พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830-7831/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ค่าทนายความเข้าข่ายความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดีขอแบ่งมรดก และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งเป็นที่ดินจำนวน 3 ไร่ และ 5 ไร่ ตามลำดับ หลังจากนั้นจำเลยยังไม่ชำระค่าว่าความให้โจทก์ โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง สำหรับที่ดินที่จำเลยมีสิทธิได้รับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น จำเลยมอบหมายให้ว. ไปขายแก่บุคคลอื่นโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินตามราคาที่ดินที่ขายได้ตามส่วนของตน ซึ่งมีการฝากธนาคารไว้แล้ว จำเลยถอนเงินดังกล่าวไป ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเป็นเจตนาพิเศษอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แล้ว อันเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วนั้นว่าเข้าองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่รับวินิจฉัยให้และพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว คดีอาจมีผลต่อการฎีกาของโจทก์ตามกฎหมายได้ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่รับวินิจฉัยให้และพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว คดีอาจมีผลต่อการฎีกาของโจทก์ตามกฎหมายได้ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้ แม้มีคำพิพากษาตามยอม
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้โดยสิ้นเชิง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเรือพิพาท แต่จำเลยที่ 1 กลับตกลงโอนเรือดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งของตนไป โดยจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ นิติกรรมการโอนเรือพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ อันเป็นการฉ้อฉลซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนได้
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเรือระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพราะมิใช่เป็นการฟ้องขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของศาลในคดีที่พิพาทกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากแต่เป็นการฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลดังกล่าวไม่ผูกพัน และไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลในอีกคดีหนึ่ง
ระยะเวลาจากวันที่จำเลยที่ 2 รับโอนเรือและโจทก์ทราบเรื่องจนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉล ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเรือระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพราะมิใช่เป็นการฟ้องขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของศาลในคดีที่พิพาทกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากแต่เป็นการฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลดังกล่าวไม่ผูกพัน และไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลในอีกคดีหนึ่ง
ระยะเวลาจากวันที่จำเลยที่ 2 รับโอนเรือและโจทก์ทราบเรื่องจนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉล ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: ไม่เข้าข่ายความผิดมาตรา 350 หากหนี้เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดิน 1 แปลงจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1ไม่จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 โอนที่ดินแปลงอื่นของตนจำนวน 3 แปลง ให้จำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินแปลงอื่นให้จำเลยที่ 2 ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เพราะหนี้ที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์นั้น เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงซึ่งระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขายแก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับที่ดินจำนวน3 แปลงที่จำเลยที่ 1 โอนให้จำเลยที่ 2 ส่วนที่ทนายโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 เท้าความถึงกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน แต่ไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายได้เพราะมีเหตุขัดข้องเนื่องมาจากฝ่ายจำเลยที่ 1 และตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวมีข้อความว่า "หากไม่ได้รับการติดต่อนัดหมายโอนที่ดินดังกล่าวภายใน 7 วัน... ข้าพเจ้าก็มีความเสียใจที่จะดำเนินการกับท่านตามกฎหมายต่อไป..." นั้น หนังสือดังกล่าวก็ไม่มีข้อความหรือไม่อาจแปลได้ว่าโจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินมัดจำพร้อมกับเรียกค่าเสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมกับชดใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: พฤติการณ์หลีกเลี่ยงชำระหนี้โดยการสร้างหนี้สินเทียมและยืดเยื้อการบังคับคดี
