พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจากความขัดแย้งหลังหย่าร้าง ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น
แม้จำเลยจะไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายและผู้ตายมาก่อนก็ตาม แต่ได้ความว่าจำเลยกับผู้เสียหายเคยเป็นสามีภริยากัน ก่อนเกิดเหตุประมาณ 5 เดือน จำเลยและผู้เสียหายได้หย่าร้างกัน ผู้เสียหายได้แต่งงานอยู่กินกับผู้ตาย ภายหลังหย่าร้างจำเลยเคยไปขอคืนดีกับผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายไม่ยินยอมพฤติการณ์ที่จำเลยพกพาอาวุธมีดไปนั่งรอที่บริเวณที่เกิดเหตุก่อนเกิดเหตุเป็นเวลานาน จำเลยมีโอกาสคิดทบทวนล่วงหน้าก่อนจะกระทำความผิด แล้วจำเลยบุกรุกตรงเข้าไปใช้มีดฟันและแทงผู้ตายและผู้เสียหายในทันที โดยมิได้พูดคุยเกี่ยวกับการที่ผู้เสียหายนำไม้ของจำเลยไปสร้างบ้านหรือเรื่องที่ผู้เสียหายให้บุตรออกจากโรงเรียนทั้งหมด ตลอดถึงเรื่องที่จำเลยยอมหย่ากับผู้เสียหายแล้วผู้เสียหายยอมให้จำเลยอยู่ด้วยกันตามปกติ แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้วางแผนและตระเตรียมการที่จะฆ่าผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อนแล้ว จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิและหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่าร้าง และอายุความของคดีเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 เป็นการกำหนดให้สิทธิแก่บิดามารดากับบุตรสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันได้เท่านั้น ส่วนการดำเนินการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมีบทบัญญัติมาตรา 1565 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวแล้วยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาสามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้เองด้วย
บทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296
โจทก์จำเลยได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยตกลงให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ แต่มิได้ตกลงว่าโจทก์ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ฝ่ายเดียวจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจำเลย เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้นตามมาตรา 229 (3) แม้ขณะยื่นฟ้องนั้นบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12
บทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296
โจทก์จำเลยได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยตกลงให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ แต่มิได้ตกลงว่าโจทก์ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ฝ่ายเดียวจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจำเลย เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้นตามมาตรา 229 (3) แม้ขณะยื่นฟ้องนั้นบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าร้าง: บิดายังมีอำนาจ แม้มีประวัติอาชญากรรม การขอตั้งผู้ปกครองใหม่ไม่ชอบ
ผู้ร้องที่1และที่3เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราวซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585และ1586กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองแต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องก่อนที่ผู้ร้องที่1กับด. จดทะเบียนหย่าขาดกันอำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่1กับด. ตามมาตรา1566เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกันมาตรา1520วรรคหนึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่1และด. ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดแต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าผู้ร้องที่1กับด. เพียงตกลงกันให้ด. มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้นไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดอำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่1และด. ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสามและเมื่อด. ตายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1566(1)ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่าให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่1โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่าด. และพยายามฆ่าส. โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา1582บัญญัติไว้ผู้ร้องที่1ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585ขึ้นอีกได้เนื่องจากผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่1และที่3จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าร้าง: การแยกอยู่ของคู่สมรสและการขาดเจตนาทิ้งร้าง
โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2518 ต่อมาปี 2532 ภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ตกต่ำอาชีพของโจทก์ไม่ค่อยดี โจทก์ติดต่อขอทำงานในประเทศไทยจึงปรึกษากับจำเลยว่าจะกลับประเทศไทย แต่จำเลยเห็นว่าอาชีพพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกาดีไม่ยอมกลับ ในปี 2534โจทก์จึงกลับประเทศไทย โจทก์จึงเป็นฝ่ายแยกจากจำเลยแต่ฝ่ายเดียว ไม่ใช่จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าร้าง: การออกจากบ้านเนื่องจากขัดใจบิดาภริยา ไม่ถือเป็นการจงใจทิ้งร้าง
จำเลย (สามี) ออกจากบ้านโจทก์ (ภริยา) ไปเพราะมีเรื่องขัดใจกับบิดาโจทก์แล้วบิดาโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยกลับเข้าบ้านถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจทิ้งร้างโจทก์และไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ ยังไม่มีเหตุหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(3) ที่บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าร้าง: การไม่ช่วยเหลือดูแลบุตรหลังคลอด ไม่ถือเป็นการละทิ้งร้าง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยคลอดบุตรแล้วโจทก์ไม่อยู่ช่วยดูแลบุตรจำเลยจึงต้องพาบุตรไปอาศัยอยู่กับมารดาของจำเลยชั่วคราว แต่โจทก์กลับไม่ยอมให้จำเลยอยู่ด้วยโดยไปแจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ให้จำเลยและบุตรออกไปจากบ้านโจทก์ เมื่อจำเลยมาพบพูดจากับโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นสามี โจทก์ก็ไม่ยอมพูดด้วย จำเลยต้องอาศัยอยู่กับมารดาของจำเลยต่อมา ดังนี้ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าร้าง: การยินยอมให้แยกอยู่เพื่อหลบหนี้สิน ไม่ถือเป็นการละทิ้งร้าง
การที่จำเลย (ภริยา) หลบหนี้สินไปอยู่ที่อื่นโดยโจทก์ (สามี) ยินยอมทั้งจำเลยเป็นฝ่ายเลี้ยงดูบุตรตลอดมา และระหว่างนั้นจำเลยไปหาโจทก์ก็ถูกภริยาใหม่ของโจทก์ไล่กลับนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสงบข้อพิพาทหย่าร้างและการบังคับชำระหนี้ค่าเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วย สามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วย สามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)