คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาและอำนาจฟ้องคดีหลักทรัพย์: การกระทำผิดสัญญาและขาดเจตนาทุจริต
ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่กำหนดให้บริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ที่ผู้กู้ยืมหรือลูกค้าวางเป็นประกันไว้ในวันทำการถัดจากวันที่อัตราส่วนระหว่างมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันรวมกับทรัพย์สินที่วางเป็นประกันหักด้วยหนี้ต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 15 ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกโดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นกรรมการไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อประกาศนั้นย่อมเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ทันทีนับแต่วันที่จำเลยทั้งหกฝ่าฝืน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353, 354 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ทราบเรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ไม่ได้ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
อัตราส่วนระหว่างมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันรวมกับทรัพย์สินที่วางเป็นประกันหักด้วยหนี้ต่อมูลค่าหลักทรัพย์ของโจทก์ที่วางเป็นประกันลดลงเท่ากับร้อยละ 7.0511 ต่ำกว่าร้อยละ 15 ในวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกจะต้องดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของโจกท์ผู้เป็นลูกค้าในวันทำการถัดจากวันดังกล่าวตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ในวันถัดไป โดยจำเลยที่ 1 มีหนังสือฉบับลงวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แจ้งโจทก์ให้ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม แต่โจทก์มิได้วางประกันเพิ่มเติม ทั้งมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ขายหลักทรัพย์ และในระหว่างนั้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้บริษัทสมาชิกใช้ดุลพินิจผ่อนปรนการบังคับขายหลักทรัพย์ของลูกค้าได้ ต่อมาวันที่ 11 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 ได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ไปโดยโจทก์ไม่ได้สั่งให้ขาย โจทก์จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2540 แสดงว่าโจทก์สมัครใจให้จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของโจทก์ในวันถัดจากวันที่อัตราส่วนดังกล่าวลดลงต่ำกว่าร้อยละ 15 ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 กรรมการได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ไป แม้ในขณะที่ขายหลักทรัพย์จะมีอัตราส่วนดังกล่าวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 20 ก็เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าการขายหลักทรัพย์ของโจทก์เป็นผลมาจากผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระเงินหรือหาหลักประกันมาวางเพิ่มเติมตามสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยไม่ได้ความว่าการขายหลักทรัพย์ของโจทก์นั้น จำเลยทั้งหกได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือได้กระทำการโดยทุจริต จึงมิใช่กรณีการเอาไปเสีย ทำให้เสียหายทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ อันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ดูแลหรือที่อยู่ในความครอบครองของนิติบุคคลนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 309 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, การไม่บังคับขายหลักทรัพย์, และความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการ โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 โดยทำสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ต่อมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ที่ลูกค้าวางเป็นประกัน เมื่อมีอัตราส่วนระหว่างมูลค่าหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันรวมกับทรัพย์สินที่วางเป็นประกันหักด้วยหนี้ต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 15 ในวันทำการถัดจากวันที่มูลค่าลดลงในอัตราดังกล่าว ประกาศนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกและผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์หรือลูกค้าโดยรวม การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 ว่าหลักทรัพย์ของโจทก์ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2539 มีอัตราส่วนลดลงเท่ากับร้อยละ 7.0511 ให้โจทก์ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม โดยไม่บังคับขายหลักทรัพย์ เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดังกล่าว ย่อมก่อความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ทันทีนับแต่วันที่จำเลยทั้งหกฝ่าฝืน เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353, 354 เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าวทราบเรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ไม่ได้ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับข้อหานี้จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม แต่โจทก์มิได้วางประกันเพิ่มเติม ทั้งมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลงในสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์สมัครใจให้จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของโจทก์ในวันถัดจากวันที่อัตราส่วนดังกล่าวลดลงต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ไป โดยขณะขายหลักทรัพย์จะมีอัตราส่วนดังกล่าวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 20 ก็เป็นผลมาจากการผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระเงินหรือหาหลักประกันมาวางเพิ่มเติมตามสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยทั้งหกได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือได้กระทำการโดยทุจริต จึงมิใช่การเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของโจทก์อันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ดูแลหรือที่อยู่ในความครอบครองของนิติบุคคลนั้น ตามมาตรา 309 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจในการอุทธรณ์คำสั่งศาลจำกัดเฉพาะการถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลเท่านั้น
ข. เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก. ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก. ได้มอบให้ ข. นำที่ดินตาม น.ส.3ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุดและให้ ข. ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก. หาได้มอบอำนาจให้ ข. อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับก. ผู้ประกันแทน ก. แต่อย่างใดไม่ ข. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7028/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันการบังคับคดี: ศาลบังคับคดีจากหลักทรัพย์ประกันได้ทันทีเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้
