คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลายฉบับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9070/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเมื่อทำสัญญาประกันภัยหลายฉบับ
ตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยผู้รับประกันภัยได้จำกัดความรับผิดในกรณีอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ไว้ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อ 1 คน และในกรณีถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกายไว้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อ 1 คน ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะเอาประกันภัยไว้เป็นจำนวนเงินหรือมีทุนประกันเท่าใด ดังนั้น แม้ผู้เอาประกันภัยจะใช้สิทธิเลือกซื้อสัญญาประกันภัยเช่นนี้ไว้กี่ครั้งก็ตาม หากเป็นผู้เอาประกันภัยรายเดียวกันแล้ว ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว คดีนี้ ล. ทำสัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้ต่อจำเลย 2 ครั้ง ครั้งแรก จำนวนเงินเอาประกันภัย 300,000 บาทระบุให้ ม. และ ศ. เป็นผู้รับประโยชน์ ครั้งที่สองจำนวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ดังนั้น จำเลยผู้รับประกันภัยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว กล่าวคือ ต้องนำจำนวนเงินเอาประกันภัยหรือทุนประกันตามสัญญาทั้งสองฉบับมารวมกันถือเป็นจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยไว้ทั้งสิ้น เมื่อรวมแล้วเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยเกินกว่า500,000 บาท จำเลยจึงคงต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ทั้งสองสัญญารวมกันเพียง 500,000 บาทเมื่อทั้งสองสัญญามีจำนวนเงินเอาประกันภัยจำนวน 300,000 บาทและ 500,000 บาท จึงต้องเฉลี่ยการได้รับค่าสินไหมทดแทนกันตามอัตราส่วนดังกล่าว ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงจำนวน 312,500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืม - เอกสารหลายฉบับประกอบกันได้ - ไม่ต้องมีคำว่า 'กู้ยืม' ระบุชัดเจน
ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่า หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องมีข้อความว่า ใครเป็นผู้ให้กู้ ใครเป็นผู้กู้กู้ยืมกันเมื่อไร กำหนดชำระเงินกันอย่างไร อีกทั้งตามมาตราดังกล่าวที่ว่าถ้า มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ นั้น หาได้มีความหมายเคร่งครัดว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมปรากฏอยู่ในเอกสารนั้นไม่ และข้อความที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้นั้นไม่จำต้องมีบรรจุอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจรวบรวมจากเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวโยงเป็นเรื่องเดียวกัน และรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4609/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการหลายฉบับ แต่เป็นการกระทำผิดกรรมเดียว
แม้ว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำปลอมขึ้นและประทับตราปลอมคือหนังสือรับรองว่าได้รับอนุญาตเป็นผู้ขับรถจำนวน3 ฉบับ จะเป็นเอกสารต่างชนิดกับหนังสือรับรองใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถเป็นภาษาอังกฤษรวม 3 ฉบับ ซึ่งเป็นการปลอมหนังสือรับรองใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของบุคคลต่างคนกันก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและยึดเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวในคราวเดียวกันโดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำการปลอมและประทับตราปลอมเอกสารเหล่านั้นโดยมีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันจึงลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108-3109/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเอกสารสลักหลังเช็คหลายฉบับถือเป็นความผิดต่างกรรมกัน หากเจตนาแยกต่างหาก
การที่จำเลยขีดฆ่าและลบลายมือชื่อของจำเลยในเช็คพิพาททั้งห้าฉบับ เพื่อที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังในเช็คแต่ละฉบับนั้น แม้จะเป็นการกระทำในเวลาใกล้เคียงและต่อเนื่องกันแต่ ก็เห็นได้ชัดว่าจำเลยจะทำเพียงฉบับเดียวหรือบางฉบับก็ได้สุดแต่เจตนาของจำเลย เมื่อจำเลยกระทำต่อเช็คทั้งห้าฉบับ จึงเป็นความผิด 5 กรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คหลายฉบับเพื่อชำระหนี้เดียวกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากเป็นคนละฉบับ
จำเลยออกเช็ค ๓ ฉบับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนและวันที่ที่มีปรากฏในเช็คแตกต่างกัน ซึ่งจำเลยผู้ออกเช็คอาจมีเงินจ่ายตามเช็คหรือมีเจตนาให้ใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกจากกันได้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง ๓ ฉบับ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และเมื่อเช็คที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยในคดีก่อนเป็นเช็คคนละฉบับกับที่มาฟ้องเป็นคดีนี้ แม้จำเลยจะออกเช็คในคราวเดียวกันเพื่อชำระหนี้อันมีมูลหนี้มาจากค่าซื้อยาเช่นเดียวกันก็ตาม โจทก์ก็ย่อมนำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5406/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมหลายฉบับ แม้ปลอมครั้งเดียวแต่ใช้แยกรายฉบับ
จำเลยปลอมเอกสาร 7 ฉบับอันเป็นความผิดหลายกรรมรวม 7 กระทง แล้วจำเลยนำเอกสารปลอมทั้ง 7 ฉบับไปใช้ในคราวเดียวกันโดยมีเจตนาใช้เอกสารปลอมนั้นให้มีผลแยกเป็นรายฉบับต่างกัน ดังนี้ จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวซึ่งต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง รวม 7 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5406/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมหลายฉบับ หากผู้ใช้เป็นผู้ปลอมเอง ต้องลงโทษตามแต่ละฉบับ
จำเลยปลอมเอกสาร 7 ฉบับอันเป็นความผิดหลายกรรมรวม7 กระทง แล้วจำเลยนำเอกสารปลอมทั้ง 7 ฉบับไปใช้ในคราวเดียวกันโดยมีเจตนาใช้เอกสารปลอมนั้นให้มีผลแยกเป็นรายฉบับต่างกัน ดังนี้ จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวซึ่งต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคสอง รวม 7 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5406/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้ปลอมและใช้เอกสารปลอมหลายฉบับในคราวเดียวกัน ต้องลงโทษตามจำนวนกรรมที่กระทำ
จำเลยปลอมเอกสาร 7 ฉบับอันเป็นความผิดหลายกรรมรวม7 กระทง แล้วจำเลยนำเอกสารปลอมทั้ง 7 ฉบับไปใช้ในคราวเดียวกันโดยมีเจตนาใช้เอกสารปลอมนั้นให้มีผลแยกเป็นรายฉบับต่างกัน ดังนี้ จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวซึ่งต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคสอง รวม 7 กระทง