เดิม โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ เมื่อศาลพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตาม คำพิพากษา ได้ มีการยึดรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้ ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด โดย อ้าง ว่าได้ ซื้อ จากจำเลยที่ 1 และในการนำสืบ ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ ติดต่อ ขายให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จำเลยที่ 2 เป็นพยานเบิกความว่าได้ มีการซื้อ ขายรถยนต์บรรทุกกันจริงในราคา 100,000 บาท ผลสุดท้ายศาลฎีกาได้ ยก คำร้อง โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 ใหม่เพื่อเอาเงินชำระหนี้โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้ รีบฟ้องให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ตาม สัญญา เงินกู้ อ้างว่ากู้กันแต่ ปี พ.ศ. 2525 โดย ฟ้องวันที่ 2 มกราคม 2530 ได้ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมในวันที่ 8 เดือน เดียว กัน ต่อมาจำเลยที่ 2 จึงยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ พฤติการณ์ดังกล่าวมาทั้งหมดส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำทุกอย่างเพื่อมิให้โจทก์ซึ่ง เป็นเจ้าหนี้ได้ รับชำระหนี้ เป็นความผิดฐาน โกงเจ้าหนี้ตาม ฟ้อง พฤติการณ์เช่นนี้ไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีหนี้สินล้นพ้นตัวและการพิพากษาให้ล้มละลายจากพฤติการณ์หลีกเลี่ยงชำระหนี้
จำเลยทั้งสองถูกเจ้าหนี้รายอื่นกับโจทก์ฟ้องเป็นคดีอาญา หลายเรื่อง จำเลยที่ 2 จึงได้หลบหนีไป และในการส่งหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 ต้องประกาศ หนังสือพิมพ์ ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนก็ต้องส่งโดยวิธีปิดหมาย โดยเจ้าพนักงานผู้ส่งหมายรายงานว่าไม่มีป้ายชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 อยู่ที่ภูมิลำเนาตามฟ้อง ทั้งโจทก์นำสืบได้ความว่า จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินใดที่จะชำระหนี้ได้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยทั้งสองได้ไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่และปิดสถานที่ประกอบธุรกิจเพื่อประวิงการชำระหนี้ หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 8(4) ข.แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ แม้ทรัพย์เหลือไม่พอชำระ ก็เป็นความผิด
ทรัพย์ที่ได้มีการย้าย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นอันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น หาได้มีข้อจำกัดเฉพาะทรัพย์ที่เจ้าหนี้พึงจะยึดถือหรืออายัดไว้ไม่แต่หมายถึงทรัพย์สินใดๆ ของลูกหนี้ที่มีอยู่ได้มีการย้าย ซ่อนเร้นหรือโอนไปเพียงเพื่อเจตนามิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และแม้ลูกหนี้จะยังมีทรัพย์อย่างอื่นเหลืออยู่ แต่ไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ก็ไม่ใช่เหตุที่จะอ้างเพื่อให้พ้นจากการกระทำอันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้เจ้าหนี้ แม้เชื่อมั่นในผลคดี ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการโกงเจ้าหนี้
เดิมโจทก์ฟ้องส. ภรรยาโจทก์ กับ ก. ม. และ ฮ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ซึ่ง ส.ทำนิติกรรมขายให้ ก. ม. และ ฮ. ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นก. ม. และ ฮ. เอาที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม คดีนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ส. กับ ก. ม. และ ฮ. กับ ให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ก. ม. ฮ. กับจำเลยที่ 1 ก. กับพวกและจำเลยที่ 1 ฎีกา เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทไปทำสัญญาขายฝากไว้กับจำเลยที่ 2มีกำหนดเวลาไถ่คืนเพียง 3 เดือน แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนดดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2เพื่อไม่ให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้วได้รับชำระหนี้ทั้งหมด การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จำเลยจะอ้างว่าที่ขายฝากเพราะจำเลยที่ 1 เชื่อว่าศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1ชนะคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: 'ผู้อื่น' ตาม ม.350 อาญา
คำว่า 'ผู้อื่น' ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น หมายความถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1โอนที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3 ผู้มิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้อื่น ตามความหมายแห่งมาตรา 350 นั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16070-16072/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ แม้คดีความยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
ตาม ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แล้วย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ก็ถือว่าเป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวอยู่ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้คดีแพ่งดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องแย้ง และผลคดีอาจจะเปลี่ยนแปลงโดยศาลฎีกาอาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ซึ่งไม่แน่ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นที่สุดหรือไม่ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว ไม่จำต้องถือเอาคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าว