ประกอบการ แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ภายหลัง
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระภาษีการค้าโดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดัดแปลงรถยนต์บรรทุกยี่ห้อเบนซ์ 300 ทีดี เก๋งแวน เป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมินราคารถยนต์และจำนวนภาษีที่จำเลยต้องชำระแล้ว จำเลยก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40) แสดงรายการภาษีการค้าที่ต้องเสียจำนวน 319,440 บาทและชำระในวันยื่นแบบ 50,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระรวม 54 งวดถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการค้าและผูกพันตนที่จะชำระภาษีการค้าตามมาตรา79 ทวิ (5) และ 79 ทวิ วรรคสอง แห่งป.รัษฎากรแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระภาษีการค้าทั้งหมดในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า(ภ.ค.40) การที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวที่มีจำนวนตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ผ่อนชำระเป็นงวดได้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์แก่จำเลยแล้ว ดังนั้น แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในภายหลัง จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าที่ค้างชำระทั้งหมดตามกฎหมายและตามคำร้องที่ยื่นขอผ่อนชำระไว้ หาใช่ว่าหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นของผู้เช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นเจ้าของภายหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ชำระภาษีการค้าจากการดัดแปลงรถยนต์ แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ภายหลัง
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระภาษีการค้า โดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดัดแปลงรถยนต์บรรทุกยี่ห้อเบนซ์ 300 ทีดี เก๋งแวน เป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ ประเมินราคารถยนต์และจำนวนภาษีที่จำเลยต้องชำระแล้วจำเลยก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40)แสดงรายการภาษีการค้าที่ต้องเสียจำนวน 319,440 บาทและชำระในวันยื่นแบบ 50,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระรวม 54 งวด ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการค้าและผูกพันตนที่จะชำระภาษีการค้าตามมาตรา 79 ทวิ(5) และ 79 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระภาษีการค้าทั้งหมดในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40) การที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวที่มีจำนวนตั้งแต่200,000 บาทขึ้นไป ผ่อนชำระเป็นงวดได้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์แก่จำเลยแล้ว ดังนั้น แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในภายหลัง จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าที่ค้างชำระทั้งหมดตาม กฎหมายและตามคำร้องที่ยื่นขอผ่อนชำระไว้ หาใช่ว่าหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นของผู้เช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็น เจ้าของภายหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สถานที่ทำการที่เปลี่ยนแปลงและไม่มีหน้าที่ชำระภาษี
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีสำนักงานอยู่ที่เลขที่ 1745/11 ถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ก็ตามแต่สำนักงานดังกล่าวมิใช่สำนักงานของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ทั้งปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่1745/11 ดังกล่าวก็ได้ถูกเพลิงไหม้ตั้งแต่ต้นปี 2536 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2536 ต่อโจทก์ และในการยื่นแบบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2536 นั้นจำเลยที่ 1 ระบุว่า อยู่บ้านเลขที่ 19/1 ถนนพญาไท แขวงพญาไท เขตพญาไทกรุงเทพมหานคร อันเป็นการที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบถึงบ้านเรือนหรือสำนักการค้าของตนที่โจทก์จะติดต่อกับจำเลยที่ 1 ได้หลังจากที่ได้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 1745/11 สำหรับสำนักงานชั่วคราวซึ่งอยู่ด้านหลังอาคารห้างสรรพสินค้า ว. พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้นำใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไปส่งและปิดไว้นั้น ก็ได้ความว่าไม่มีป้ายชื่อแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ให้เช่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 1745/11 และไม่ปรากฏว่ามีธุรกิจอย่างอื่นในสถานที่ดังกล่าวอีก เมื่อโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่าได้ถูกเพลิงไหม้ไปแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องมีสำนักงานไว้ณ สถานที่นั้นอีก นอกจากนั้นสำนักงานชั่วคราวที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำแบบภ.ร.ด.8 (ใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน) ไปปิดประกาศไว้นั้นเป็นสำนักงานของห้างสรรพสินค้า ว.ผู้เช่าซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยที่ 1จึงฟังไม่ได้ว่า สำนักงานชั่วคราวที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำใบแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไปปิดไว้ เป็นบ้านเรือนหรือสำนักการค้าของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินไปให้จำเลยที่ 1 ผู้รับประเมินทรัพย์สินได้ทราบโดยชอบ ตามมาตรา 24 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจำเลยทั้งสี่จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินตามประเมินและค่าเพิ่มแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ของทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง แม้เกิดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังจำเลย ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ประจำปีพ.ศ. 2531 ของลูกหนี้ตามแบบแจ้งการประเมิน ภ.บ.