คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักฐานขัดแย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. หลักฐานขัดแย้ง ฟังไม่ได้ว่าขาดคุณสมบัติ
++ เรื่อง ขอให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ตามหลักฐานการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบ ส.ว.11 ปรากฏว่าผู้ร้องได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงรับสมัครผู้คัดค้านให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่าในวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน2543 นั้น ผู้คัดค้านไม่อยู่ในราชอาณาจักร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนทำการสอบสวนได้ความว่า มีหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้คัดค้านในระหว่างที่มีการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งให้การต่อกรรมการสอบสวนว่า ในวันลงคะแนนดังกล่าวพยานอยู่ที่หน่วยเลือกตั้งตลอดเวลาไม่พบผู้คัดค้านไปที่หน่วยเลือกตั้ง ส่วนบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งปรากฏว่ามีการจ่ายบัตรให้กับผู้คัดค้านและมีลายมือชื่อของผู้คัดค้านในบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
++ เมื่อผู้ร้องคงมีแต่หลักฐานตามเอกสารหมาย ร.3และ ร.4 แสดงว่าผู้คัดค้านได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรและรับกันว่าการเข้าออกนอกราชอาณาจักรตามระเบียบพิธีการของการตรวจคนเข้าเมือง ผู้เดินทางเข้าและออกนอกราชอาณาจักรจะต้องผ่านพิธีการประทับตราจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนทางปฏิบัตินั้น จะต้องมีการประทับตราทุกครั้งหรือไม่ ผู้ร้องไม่มีพยานยืนยันได้
++ ส่วนผู้คัดค้านก็มีกรรมการในหน่วยเดียวกัน ยืนยันว่าเห็นผู้คัดค้านไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 จึงเป็นการยันกันของพยานบุคคลแต่ละฝ่ายซึ่งเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยเดียวกัน ฟังยุติไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 ประกอบกับพยานหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 29 เมษายน2543 ตามแบบ ส.ว.11 อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องระบุชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543ซึ่งขัดแย้งกับเอกสารหมาย ร.2 ซึ่งมีข้อความระบุโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 และผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า ข้อความที่แสดงว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำโดยทุจริต พยานหลักฐานผู้ร้องจึงฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านจึงไม่ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าและอาวุธปืน: หลักฐานขัดแย้งฟังได้ว่าปืนลั่นระหว่างแย่งกัน ไม่ใช่จำเลยยิง
ผู้เสียหายเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่ากระสุนปืนลั่นระหว่างที่ผู้เสียหายกับจำเลยแย่งอาวุธปืนกันและเหตุที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายก็เพราะเกรงว่าจะถูกดำเนินคดีด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ คำเบิกความของจำเลยที่ว่าอาวุธปืนเป็นของผู้เสียหายและระหว่าง ที่จำเลยเข้าแย่งปืนจากผู้เสียหายลั่นขึ้น 1 นัดปรากฏว่า อาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงาน ประทับไว้ หากอาวุธปืนดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายก็มีเหตุที่จะต้องกลัวว่าจะถูกดำเนินคดีดังที่เบิกความคำเบิกความของ จำเลยจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กระสุนปืน ลั่นระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายแย่งอาวุธปืนกัน ไม่ใช่กระสุนปืนลั่น เนื่องจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย จึงลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายไม่ได้ การที่จำเลยเอาอาวุธปืนของผู้เสียหายที่นำมาให้ จำเลยดูมาพกไว้ที่เอวเป็นเพียงการพกเล่น ไม่ได้มีเจตนา ครอบครองอาวุธปืนดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ความผิดทั้งสองข้อหาจะต้องห้ามฎีกา เมื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษา ยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิเคราะห์หลักฐานขัดแย้งในคดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ศาลต้องสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อหาข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
กรณีที่ศาลชั้นต้นสืบตัวโจทก์หนึ่งปากแล้ว งดสืบพยานต่อไป พิพากษายกฟ้องโจทก์เสีย เมื่อปรากฏว่าข้อที่สืบยังไม่เป็นหลักฐานที่แน่นอนพอจะพิพากษาชี้ขาดคดีได้โดยแน่ชัด ศาลสูงก็ต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่