คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักเกณฑ์คำนวณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8690/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่ารถยนต์ไม่ใช่ค่าจ้าง: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าจ้างและค่าชดเชยในคดีแรงงาน
"ค่าจ้าง" ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 หมายความว่าเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ข้อตกลงของจำเลยที่จะจัดหารถประจำตำแหน่งให้โจทก์ หากยังหารถไม่ได้จะให้ค่าเช่ารถยนต์เดือนละ 22,000 บาท แสดงให้เห็นว่า มีการกำหนดให้จำเลยจัดหารถประจำตำแหน่งให้โจทก์เป็นหลัก โดยมีข้อยกเว้นว่า หากยังหารถให้ไม่ได้ก็ให้จ่ายค่าเช่ารถยนต์ให้โจทก์ หากต่อมาจำเลยสามารถหารถประจำตำแหน่งให้โจทก์ได้เมื่อใด ก็ไม่จำต้องจ่ายค่าเช่ารถยนต์ให้โจทก์ต่อไป ค่าเช่ารถยนต์ตามข้อตกลงจึงถือว่าเป็นสวัสดิการ มิใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน แม้จะจ่ายเงินจำนวนแน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือนก็มิใช่ค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนและผลกระทบต่อราคาที่ดินที่เหลือ
เมื่อการกำหนดเงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 ใช้บังคับ จึงต้องพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้น จะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ และแม้ขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากเวนคืนตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสี่บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตรการที่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อนหาใช่มิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ เพราะจะทำให้มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นไม่มีผลใช้บังคับส่วนมาตรา 5 แห่ง พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 มีผลเพียงทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคานั้น ไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนวันที่ พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมีผลใช้บังคับเท่านั้น เมื่อราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์คำนวณค่าทดแทน & ผลกระทบราคาที่ดินที่เหลือ
เมื่อการกำหนดเงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ลงวันที่28กุมภาพันธ์2534ใช้บังคับจึงต้องพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั้ง5ประการของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา21มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์และแม้ขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากเวนคืนตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา21วรรคสี่บัญญัติไว้ออกใช้บังคับก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตรการที่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อนหาใช่มิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่เพราะจะทำให้มาตรา21วรรคสองซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นไม่มีผลใช้บังคับส่วนมาตรา5แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนพ.ศ.2537มีผลเพียงทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคานั้นไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับเท่านั้นเมื่อราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าจ้าง นายจ้างมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณได้ โดยไม่ต้องรวมเงินค่าครองชีพ
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือนและมีจำนวนแน่นอน จะถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ก็ตามแต่เงินบำเหน็จเป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายตอบแทนความดีของลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดระยะเวลาที่ทำงานอยู่กับนายจ้างไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายหรือจ่ายเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรนายจ้างจึงมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จอย่างไรก็ได้ไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานการคำนวณ เงินบำเหน็จจะรวมค่าครองชีพด้วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อบังคับของจำเลย ข้อบังคับของจำเลยกำหนดคำว่าเงินเดือนซึ่งเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จว่าให้หมายถึงเงินเดือนสุดท้ายของลูกจ้างประจำ และเงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้าย ของลูกจ้างรายวันคำว่า "เงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้ายของลูกจ้างรายวัน"ย่อมหมายถึงค่าจ้างรายวันซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับครั้งสุดท้าย 26 วัน รวมกันไม่รวมถึงค่าจ้างอื่นซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับเป็นรายเดือนด้วยค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้างรายวันจึงไม่ต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จ