พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญา, หลักประกันสัญญา, การชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และอายุความฟ้องคดี
แม้ตามสัญญาข้อ 19 คู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์ดำเนินการปรับเป็น รายวัน วันละ 1,939.50 บาท ก็ตาม แต่เงินค่าปรับ ในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้าดังกล่าวเป็น เบี้ยปรับอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนด ไว้ล่วงหน้าเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ศาลจึงมี อำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคารได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3 ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญาซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ได้ จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้างจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้าง ให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำ สัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียน หลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้ง ให้จำเลยทั้งสองทราบแล้วแต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่ เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าว ครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้าง ขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการ หาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้ มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วันซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่ง ก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้อง ก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัทพ. ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณี ถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อม มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้าง ทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น จากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจาก จำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนด อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อ ปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2537 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักประกันสัญญาค้ำประกัน: การบังคับชำระหนี้จากหลักประกันต้องสอดคล้องกับหนี้ของลูกหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 222, 368, 377, 378, 391
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดกับโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ต้องซื้อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่าย จำเลยที่ 2เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์สำหรับค่าผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดในวงเงิน 478,500 บาท และค้ำประกันสำหรับขวดเปล่าขนาด 20 ลิตร ในวงเงิน180,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหายขาดผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดตามสัญญา ซึ่งในแต่ละเดือนหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ควรได้รับผลกำไรจากน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 950 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน150,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 0.42 บาท เป็นเงินจำนวน 63,000 บาท ส่วนน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 20 ลิตร จำนวน 15,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 1.15 บาทเป็นเงินจำนวน 17,250 บาท รวมเป็นผลกำไรเดือนละ 80,250 บาท เมื่อตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวด กำหนดให้จำเลยที่ 1 รับน้ำดื่มบรรจุขวดของโจทก์ไปจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งปรากฏว่าในเดือนเมษายน 2535 จำเลยที่ 1 ก็เริ่มผิดสัญญา โดยรับน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้และหลังจากนั้นก็ผิดสัญญาตลอดมา โจทก์ก็มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังคงไม่ปฏิบัติตามสัญญาเมื่อผลจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่นนี้ย่อมทำให้โจทก์ขาดผลกำไรและหากปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไรก็ยิ่งขาดประโยชน์มากขึ้น หากโจทก์รีบบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 และจัดหาวิธีการจำหน่ายทางอื่นแล้วก็น่าจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาความเสียหายดังกล่าวได้ แต่โจทก์กลับปล่อยเวลาล่วงเลยต่อไป จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 10 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา แต่ส่งหนังสือฉบับนี้ให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2535 ถึงโจทก์ แจ้งถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้จำเลยที่ 1ขาดทุนและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ หากโจทก์จะเลิกสัญญาก็ขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ยังปล่อยเวลาเนิ่นนานออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีการปิดประกาศแจ้งหนังสือบอกเลิกสัญญาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ทราบ พฤติการณ์ที่โจทก์ปล่อยให้ความเสียหายพอกพูนเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลายาวนานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรจะกระทำได้ จึงไม่สมควรได้รับค่าเสียหายดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงวันที่มีผลเป็นการเลิกสัญญาตามที่โจทก์เรียกร้อง
ตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดที่พิพาทระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้นำหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2จำนวน 2 ฉบับ จำนวนเงินรวม 658,500 บาท มอบไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา และในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาหรือเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร ส่วนหนังสือค้ำประกันที่ำจำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความระบุว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้วจำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนหลักประกันตามข้อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่คู่สัญญามีความมุ่งหมายให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำที่อาจริบได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 377และ 378 และการที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 1ต้องวางหลักประกันซึ่งกำหนดได้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนเนื่องจากจำเลยที่ 1มีหนี้ที่ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยต้องชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดแก่โจทก์ และหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็ต้องชำระค่าเสียหายซึ่งมีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้ในสัญญาด้วยเช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีหลักประกันเพื่อความมั่นใจในการบังคับชำระหนี้เงินจากจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1ไม่ชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดหรือค่าเสียหายตามสัญญาได้โดยง่าย โดยสามารถบังคับจากหลักประกันนั้นได้ การจะพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากหลักประกันตามสัญญาได้เพียงใด จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่เป็นข้อสำคัญเสียก่อน หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์แล้ว จึงพิจารณาต่อไปถึงการบังคับชำระหนี้จากหลักประกัน กรณีที่สัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดและหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2ระบุให้โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันเท่านั้น หาใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่เพียงใดอันทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เกินไปกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ เมื่อหนี้ตามฟ้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียง 220,735 บาท กับดอกเบี้ยมีเพียงใด จำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามความรับผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเพียงเท่านั้น
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดกับโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ต้องซื้อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่าย จำเลยที่ 2เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์สำหรับค่าผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดในวงเงิน 478,500 บาท และค้ำประกันสำหรับขวดเปล่าขนาด 20 ลิตร ในวงเงิน180,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหายขาดผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดตามสัญญา ซึ่งในแต่ละเดือนหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ควรได้รับผลกำไรจากน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 950 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน150,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 0.42 บาท เป็นเงินจำนวน 63,000 บาท ส่วนน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 20 ลิตร จำนวน 15,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 1.15 บาทเป็นเงินจำนวน 17,250 บาท รวมเป็นผลกำไรเดือนละ 80,250 บาท เมื่อตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวด กำหนดให้จำเลยที่ 1 รับน้ำดื่มบรรจุขวดของโจทก์ไปจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งปรากฏว่าในเดือนเมษายน 2535 จำเลยที่ 1 ก็เริ่มผิดสัญญา โดยรับน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้และหลังจากนั้นก็ผิดสัญญาตลอดมา โจทก์ก็มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังคงไม่ปฏิบัติตามสัญญาเมื่อผลจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่นนี้ย่อมทำให้โจทก์ขาดผลกำไรและหากปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไรก็ยิ่งขาดประโยชน์มากขึ้น หากโจทก์รีบบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 และจัดหาวิธีการจำหน่ายทางอื่นแล้วก็น่าจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาความเสียหายดังกล่าวได้ แต่โจทก์กลับปล่อยเวลาล่วงเลยต่อไป จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 10 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา แต่ส่งหนังสือฉบับนี้ให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2535 ถึงโจทก์ แจ้งถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้จำเลยที่ 1ขาดทุนและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ หากโจทก์จะเลิกสัญญาก็ขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ยังปล่อยเวลาเนิ่นนานออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีการปิดประกาศแจ้งหนังสือบอกเลิกสัญญาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ทราบ พฤติการณ์ที่โจทก์ปล่อยให้ความเสียหายพอกพูนเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลายาวนานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรจะกระทำได้ จึงไม่สมควรได้รับค่าเสียหายดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงวันที่มีผลเป็นการเลิกสัญญาตามที่โจทก์เรียกร้อง
ตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดที่พิพาทระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้นำหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2จำนวน 2 ฉบับ จำนวนเงินรวม 658,500 บาท มอบไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา และในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาหรือเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร ส่วนหนังสือค้ำประกันที่ำจำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความระบุว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้วจำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนหลักประกันตามข้อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่คู่สัญญามีความมุ่งหมายให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำที่อาจริบได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 377และ 378 และการที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 1ต้องวางหลักประกันซึ่งกำหนดได้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนเนื่องจากจำเลยที่ 1มีหนี้ที่ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยต้องชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดแก่โจทก์ และหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็ต้องชำระค่าเสียหายซึ่งมีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้ในสัญญาด้วยเช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีหลักประกันเพื่อความมั่นใจในการบังคับชำระหนี้เงินจากจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1ไม่ชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดหรือค่าเสียหายตามสัญญาได้โดยง่าย โดยสามารถบังคับจากหลักประกันนั้นได้ การจะพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากหลักประกันตามสัญญาได้เพียงใด จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่เป็นข้อสำคัญเสียก่อน หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์แล้ว จึงพิจารณาต่อไปถึงการบังคับชำระหนี้จากหลักประกัน กรณีที่สัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดและหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2ระบุให้โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันเท่านั้น หาใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่เพียงใดอันทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เกินไปกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ เมื่อหนี้ตามฟ้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียง 220,735 บาท กับดอกเบี้ยมีเพียงใด จำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามความรับผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเพียงเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักประกันสัญญาซื้อขาย: การบังคับชำระหนี้จากหลักประกันต้องพิจารณาหนี้สินของลูกหนี้ก่อน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดกับโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน2535 เป็นต้นไป แต่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหาย ขาดผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำดื่มดังกล่าว แต่ที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว คิดตามระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2535 ถึงวันเลิกสัญญาวันที่ 15 มกราคม 2536 รวม260 วัน ปรากฏว่าในเดือนเมษายน 2535 จำเลยที่ 1 ก็เริ่มผิดสัญญา โดยรับน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้และหลังจากนั้นก็ผิดสัญญาตลอดมาโจทก์ก็มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังคงไม่ปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้เวลาผ่านไปนานเท่าไรโจทก์ก็ยิ่งขาดประโยชน์มากขึ้น หากโจทก์รีบบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 และจัดหาวิธีการจำหน่ายทางอื่นแล้วก็น่าจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาความเสียหายดังกล่าวได้ แต่โจทก์กลับปล่อยเวลาล่วงเลยต่อไป และต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2535 ถึงโจทก์ แจ้งถึงปัญหาต่าง ๆที่ทำให้จำเลยที่ 1 ขาดทุนและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ยังปล่อยเวลาเนิ่นนานออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีการปิดประกาศแจ้งหนังสือบอกเลิกสัญญาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ทราบ พฤติการณ์ที่โจทก์ปล่อยให้ความเสียหายพอกพูนเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลายาวนานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรจะกระทำได้ จึงไม่สมควรได้รับค่าเสียหายดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานถึง 260 วัน ตามที่โจทก์เรียกร้อง ตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดที่พิพาทระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้นำหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2จำนวน 2 ฉบับ จำนวนเงินรวม 658,500 บาท มอบไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา และในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาหรือเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร ส่วนหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความระบุว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้วจำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนหลักประกันตามข้อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่คู่สัญญามีความมุ่งหมายให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำที่อาจริบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 และ 378 