ท.9 เป็นการปฏิบัติตามวิธีการ ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508มาตรา 48 เพื่อให้จำเลยซึ่งมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้อุทธรณ์โต้แย้งการประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ ตามมาตรา 49 หากเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 นอกจากนี้พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 ก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาลหาได้ให้แจ้งความเห็นไปยังผู้ขอรับชำระหนี้ไม่ ทั้งความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจวินิจฉัย เป็นอย่างอื่นได้ ความเห็นหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ทำให้ผู้ขอรับชำระหนี้เสียหาย การที่จำเลยมีหนังสือไปยังผู้อำนวยการเขตแจ้งว่าหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2531 เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่อาจขอรับชำระได้ เท่ากับเป็นเพียงการ แจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปยังผู้อำนวยการเขตเท่านั้น ไม่มีผล ผูกพันให้โจทก์จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของจำเลยต่อ ศาลในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 146 การที่จำเลย ไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และเงินเพิ่มตามกฎหมายแก่โจทก์ เป็นการ โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าภาษีดังกล่าว จากจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้มีอยู่ในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดนั้น จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีหน้าที่เข้าไปจัดการ เมื่อจำเลยยังจัดการ ไม่เสร็จโดยมิได้จำหน่ายที่ดินดังกล่าวแล้วเกิดหนี้ค่าภาษีบำรุง ท้องที่ขึ้นตามกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินที่จำเลยมีหน้าที่จัดการ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แทนลูกหนี้แก่โจทก์ และเมื่อการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายแล้วดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่นั้นแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่แทนลูกหนี้ แม้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าวดังนี้ การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 48 ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91 การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่าหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้นั้นเป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย เท่ากับเป็นเพียงการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา 35 วรรคสอง หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่าย ดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศ และหน้าที่ชำระภาษีของผู้กู้
บริษัท พ. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริกามีสัญญากับโจทก์ว่าเป็นผู้จัดหาคณะบุคคลให้แก่โจทก์ในการดำเนินงานของบริษัทโจทก์ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการบริหารของบริษัทโจทก์บุคคลที่บริษัท พ. จัดหามาเพื่อทำงานให้แก่โจทก์นั้นจึงเป็นลูกจ้างของโจทก์ ไม่ถือว่าบริษัท พ. มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งถือไม่ได้ว่าบริษัท พ.ประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับเงินที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเป็นค่าจัดการและดอกเบี้ยของเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท พ. เมื่อโจทก์ไม่ได้หักไว้เพราะมีข้อสัญญาให้โจทก์ชำระแทน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีจำนวนที่ต้องรับผิดชำระแทนนั้นต่อเจ้าหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 โจทก์ทำสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงิน 5 แห่ง ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริการ่วมกับธนาคารแห่งอเมริกาตามข้อสัญญาระบุให้ธนาคารแห่งอเมริกาเป็นตัวแทนจัดการเงินกู้และรับดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งนี้สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาโดยตรง ธนาคารแห่งอเมริกามีสาขาในประเทศไทยแต่ไม่ปรากฏว่า สาขาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง การชำระดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินเหล่านั้นโจทก์ส่งไปให้แก่ธนาคารแห่งอเมริกา นครนิวยอร์คโดยตรงธนาคารแห่งอเมริกา นครนิวยอร์คจึงเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งเพื่อการนี้ และแม้ธนาคารแห่งอเมริกาจะมีสาขาในประเทศไทย ก็ถือไม่ได้ว่าสาขาในประเทศไทยนั้นเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งดังกล่าวด้วย เมื่อสถาบันการเงินทั้ง5 แห่งนั้นไม่มีสาขาหรือลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลณ ที่จ่าย สำหรับเงินค่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้แก่สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งดังกล่าว แต่เมื่อตามข้อสัญญาในหนังสือสัญญากู้ระบุให้โจทก์ในฐานะผู้กู้ต้องเป็นฝ่ายชำระค่าภาษีทั้งปวงแทน โจทก์ไม่อาจหักเงินภาษีออกจากเงินค่าดอกเบี้ยได้ โจทก์จึงชอบที่จะออกเงินค่าภาษีจำนวนที่ต้องรับผิดชำระแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'เนย' ในพระราชกฤษฎีกาภาษีอากร และหน้าที่ในการชำระภาษีที่ถูกต้อง
การที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฯ(ฉบับที่ 28)พ.ศ.2511 และ (ฉบับที่ 57) พ.ศ.2518 นำคำว่า "นอกจากมันเนย" ไปต่อท้ายคำว่า "เนย" แสดงว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามประมวลรัษฎากรถือว่า "เนย" มีความหมายถึง "มันเนย" ด้วย จึงกำหนดข้อยกเว้นไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ประสงค์จะเก็บภาษีการค้าสำหรับมันเนยในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ฉะนั้นโจทก์นำสินค้ามันเนยเข้ามาในราชอาณาจักรช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่43) พ.ศ.2516 ซึ่งไม่ได้กำหนดยกเว้นสำหรับสินค้ามันเนยไว้บังคับ โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ 7 ของรายรับ
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89, 89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้ว มิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89, 89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้ว มิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสินสมรสมีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนที่ได้จากการยื่นประเมินในฐานะผู้รับประเมิน แม้ภริยาเป็นผู้รับยกให้
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมิน ยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมิน จึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาล จะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่ เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมายเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าอาคารราชพัสดุและชำระค่าภาษีแทนกรมธนารักษ์ตามสัญญาเช่าที่กรมธนารักษ์ทำกับโจทก์ โจทก์ไม่ใช่ผู้รับการประเมินย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17