พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1779/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน
เครื่องหมายการค้าตามที่ปรากฏบนตัวสินค้าของโจทก์และจำเลยทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน กล่าวคือ ส่วนกลางมีคำว่า "SUPER GLUE" ในกรอบสี่เหลี่ยม ส่วนล่างเป็นสีดำมีคำบรรยายเป็นตัวหนังสือภาษาอังกฤษสีขาวว่า " for WOOD - RUBBER - PLASTICS - METAL - PAPER & LEATHER Cyanoacrylate Adhesive NET. 3 g " และส่วนบนมีแถบสีดำ แม้คำว่า "SUPER GLUE" และคำบรรยายที่อยู่ในส่วนล่างทั้งหมดเป็นคำสามัญ ซึ่งในการขอจดทะเบียนโจทก์ได้แสดงปฏิเสธสิทธิว่า ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรคำว่า "SUPER GLUE" และคำบรรยายทั้งหมดก็ตาม แต่รูปลักษณะ ขนาด การจัดวาง ตำแหน่งและทิศทางของตัวอักษร ทั้งหมดดังกล่าว ตลอดจนการให้สีสันของตัวอักษรและสีพื้นเหมือนหรือคล้ายกันจนเกือบจะเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน คงแตกต่างกันแต่คำว่า "ALTECO" กับ "GIANT" ในแถบสีดำส่วนบน ซึ่งแม้จำเลยทั้งสองจะมีสิทธิใช้คำว่า "GIANT" เพราะเป็นคำสามัญก็ตาม แต่เนื่องจากตัวอักษรมีขนาดเล็ก จำนวนตัวอักษรก็ใกล้เคียงกันคือคำว่า "ALTECO" ประกอบด้วยตัวอักษร 6 ตัว ส่วนคำว่า "GIANT" ประกอบด้วยตัวอักษร 5 ตัว ต่างกันเพียง 1 ตัว และสีของตัวอักษรเป็นสีขาวจัดวางอยู่ในแถบสีดำส่วนบนทำนองเดียวกัน บุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศอาจหลงเข้าใจผิดไปได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน ส่อแสดงว่าเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะทำให้เหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับหลอดกาวมีขนาด รูปร่าง และอยู่ในแผงบรรจุภัณฑ์ลักษณะเช่นเดียวกัน ทั้งยังถูกใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ ดังนั้นย่อมถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6648/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า แม้มีสิทธิใช้เครื่องหมายเดิม แต่เจตนาทำให้หลงเชื่อถือเป็นเครื่องหมายผู้เสียหาย ถือเป็นความผิด
แม้จำเลยที่ 2 จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปรวงข้าวอยู่ในวงกลมสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องจักร กับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปรวงข้าวอยู่ในวงกลมและมีภาษาไทยคำว่า "ตรารวงข้าว" อยู่ใต้รูปสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และยังคงจดทะเบียนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าข้างต้นต่อไปตามมาตรา 117 ก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ารูปรวงข้าวในวงกลมและคำว่า "InterNationalGroup" กับสินค้าจำพวกเครื่องไฟฟ้าโดยไม่มีคำว่า "ตรารวงข้าว" กำกับ ทั้งยังเน้นคำว่า "National" ซึ่งไม่ใช่เครื่องหมายการค้าของตนให้ใหญ่เป็นพิเศษยิ่งกว่าคำอื่น ย่อมแสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองยังคงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตรารวงข้าวที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมายเดิมต่อไปหรือไม่จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมแต่อย่างใด เพราะข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเป็นคนละเรื่องกับการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "National" ของผู้เสียหาย ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จำเลยคงมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท กรณีหลงเชื่อคำหลอกลวง
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ แต่เนื่องจากจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลจึงหลงเชื่อคำหลอกลวงของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ต้องยื่นคำให้การแต่ต้องไปศาลทุกครั้งตามที่ศาลนัด โจทก์จะไม่ดำเนินการใด ๆ ต่อจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนผู้ซื้อหลงเชื่อ แม้สีและลีลาการเขียนต่างกัน แต่ชื่อเหมือนกัน ถือเป็นความผิดทางอาญา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและที่จำเลยทำขึ้นใช้คำว่า"KIKADA" เช่นเดียวกัน โดยแถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ผ้าพื้นสีกรมท่า ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง ส่วนที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนตัวอักษรเท่านั้นแต่ชื่อที่เรียกขานเป็นชื่ออย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำขึ้นจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้วอาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมได้ ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทก. จำกัดที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลางจำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารปลอมต้องมีเจตนาทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง การติดแผ่นกระดาษโฆษณาป้ายทะเบียนไม่ถือเป็นเอกสารปลอม