และการที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องวางหลักประกันซึ่งกำหนดได้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนเนื่องจากจำเลยที่ 1 มีหนี้ที่ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยต้องชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดแก่โจทก์ และหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็ต้องชำระค่าเสียหายซึ่งมีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้ในสัญญาด้วยเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีหลักประกันเพื่อความมั่นใจในการบังคับชำระหนี้เงินจากจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1ไม่ชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดหรือค่าเสียหายตามสัญญาได้โดยง่าย โดยสามารถบังคับจากหลักประกันนั้นได้ การจะพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากหลักประกันตามสัญญาได้เพียงใด จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่เป็นข้อสำคัญเสียก่อน หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์แล้ว จึงพิจารณาต่อไปถึงการบังคับชำระหนี้จากหลักประกัน กรณีที่สัญญา การเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดและหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2ระบุให้โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันเท่านั้น หาใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่เพียงใดอันทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เกินไปกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ เมื่อศาลได้วินิจฉัยมาแล้วว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียง220,735 บาท กับดอกเบี้ยจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามความรับผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การ, บอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, เบี้ยปรับ, หลักประกันสัญญา: สิทธิและขอบเขตการบังคับใช้
จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้ทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลโดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเองเมื่อวันที่31 กรกฎาคม 2535 ซึ่งหมายเรียกดังกล่าวระบุให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมาย จำเลยที่ 2 สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงย่อมอ่านและเข้าใจข้อความในหมายเรียกได้ดีว่าจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมายเรียกนั้นแต่จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กำหนด จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 27 สิงหาคม 2535 ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามที่โจทก์ขอเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าไม่เคยถูกฟ้องคดีแพ่งมาก่อนและไม่ทราบกระบวนพิจารณาทางกฎหมาย เข้าใจว่าคงเป็นเช่นเดียวกับคดีอาญาซึ่งจำเลยทั้งสองเคยถูกฟ้องและได้ไปหาทนายความก่อนวันที่ศาลนัดเพียง2 ถึง 3 วันก็ได้นั้น ไม่เป็นเหตุผลให้รับฟังได้
แม้ได้ความจากเอกสารการตรวจรับงานและการจ่ายเงินว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ยึดถือระยะเวลาการทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนด 300 วัน ตามสัญญา โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ.ก่อสร้างบ้านต่อจากจำเลยที่ 1ซึ่งก่อสร้างไว้ไม่แล้วเสร็จ โดยตกลงค่าจ้างเป็นเงินจำนวน 3,916,901 บาทและโจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ.ทำการก่อสร้างบ้านต่อจากที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเป็นเงิน 1,816,901 บาทจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มขึ้นดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามที่ได้สัญญาไว้ แต่โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์เป็นเงินเพียง 900,000 บาท และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียง 900,000 บาท
คดีนี้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ทำงานนอกสัญญาจ้างเดิมโดยให้ก่อสร้างรั้วป้อมยามกับศาลาพักร้อนและโจทก์ค้างชำระค่าจ้างดังกล่าวเป็นเงิน 624,000 บาทเศษ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยได้นั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ขอหักกลบลบหนี้จำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองจะขอหักกลบลบหนี้ได้เช่นนั้น ศาลไม่มีอำนาจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยได้
เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ข้อกำหนดตามสัญญาข้อ 3ที่ว่าถ้าจำเลยผู้รับเหมาเพิ่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่โจทก์ผู้ว่าจ้างมิได้บอกเลิกสัญญาจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันวันละ 5,000บาท มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้นในกรณีจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแยกไว้ชัดแจ้งเป็นส่วนหนึ่งต่างหากแล้ว ส่วนการที่หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร ข้อ 5มีข้อความว่า ในวันทำสัญญานี้จำเลยได้นำหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาทมีกำหนดเวลาค้ำประกันตั้งแต่วันที่สัญญานี้มีผลบังคับใช้จนกว่าจำเลยจะพ้นความรับผิดชอบตามสัญญามามอบให้ผู้ว่าจ้างยึดถือไว้เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ถ้าระยะเวลาการก่อสร้างต้องล่าช้ากว่ากำหนดเป็นเหตุให้ระยะเวลาต้องยืดออกไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม หรือมีเหตุให้จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเพิ่มขึ้น จำเลยสัญญาว่าจะต่ออายุหนังสือค้ำประกันออกไปหรือเพิ่มจำนวนเงินที่ค้ำประกันให้เพียงพอกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น