พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานการกู้ยืมที่สูญหาย และการอนุญาตให้สืบพยานบุคคล
การนำสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้นโจทก์นำสืบด้วยพยานบุคคลได้ เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ส่วนการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่อง ถือว่าได้อนุญาตโดยปริยาย การสืบพยานของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานกู้ยืมสูญหาย โจทก์พิสูจน์ได้จากการที่จำเลยยืมหลักฐานไปและไม่คืน ถือใช้แทนหลักฐานได้
จำเลยยืมเงินโจทก์ไปโดยทำหลักฐานการยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยให้โจทก์ยึดถือไว้ แต่เมื่อโจทก์มาฟ้องให้จำเลยใช้คืนเงินยืมนั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมมาแสดงต่อศาล แต่โจทก์ก็นำสืบได้ว่าจำเลยได้ยืมหลักฐานดังกล่าวไปแล้วไม่ส่งคืน ดังนี้ ย่อมรับฟังแทนหนังสือกู้ยืมดังกล่าวนั้นได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยืมเงินโจทก์ไปโดยทำหนังสือยืมให้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยให้การว่าไม่เคยยืมเงินโจทก์และไม่เคยทำหลักฐานการยืมเงินให้โจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งหนี้ ดังนี้ ศาลจะวินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องเข้าหุ้นส่วนกันประกอบการค้าไม่ใช่กู้ยืมนั้น หาชอบไม่เพราะไม่มีประเด็นในเรื่องนี้.
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยืมเงินโจทก์ไปโดยทำหนังสือยืมให้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยให้การว่าไม่เคยยืมเงินโจทก์และไม่เคยทำหลักฐานการยืมเงินให้โจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งหนี้ ดังนี้ ศาลจะวินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องเข้าหุ้นส่วนกันประกอบการค้าไม่ใช่กู้ยืมนั้น หาชอบไม่เพราะไม่มีประเด็นในเรื่องนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาเมื่อหลักฐานสำคัญสูญหาย ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้สืบพยานใหม่เพื่อวินิจฉัย
จำเลยหลบหนีเรือนจำไปโดยยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อมากว่า 10 ปี แล้ว จึงจับจำเลยได้ ปรากฎว่าสำนวนทำลายเสียหมด คงเหลือแต่ฟ้องและคำพิพากษาเท่านั้น ไม่อาจวินิ่จฉัยข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นตั้นสืบพะยานโจทก์จำเลยใหม่เพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยไปก็ได้