พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาไม่เป็นเอกฉันท์ในการพิพากษาคดีอาญา ต้องปฏิบัติตามหลักเสียงข้างน้อยคุ้มครองจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นมีองค์คณะ 2 คน พิพากษาคดีโดยถือเอาความเห็นของผู้พิพากษาคนหนึ่งว่า จำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลย ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากเป็นคำพิพากษา และถือเอาความเห็นของผู้พิพากษาอีกคนว่าจำเลยไม่มีความผิดและควรยกฟ้องซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่าเป็นความเห็นแย้ง เป็นการขัดต่อบทบัญญัติ แห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 184 กรณีจึงต้องพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดจากคดียาเสพติด และหลักการเพิ่มลดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เงินสดจำนวน 2,800 บาท ของกลางที่โจทก์ขอให้ริบ ไม่อยู่ในความหมายเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ศาลจึงไม่อาจริบได้
แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าธนบัตรของกลางดังกล่าว เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้โดยยังมิได้คืนแก่เจ้าของ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะพิจารณาสั่งคืนธนบัตรของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี แล้วเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี เมื่อลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 11 ปี 3 เดือน นั้น เป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะมีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกมากขึ้น ซึ่งที่ถูกจะต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นรายกระทงก่อน แล้วจึงลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทง หลังจากนั้นจึงรวมโทษ คือเมื่อเพิ่มโทษจำเลยกระทงละกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 แล้ว เป็นจำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน เมื่อลดโทษให้จำเลยกระทงละหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุกกระทงละ 5 ปี 7 เดือน 15 วัน รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี 15 เดือน ทั้งนี้ โดยไม่คำนวณโทษจำคุกส่วนที่เป็นเดือนให้เป็นปี เพราะเมื่อนำมาคำนวณระยะเวลาจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสองแล้ว จะเป็นผลร้ายแก่จำเลย
แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าธนบัตรของกลางดังกล่าว เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้โดยยังมิได้คืนแก่เจ้าของ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะพิจารณาสั่งคืนธนบัตรของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี แล้วเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี เมื่อลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 11 ปี 3 เดือน นั้น เป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะมีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกมากขึ้น ซึ่งที่ถูกจะต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นรายกระทงก่อน แล้วจึงลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทง หลังจากนั้นจึงรวมโทษ คือเมื่อเพิ่มโทษจำเลยกระทงละกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 แล้ว เป็นจำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน เมื่อลดโทษให้จำเลยกระทงละหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุกกระทงละ 5 ปี 7 เดือน 15 วัน รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี 15 เดือน ทั้งนี้ โดยไม่คำนวณโทษจำคุกส่วนที่เป็นเดือนให้เป็นปี เพราะเมื่อนำมาคำนวณระยะเวลาจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสองแล้ว จะเป็นผลร้ายแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5465/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาถูกยกฟ้องทั้งชั้นต้นและอุทธรณ์ ทำให้ฎีกาขัดต่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกับพวกฆ่า ล. และร่วมกับพวกทำร้ายร่างกาย ช. ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองข้อหาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดในข้อหาร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายเพียงข้อหาเดียว ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา โจทก์จึงฎีกาในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญา: เลือกใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด หรือกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ โดยยึดตามหลักกฎหมายเดิม
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในระดับที่ใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดก็ได้ หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดก็ได้ เช่นนี้ควรปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายในขณะกระทำความผิด(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: การปลูกกัญชาและการครอบครอง ยึดหลักกรรมเดียว