โดยจะนำมามอบให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์เรียกร้อง และวรรคสองระบุว่า หนังสือค้ำประกันที่จำเลยนำมามอบให้โจทก์ยึดถือไว้ตามวรรคแรก โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยได้มอบงานซึ่งเสร็จสมบูรณ์ให้แก่โจทก์และนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันความชำรุดบกพร่องของอาคารที่สร้างขึ้นตามข้อ 22 มามอบให้โจทก์แล้ว และข้อ 21 ระบุว่า เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยอมให้โจทก์ดำเนินการตามข้อ 21.1 คือริบหลักประกันดังกล่าวในสัญญาข้อ 5 เช่นนี้ ข้อสัญญาเกี่ยวกับหลักประกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยทั้งสอง แต่ในที่สุดจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันมาวางเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์สัญญาข้อ 5 และข้อ 21.1 ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำขึ้นและปฏิบัติต่อกันเช่นที่กล่าวมานี้จึงเป็นเพียงให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งโจทก์อาจมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเช่นที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 3 เท่านั้น หาใช่เป็นข้อสัญญาเพื่อกำหนดเบี้ยปรับขึ้นใหม่ไม่ และกรณีนี้เมื่อไม่มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5และ ข้อ 21.1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินจำนวน500,000 บาท ให้แก่โจทก์
(วรรคห้าวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2539)
แม้ได้ความจากเอกสารการตรวจรับงานและการจ่ายเงินว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ยึดถือระยะเวลาการทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนด 300 วัน ตามสัญญา โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ.ก่อสร้างบ้านต่อจากจำเลยที่ 1ซึ่งก่อสร้างไว้ไม่แล้วเสร็จ โดยตกลงค่าจ้างเป็นเงินจำนวน 3,916,901 บาทและโจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ.ทำการก่อสร้างบ้านต่อจากที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเป็นเงิน 1,816,901 บาทจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มขึ้นดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามที่ได้สัญญาไว้ แต่โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์เป็นเงินเพียง 900,000 บาท และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียง 900,000 บาท
คดีนี้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ทำงานนอกสัญญาจ้างเดิมโดยให้ก่อสร้างรั้วป้อมยามกับศาลาพักร้อนและโจทก์ค้างชำระค่าจ้างดังกล่าวเป็นเงิน 624,000 บาทเศษ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยได้นั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ขอหักกลบลบหนี้จำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองจะขอหักกลบลบหนี้ได้เช่นนั้น ศาลไม่มีอำนาจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยได้
เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ข้อกำหนดตามสัญญาข้อ 3ที่ว่าถ้าจำเลยผู้รับเหมาเพิ่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่โจทก์ผู้ว่าจ้างมิได้บอกเลิกสัญญาจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันวันละ 5,000บาท มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้นในกรณีจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแยกไว้ชัดแจ้งเป็นส่วนหนึ่งต่างหากแล้ว ส่วนการที่หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร ข้อ 5มีข้อความว่า ในวันทำสัญญานี้จำเลยได้นำหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาทมีกำหนดเวลาค้ำประกันตั้งแต่วันที่สัญญานี้มีผลบังคับใช้จนกว่าจำเลยจะพ้นความรับผิดชอบตามสัญญามามอบให้ผู้ว่าจ้างยึดถือไว้เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ถ้าระยะเวลาการก่อสร้างต้องล่าช้ากว่ากำหนดเป็นเหตุให้ระยะเวลาต้องยืดออกไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม หรือมีเหตุให้จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเพิ่มขึ้น จำเลยสัญญาว่าจะต่ออายุหนังสือค้ำประกันออกไปหรือเพิ่มจำนวนเงินที่ค้ำประกันให้เพียงพอกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น โดยจะนำมามอบให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์เรียกร้อง และวรรคสองระบุว่า หนังสือค้ำประกันที่จำเลยนำมามอบให้โจทก์ยึดถือไว้ตามวรรคแรก โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยได้มอบงานซึ่งเสร็จสมบูรณ์ให้แก่โจทก์และนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันความชำรุดบกพร่องของอาคารที่สร้างขึ้นตามข้อ 22 มามอบให้โจทก์แล้ว และข้อ 21 ระบุว่า เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยอมให้โจทก์ดำเนินการตามข้อ 21.1 คือริบหลักประกันดังกล่าวในสัญญาข้อ 5 เช่นนี้ ข้อสัญญาเกี่ยวกับหลักประกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยทั้งสอง แต่ในที่สุดจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันมาวางเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์สัญญาข้อ 5 และข้อ 21.1 ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำขึ้นและปฏิบัติต่อกันเช่นที่กล่าวมานี้จึงเป็นเพียงให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งโจทก์อาจมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเช่นที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 3 เท่านั้น หาใช่เป็นข้อสัญญาเพื่อกำหนดเบี้ยปรับขึ้นใหม่ไม่ และกรณีนี้เมื่อไม่มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5และ ข้อ 21.1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินจำนวน500,000 บาท ให้แก่โจทก์
(วรรคห้าวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2539)