ผู้ร้องนำที่ดินมาวางเป็นประกันต่อศาลเพื่อให้จำเลยได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกา โดยผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลว่าถ้าจำเลยแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนหนี้เท่าใด ผู้ร้องยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องได้นำมาวางไว้เป็นประกันทันที เป็นการทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลด้วยการนำที่ดินมาวางเป็นประกันต่อศาลทั้งนี้เพื่อให้ศาลทุเลาการบังคับคดีในระหว่างฎีกา เมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ศาลย่อมออกคำบังคับให้ผู้ร้องได้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องผู้ร้องใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของโจทก์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 11เรื่องค้ำประกัน ดังนั้น จึงไม่อาจนำมาตรา 689 และ 690 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นต้องตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องให้สัญญาต่อศาลว่า ผู้ร้องยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินที่ผู้ร้องวางเป็นประกันไว้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ออกคำบังคับแก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5094/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนขายหลักทรัพย์: ความรับผิดของตัวการต่อการชดใช้หุ้นที่ถูกลัก
สัญญานายหน้าตัวแทนระหว่างจำเลยกับโจทก์กำหนดให้โจทก์ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลย โจทก์จึงเป็นตัวแทนของจำเลยมีอำนาจขายหุ้นแทนจำเลยได้โดยชอบและมีสิทธิได้รับค่านายหน้าและค่าใช้จ่ายในการขายได้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา เมื่อหุ้นที่โจทก์ขายแทนจำเลยไปนั้น เป็นหุ้นที่จำเลยร่วมที่ 2 ลักมาและได้มีการอายัดหุ้นส่วนหนึ่งไว้แล้วทำให้มีการโอนหุ้นให้แก่ผู้ซื้อไม่ได้ โจทก์ในฐานะผู้ขายจะต้องรับผิดชอบใช้หุ้นอื่นแทนให้แก่ผู้ซื้อตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อโจทก์ได้ชดใช้หุ้นอื่นแทนแก่ผู้ซื้อ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำที่จำเป็นและสมควรต้องกระทำในขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน โจทก์ในฐานะตัวแทนจึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยในฐานะตัวการชดใช้หุ้นหรือเงินค่าหุ้นที่โจทก์ออกแทนจำเลยไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ให้สินเชื่อแม้ลูกหนี้มีหนี้เดิม เหตุผลหลักทรัพย์มีมูลค่าเพียงพอ ไม่ถือว่ารู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระเงินคืนตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลูกหนี้ชำระเงินตามฟ้องให้เจ้าหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระและเจ้าหนี้มิได้ดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ กลับให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีไปอีกแต่เมื่อปรากฎว่าหนี้ดังกล่าวมีที่ดินซึ่งมีมูลค่ามากกว่าจำนวนหนี้จำนองเป็นประกัน และไม่ปรากฎว่าเจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ มากมายไม่มีทางชำระหนี้ ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่า หนี้รายดังกล่าวเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ทำขึ้นเมื่อได้รู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำหนี้ไปขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912-3913/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งราคาซื้อขายหลักทรัพย์เท็จ แม้กฎหมายแก้ไข แต่ความผิดยังคงมีอยู่ หากองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทุกคนร่วมกันซื้อหุ้นจำนวน 4,500 หุ้น ให้โจทก์ในราคาเพียงหุ้นละ 265 บาท แต่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าซื้อในราคาหุ้นละ 423 บาท คิดเงินจากโจทก์เกินไปถึง 711,000 บาท กับดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่ง โดยจำเลยมีเจตนาทุจริต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 มาตรา 21 และมีโทษตามมาตรา 42 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 ยกเลิกความในมาตรา 21 และ 42 เดิมก็ตาม แต่ในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่แก้ไขใหม่นี้ก็ยังคงบัญญัติลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และหรือการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาซื้อหรือขายของหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตซึ่งฟ้องของโจทก์ดังกล่าวก็ได้บรรยายมาด้วยว่า จำเลยทุกคนร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับราคาซื้อหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาต อันเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 42 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ว พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 จึงมิได้ยกเลิกความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นตามคำสั่ง แม้ไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์ ก็มีผลผูกพันตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องตามคำสั่งซื้อของจำเลยและโจทก์ออกเงินค่าหุ้นแทนจำเลยไป แม้จะไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์มาเป็นพยาน จำเลยก็มีหน้าที่ตามคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดซื้อขายหลักทรัพย์ที่จะต้องชำระเงินคืนให้โจทก์ตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นตามคำสั่ง: หน้าที่ชำระหนี้แม้ไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์
โจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องตามคำสั่งซื้อของจำเลย และโจทก์ออกเงินค่าหุ้นแทนจำเลยไป แม้จะไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์มาเป็นพยาน จำเลยก็มีหน้าที่ตามคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่จะต้องชำระเงินคืนให้โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายหุ้นโดยไม่ได้รับใบหุ้น การซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายพิเศษ และดอกเบี้ยเกินอัตรา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยต้องรับผิดชำระค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์หรือไม่เพียงใด เป็นการกำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ประเด็นที่กำหนดไว้จะมีความหมายอย่างไร ต้องเป็นไปตามคำฟ้องและคำให้การโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าหุ้นที่ซื้อแทนจำเลยพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า โจทก์ยังมิได้จัดให้จำเลยได้รับใบหุ้น ไม่ทราบว่าโจทก์จัดการซื้อหุ้นให้จำเลยจริงหรือไม่หรือหากซื้อหุ้นให้จำเลยได้ การซื้อขายหุ้นซึ่งมิได้ออกใบหุ้นที่ระบุชื่อผู้ถือเป็นโมฆะจำเลยไม่ต้องรับผิดค่าหุ้นคดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์นำหุ้นของจำเลยไปขายกับรับเงินปันผลไว้แทนจำเลยหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อซื้อมาแล้วถ้าราคาหุ้นสูงขึ้นก็จะสั่งขายทันที โดยหุ้นที่ซื้อมาจะให้โจทก์เก็บรักษาไว้เพื่อความสะดวกในการสั่งขาย ดังนี้ หุ้นที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็นหลักทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะ และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของจำเลยเป็นการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อผู้ซื้อ การซื้อขายหุ้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129.
of 3