คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หย่าขาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย แม้มิได้หย่าขาด
ในคดีฟ้องขอหย่าและแบ่งทรัพย์ระหว่างกัน แต่คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลเฉพาะในเรื่องแบ่งทรัพย์ ดังนี้ คำพิพากษาตามสัญญายอมเฉพาะในข้อตกลงแบ่งทรัพย์โดยไม่มีการหย่าขาดระหว่างกันนี้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด การแบ่งทรัพย์นี้เป็นสัญญาระหว่างสามีภริยาอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวหาชู้และหมิ่นประมาทในครอบครัว ไม่ถึงขนาดเป็นเหตุให้หย่าขาด
สามีกล่าวขึ้นในขณะโมโหหึงและกล่าวในบ้านภายในวงครอบครัวว่าภรรยามีชู้นั้นยังไม่เป็นการร้ายแรงถึงขนาดที่จะให้หย่าขาดจากกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2)
สามีว่าภรรยาและแม่ยายว่าขโมยเงินไป 100 บาทนั้นเป็นข้อความที่สามีคาดการณ์โดยเดาเอาเพราะเงินหายไป 100 บาทดังนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นหมิ่นประมาทซึ่งเป็นการร้ายแรงถึงขนาดให้หย่าขาดจากกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาและการแบ่งทรัพย์หลังหย่าขาด โดยการแสดงเจตนาสละสิทธิถือเป็นอันเสร็จเด็ดขาด
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกัน แล้วโจทก์( ภริยา ) ได้โอนกรรมสิทธิที่ดินของตนให้จำเลย( สามี ) แล้วทำหนังสือสละทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่จำเลยโดยระบุไว้แจ้งชัดว่าสละให้เพราะจะไปอยู่กินกับชายชู้ แล้วโจทก์กับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดกันโดยโจทก์ได้แสดงเจตนาเมื่อจดทะเบียนหย่ายืนยันสละสิทธิของโจทก์ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา โดยกล่าวว่าไม่มีอะไรจะแบ่งกันแล้วดังนี้ ย่อมฟังได้ว่าการหย่าและแบ่งทรัพย์ระหว่างโจทก์จำเลยได้เสร็จเด็ดขาดไปแล้ว โจทก์จะกลับรื้อฟื้นฟ้องร้อว่ายังไม่ได้แบ่งทรัพย์กันนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีหย่าขาดเมื่อจำเลยถึงแก่กรรมระหว่างการพิจารณาคดี
ในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากสามีภริยากัน จำเลยฎีกาแต่ในระหว่างฎีกานั้น จำเลยถึงแก่กรรมลง ดังนี้ ศาลฎีกาก็มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีได้ ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 132 ( 3 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิร่วมกัน แม้ทำสัญญาในนามฝ่ายเดียว ก่อนหย่าขาด เมื่อยังอยู่ร่วมกันและไม่ได้ตกลงเรื่องสิทธิเช่า
ภรรยาเกิดระหองระแหงกับสามี จึงแยกไปทำสัสญญาเช่าตึกในนามของภรรยา และอยู่ในตึกรายนี้ แต่ต่อมาได้คืนดีกัน และสามีได้มาอยู่รวมในตึกรายนี้ด้วย ภายหลังจึงได้ตกลงทำหนังสือหย่าขาดจากกัน แต่สามีก็ยังคงอยู่ในตึกรายนี้ด้วยตลอดมา ดังนี้ แม้สัญญาจะทำในนามของภรรยา แต่ขณะนั้นยังมิได้หย่าขาดจากัน และการทำสัญญาเช่าก็ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยา ฉะนั้นสิทธิตามสัญาเช่านี้ จึงเป็นสิทธิร่วมกันระหว่างสามีภรรยา เมื่อตกลงทำสัญญาหย่ากัน มิได้ตกลงในเรื่องสิทธิการเช่ารายนี้ประการแล้ว และทั้งสองฝ่ายยังครอบครองอยู่ด้วยตลอดมา จึงยังเป็นสิทธิร่วมกันอยู่ ภรรยาจะมาฟ้องขับไล่สามีให้ออกไปจากตึกเช่า ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งค่าเลี้ยงดูบุตรและค่าอุปการะเลี้ยงดูเมื่อศาลมิได้พิพากษาให้หย่าขาดจากกัน
แม้คำฟ้องแย้งจะมีข้อความระบุว่า หากศาลให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลยและค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ก็ตาม แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีและบรรยายคำฟ้องแย้งมาแต่แรกว่า เหตุหย่ามิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย โจทก์เป็นฝ่ายออกจากบ้าน ละทิ้งไม่ดูแล ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยและบุตรผู้เยาว์ทั้งสองซึ่งอยู่ในระหว่างศึกษาเล่าเรียน ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลย ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์และให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเพียงผู้เดียว แสดงให้เห็นถึงเจตนาแท้จริงตามคำฟ้องแย้งของจำเลยว่าไม่ประสงค์จะหย่ากับโจทก์ แต่ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ซึ่งโจทก์ในฐานะบิดามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบและปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ไม่ว่าโจทก์จำเลยยังคงเป็นสามีภริยาหรือหย่าขาดจากกันแล้วหรือไม่ ทั้งย่อมเป็นเหตุผลอันสมควรให้ศาลมีคำสั่งให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่แก่จำเลยผู้เป็นมารดาฝ่ายเดียวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 (5) ไม่ว่าโจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันหรือไม่เช่นเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษาให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองและให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเพียงฝ่ายเดียว จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินขอ
แม้จำเลยให้การและบรรยายคำฟ้องแย้งตอนแรกว่า โจทก์ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยเป็นทำนองว่าโจทก์ในฐานะสามีไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยา เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของสามีตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง กำหนดก็ตาม แต่เมื่ออ่านคำฟ้องแย้งของจำเลยแต่แรกจนถึงคำขอท้ายฟ้องแย้งโดยตลอดทั้งหมดแล้ว ได้ใจความตามที่บรรยายว่า เหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์ซึ่งเป็นสามีฝ่ายเดียว การฟ้องหย่าของโจทก์ทำให้จำเลยยากจนลง หากศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าเลี้ยงชีพให้จำเลยเป็นรายเดือน ซึ่งตรงตามหลักเกณฑ์เรื่องค่าเลี้ยงชีพที่ ป.พ.พ. มาตรา 1526 บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในกรณีที่มีการหย่าแล้วจะทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง ถือไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลย เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน จึงไม่อาจบังคับให้โจทก์รับผิดชำระค่าเลี้ยงชีพให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้