คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หมดอายุความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งไม่รับสมัครเลือกตั้งและการหมดอายุความของคดีเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลนครระยองที่ไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครระยอง และพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ปรากฏว่าในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา การเลือกตั้งได้ผ่านพ้นไปแล้ว ดังนั้นไม่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะชอบหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ก็ไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้คดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6345-6346/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองสิ้นสุดเมื่อฟ้องไม่ทันตามกรอบเวลา และคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง
โจทก์ฎีกา แต่ก่อนจำเลยยื่นคำแก้ฎีกา จำเลยถึงแก่ความตาย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียก พ. บุตรจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทน ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ พ. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลย แต่เมื่อ พ. เป็นทายาทของจำเลย ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้ง พ. เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย
คดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้อง ช. ข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่า ช. และจำเลยบุกรุกแย่งการครอบครอง โจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่จำเลยบุกรุกเข้าแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ได้สิ้นสุดลงแล้ว และคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมผูกพันโจทก์และ ช. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145โจทก์จะมารื้อร้องฟ้องขอให้บังคับจำเลยทายาทของ ช. ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์มีมาก่อนที่ศาลในคดีส่วนอาญาได้พิพากษาไปแล้วและให้ขับไล่จำเลยกับห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิโต้แย้งและการหมดอายุความตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 ที่โจทก์ระบุว่าเป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การโต้แย้งสิทธิเดิมและการหมดอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยยืนยันว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาของสามีจำเลย บุคคลดังกล่าวได้ยกให้แก่จำเลยและสามีจำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยไม่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์คดีจึงไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลยครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่ง การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองหรือไม่ หรือโจทก์หมดสิทธิฟ้อง เอาคืนซึ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ เพราะประเด็นนี้ขัดแย้งกับประเด็น ที่จำเลยได้ให้การและฟ้องแย้งไว้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จำเลยโดยได้รับการยกให้จากบิดามารดาของสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิม การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดกับการหมดอายุความ การแย่งการครอบครอง และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่ เมื่อไม่มีประเด็นในศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่ ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย จากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6548/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องค่าเสียหายจากงานชำรุด: การฟ้องซ้อน การหมดอายุความรับผิด และการคิดค่าเสียหาย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าความเสียหายของทางพิพาทเกิดจากการแก้ไขแบบแปลนของโจทก์เองจากการใช้หินคลุกมาเป็นกรวดคลุกแทนนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้ไว้ในคำให้การ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้วหลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่ 22 ตุลาคม 2530 ดังนี้โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกสารรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รับแก่ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตามผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีกถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนดผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่าตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปีตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531 โจทก์จึงชอบที่จะแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความฟ้องร้องการกำหนดรหัสประเภทกิจการและการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสมทบของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 6 และข้อ 23 ว่า สำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่า โจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ 1004"การประกอบรถยนต์" อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.6 และรหัสประเภทกิจการอื่น ๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์ โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2536 การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ 25 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 8 เป็นกรณีที่ถ้าปรากฏว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ 8 ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 1 วินิจฉัยก่อน ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ 8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความฟ้อง: คำวินิจฉัย คชก. ถึงที่สุดเมื่อไม่ฟ้องภายใน 60 วัน
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" และมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่ที่ทราบคำวินิจฉัย คชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย" และวรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ให้นำมาตรา 56 วรรคสองวรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับแก่การมีคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโดยอนุโลม"นั้น หมายความว่า หากคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียจะฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดต่อศาลต้องฟ้องหรืออุทธรณ์ต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด หรืออย่างช้าต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย หากไม่ได้ฟ้องหรืออุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุด คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่มีอำนาจฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวได้อีก การที่โจทก์ร้องเรียนต่อ คชก.ตำบลว่า โจทก์เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 เพื่อทำนาตั้งแต่ พ.ศ.2524 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ครั้นวันที่ 19 ตุลาคม 2532 คชก.ตำบลได้มีคำวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 21, 63 จึงไม่อยู่ในอำนาจของ คชก.ตำบล ตามมาตรา 13 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด คชก.จังหวัดได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ยืนยันตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลโจทก์จึงมาฟ้องคดีต่อศาลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2533 ซึ่งพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย ต้องถือว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้ยกขึ้นวินิจฉัย แต่ปัญหาดังกล่าวจำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้คดี และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ก็ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกา ถือได้ว่ามีประเด็นที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความฟ้องร้องคำวินิจฉัย คชก. และผลกระทบต่ออำนาจฟ้องคดีเช่านา
โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เช่านาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯจะต้องฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยหรืออย่างช้าต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัยมิฉะนั้นคำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา56,57เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยได้อีกและแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยแต่จำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้คดีและจำเลยที่2กับที่3ก็ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาถือว่ามีประเด็นที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246และ247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เกิน 10 ปี หมดสิทธิ
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2531 ความว่า โจทก์ยอมให้ที่ดินที่เป็นเกาะมีบ้านจำเลยปลูกอยู่เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในโฉนดเลขที่ 1924 เป็นของจำเลย และจะไปขอแบ่งแยกให้ ทั้งสองฝ่ายจะไปยื่นขอแบ่งแยกภายในเดือนมกราคม 2514 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2533 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงหมดสิทธิบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้กรณีเป็นดังที่จำเลยอ้างว่าเป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งโจทก์เป็นฝ่ายเพิกเฉยไม่ไปขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วกลับมาฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีใหม่ และจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์แล้วก็ตามก็หามีบทกฎหมายใดบัญญัติให้มีการขอบังคับคดีเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาได้ไม่
of 2