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งเขียนข้อความให้เหมือนกับแผ่นป้ายทะเบียนหมายเลข กรุงเทพมหานคร 9ง-9999 ที่ทางราชการได้ทำขึ้นแล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฏข้อความว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมการช่างผู้ถือสิทธิบัตรเลขที่ 1091 อยู่ด้วย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณาการจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างร้านผู้จัดทำจำหน่าย กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่า เป็นเอกสารที่แท้จริง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำเอกสารนั้นไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5837/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารโดยผู้ถูกกระทำยอมความด้วยความหลงเชื่อ ไม่เข้าข่ายความผิดอาญา
ผู้เสียหายยอมให้จำเลยซึ่งเป็นแพทย์แผนโบราณกระทำอนาจารโดยโง่เขลาเบาปัญญาหลงเชื่ออย่างงมงายว่าจำเลยทำการรักษาโรคให้ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการขู่เข็ญโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญจนผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ เมื่อจำเลยกระทำต่อผู้เสียหายซึ่งมีอายุเกินกว่า 13 ปี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารต่อผู้เยาว์โดยอาศัยความหลงเชื่อและภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
ผู้เสียหาย4คนมีอายุกว่า13ปีแต่ยังไม่บรรลุนิติภาวะส่วนผู้เสียหายอีก3คนมีอายุไม่เกิน13ปีผู้เสียหายไปพบจำเลยโดยจำเลยทำอุบายทำนายว่าผู้เสียหายดวงชะตาไม่ดีจะต้องให้จำเลยสะเดาะเคราะห์ให้เมื่อจำเลยใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดเข้าไปในทวารหนักของผู้เสียหายผู้เสียหายบ่นเจ็บจำเลยบอกให้อดทนที่จำเลยใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดเข้าไปในทวารหนักของผู้เสียหายได้นั้นก็โดยอาศัยความเบาปัญญาของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่หลงเชื่อว่ากรณีที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายเป็นการสะเดาะเคราะห์จึงไม่เป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนให้จำยอมให้จำเลยกระทำอนาจารการกระทำของจำเลยต่อผู้เสียหายที่มีอายุกว่า13ปีจึงไม่เป็นความผิดคงมีความผิดเฉพาะที่กระทำต่อผู้เสียหายที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกิน13ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา279วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลงชื่อในใบมอบอำนาจโดยไม่กรอกรายละเอียด ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ จำเลยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่สุจริต
จำเลยลงชื่อในใบมอบอำนาจมอบให้ ล.ไปดำเนินการแบ่งแยกที่พิพาทโดยมิได้กรอกข้อความ แม้ ล. ได้กรอกข้อความใบมอบอำนาจนั้นขายฝากที่พิพาทไว้กับโจทก์รับซื้อฝากโดยสุจริต การที่จำเลยลงชื่อในใบมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้บุคคลภายนอกหลงเชื่อ จำเลยจำต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับซื้อฝากโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821, 822
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากการลงชื่อในใบมอบอำนาจที่ยังมิได้กรอกข้อความ ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อและเกิดนิติกรรมสัญญา
จำเลยลงชื่อในใบมอบอำนาจมอบให้ ล. ไปดำเนินการแบ่งแยกที่พิพาทโดยมิได้กรอกข้อความ แม้ ล. ได้กรอกข้อความใบมอบอำนาจนั้นขายฝากที่พิพาทไว้กับโจทก์ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตการที่จำเลยลงชื่อในใบมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้บุคคลภายนอกหลงเชื่อจำเลยจำต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับซื้อฝากโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821,822
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างเอกสารสัญญาซื้อขาย กรณีอ้างหลงเชื่อคำกล่าวอ้างเพื่อความสะดวกในการแบ่งแยกโฉนด
จำเลยต่อสู้ว่า การที่ยอมลงชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินเพราะหลงเชื่อคำของโจทก์ที่อ้างว่าเพื่อสะดวกแก่การแบ่งแยกซึ่งเท่ากับเป็นการอ้างว่าหนี้ตามสัญญาไม่สมบูรณ์ จำเลยมีสิทธิที่จะนำสืบหักล้างเอกสารนั้นได้