จำเลยปลูกกัญชาและมีต้นกัญชาที่ปลูกนั้นไว้ในความครอบครองไม่ปรากฏว่านอกจากครอบครองไว้เพราะเป็นผลเนื่องจากการปลูกดังกล่าวแล้ว จำเลยได้กระทำการใด ๆเป็นกิจลักษณะที่แสดงการมีกัญชาไว้ในความครอบครองขึ้นอีกเลย คงครอบครองอยู่ในฐานะเป็นผลที่เกิดจากการปลูกเท่านั้นเอง การกระทำของจำเลยจึงมีเพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1603/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของบุคคลที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ
บทกฎหมายใดก็ตามที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นที่เขามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด และทรัพย์นั้นไม่ใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิดแล้ว ย่อมขัดกับการลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ในระหว่างใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลตีความมาแล้วว่า บทบัญญัติเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยใช้บังคับมิได้ (อ้างฎีกาที่ 225/2506)
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น ย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น ย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1603/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของบุคคลที่ไม่มีส่วนรู้เห็นในความผิด: ขัดต่อหลักกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
บทกฎหมายใดก็ตาม ที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นที่เขามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด และทรัพย์นั้นไม่ใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิดแล้ว ย่อมขัดกับการลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาในระหว่างใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลตีความมาแล้วว่า บทบัญญัติเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยใช้บังคับมิได้ (อ้างฎีกาที่ 225/2506)
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้นย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้นย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ เพื่อให้การฟ้องเป็นไปตามหลักกฎหมาย
การฟ้องคดีอาญานั้น โจทก์จะต้องระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
คำฟ้องของโจทก์บรรยายแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ให้ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้กับจำเลยเพื่อเอาไปลงแชร์และให้คำรับรองอันเป็นเท็จว่าถ้าส่งเงินครบแล้วจำเลยจะคืนเงินพร้อมทั้งผลประโยชน์ให้ จำเลยทั้งสองได้เก็บเงินจากผู้เสียหายไปจวนครบจำนวนแล้วก็ปฏิเสธไม่ยอมรับไม่ยอมคืนเงินโดยตามคำฟ้องมิกล่าวว่าความจริงเป็นอย่างไร เพื่อที่จะแสดงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงผู้เสียหายตรงไหน ฉะนั้น คำฟ้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องที่ระบุความพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ดังนี้ ศาลก็ต้องยกฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ให้ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้กับจำเลยเพื่อเอาไปลงแชร์และให้คำรับรองอันเป็นเท็จว่าถ้าส่งเงินครบแล้วจำเลยจะคืนเงินพร้อมทั้งผลประโยชน์ให้ จำเลยทั้งสองได้เก็บเงินจากผู้เสียหายไปจวนครบจำนวนแล้วก็ปฏิเสธไม่ยอมรับไม่ยอมคืนเงินโดยตามคำฟ้องมิกล่าวว่าความจริงเป็นอย่างไร เพื่อที่จะแสดงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงผู้เสียหายตรงไหน ฉะนั้น คำฟ้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องที่ระบุความพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ดังนี้ ศาลก็ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลาในฟ้องอาญา: ความชัดเจนของเวลาที่โจทก์ระบุเป็นไปตามหลักกฎหมายหรือไม่
ฟ้องที่กล่าวว่า 'เมื่อวันใดไม่ปรากฏ ระหว่างเดือนกรกฎาคมกับสิงหาคม 2490 เวลากลางวันจำเลยได้กระทำผิด ฯลฯ' ดังนี้ถือว่า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหลายกระทงให้รวมกระทงลงโทษ จำคุก 3 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมีผิดกระทงเดียวลงโทษจำคุก 2 ปี เป็นแก้ไขมาก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหลายกระทงให้รวมกระทงลงโทษ จำคุก 3 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมีผิดกระทงเดียวลงโทษจำคุก 2 ปี เป็นแก้ไขมาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาคดีที่ยังไม่มีความผิดเกิดขึ้น ศาลต้องยกฟ้องตามหลักกฎหมาย
ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดในวันซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง เท่ากับเป็นการฟ้องล่วงหน้า อันยังไม่มีความผิดเกิดขึ้นศาลจำต้องยกฟ้องโจทก์ ทั้งกรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะให้ยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161
การขอแก้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา163 นั้น โจทก์จะต้องขอแก้ หรือเพิ่มเติมฟ้องได้ก็แต่ก่อนมีคำพิพากษา
การขอแก้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา163 นั้น โจทก์จะต้องขอแก้ หรือเพิ่มเติมฟ้องได้ก็แต่ก่อนมีคำพิพากษา