คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หักกลบลบหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7544/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้ สิทธิเรียกร้องที่มีข้อโต้แย้งนำมาหักลบหนี้ไม่ได้
จำเลยต้องรับผิดตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 การที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้เงินค่าแชร์กับหนี้เงินต้นเงินยืมตามเช็คพิพาทกับดอกเบี้ยนั้น ถือว่าจำเลยประสงค์จะนำหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์อ้างว่าเป็นหนี้จำเลยจำนวน 800,000 บาท มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ตามเช็คพิพาทในชั้นศาล โจทก์นำสืบโต้เถียงว่าโจทก์กับจำเลยได้ตกลงหนี้สินระหว่างกันแล้วโดยให้หักค่าแชร์ที่โจทก์จะต้องชำระอีก 1,200,000 บาท กับหนี้เงินยืมที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ เมื่อตกลงแล้วโจทก์ได้คืนเช็คตามจำนวนหนี้ที่หักหนี้ให้แก่จำเลยและจำเลยมีหน้าที่ชำระค่าแชร์แทนโจทก์ หลังจากหักหนี้กันแล้วจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์จำนวน 759,040 บาท ซึ่งจำเลยได้สั่งจ่ายเป็นเช็ค 4 ฉบับ อันเป็นการต่อสู้ว่าหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยนั้นระงับไปแล้วด้วยการหักกลบลบหนี้ โจทก์ไม่มีหนี้ที่ต้องชำระแก่จำเลยอีก ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องที่จำเลยนำมาหักกลบลบหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 344 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าหาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ไม่" ดังนั้นจำเลยจึงนำสิทธิเรียกร้องค่าแชร์ที่ชำระแทนโจทก์ไปขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ตามเช็คพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับหนี้เช่าซื้อหลังเลิกจ้าง: ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตามคำสั่งเดิม
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นนอกจากหนี้ตาม (1) ถึง (5) มาหักกับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักเงินดังกล่าวในระหว่างที่ลูกจ้างยังไม่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้น โจทก์ขอหักกลบลบหนี้เงินค่าจ้าง เงินรางวัลจากการขายฯ ที่โจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 กับค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้แก่โจทก์หลังจากจำเลยที่ 1 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว และการหักกลบลบหนี้กระทำได้ด้วยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย โจทก์จึงขอหักกลบลบหนี้ได้ แต่การหักกลบลบหนี้จะกระทำได้เฉพาะกับสิทธิเรียกร้องหรือหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ ซึ่งในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยที่ 1 โต้แย้งว่าหนี้ค่าเช่าซื้อพร้อมดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ต่อมาในชั้นพิจารณาของศาลโจทก์จึงยอมรับว่าหนี้ค่าเช่าซื้อเป็นดังที่จำเลยที่ 1 โต้แย้ง หนี้ค่าเช่าซื้อที่โจทก์ขอหักกลบลบหนี้ในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานจึงยังเป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้ ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้ ที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับแก่จำเลยที่ 1 จึงมิได้ฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานโจทก์และจำเลยที่ 1 แถลงรับจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อพร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้โต้แย้งกันอีก หนี้ค่าเช่าซื้อพร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์จึงเป็นอันยุติ มิได้เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้ต่อไป โจทก์จึงขอนำไปหักกลบลบหนี้กับเงินต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: เงื่อนไขหนี้ก่อน-หลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
การที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ขอหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/33 นั้น เป็นระบบการจัดการทรัพย์สินในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ที่จะนำหนี้ที่ตนมีภาระต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปหักกับหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
มาตรา 90/33 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนึ่งซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้นเจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ: เงื่อนไขช่วงเวลาเกิดหนี้ และการแจ้งความประสงค์แก่ผู้ทำแผน/ผู้บริหารแผน
การที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ขอหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/33 นั้น เป็นระบบการจัดการทรัพย์สินในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ที่จะนำหนี้ที่ตนมีภาระต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปหักกับหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
มาตรา 90/33 ที่บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้น เจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโบนัสลูกจ้าง แม้ถูกกล่าวหาทุจริต สิทธิเรียกร้องยังมีข้อต่อสู้ หักกลบลบหนี้ไม่ได้
ตามข้อ 11 แห่งข้อบังคับของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ที่กำหนดว่า "ก่อนจ่ายเงินโบนัสตามข้อบังคับนี้ให้ กทพ. หักเงินดังกล่าวชดใช้หนี้สินผูกพันหรือค่าเสียหายที่พนักงานผู้นั้นได้มีอยู่กับหรือก่อให้เกิดแก่ กทพ. ให้ครบถ้วนเสียก่อน" เป็นการให้สิทธิหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. ซึ่งตามมาตรา 344 สิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอามาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวหาว่าโจทก์นำส่งเงินค่าผ่านทางพิเศษไม่ครบ อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย 45,910 บาท แก่จำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็นำสืบต่อสู้ว่าที่จำเลยที่ 1 กล่าวหาว่าโจทก์ยักยอกเงิน นั้นไม่เป็นความจริง ความจริงมีเงินหายไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถสืบทราบว่าผู้ใดกระทำผิด จึงใส่ร้ายโจทก์เนื่องจากโจทก์มีตำแหน่งต่ำสุด ถือได้ว่าเป็นกรณีที่สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจหักเงินโบนัสซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับเพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ก่อให้เกิดแก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเลิกกันแล้ว การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการก่อสร้าง และการหักกลบลบหนี้จากค่าเสียหายฐานละเมิด
คดีก่อนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างตึกแถวและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์คดีนี้ผิดสัญญาไม่ยอมส่งมอบตึกแถวแก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาเลิกกัน คู่ความต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวซึ่งถือว่าเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวต่อไป ส่วนค่าเสียหายนั้น เนื่องจากได้ตกลงเลิกสัญญากันแล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งมอบตึกแถว จำเลยทั้งสองจึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้ พิพากษาให้ขับไล่โจทก์คดีนี้ออกจากที่ดินและตึกแถว ดังนั้น ผลของคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ โจทก์คดีนี้จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและตึกแถวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนคือวันที่ 12 ตุลาคม 2537 ให้โจทก์คดีนี้ฟัง การที่โจทก์คดีนี้คงอยู่ต่อมาจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2538 จึงเป็นละเมิด ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและตึกแถว จึงเป็นการฟ้องแย้งเพื่อให้บังคับตามสิทธิที่เกิดจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ก่อสร้างตึกแถวตามสัญญา ต่อมาจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อสร้างตึกแถวและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเลิกกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ดังนั้น โจทก์จึงควรได้ค่าก่อสร้างตึกแถวเพียงเท่าที่ก่อสร้างจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากตกลงกัน 6 เดือน หลังจากนั้นโจทก์ยังก่อสร้างตึกแถวอีก 3 เดือน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 3 ห้องให้แก่โจทก์เนื่องจากเป็นการงานอันได้กระทำให้ตาม ป.พ.พ. 391 วรรคสาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่ดินและตึกพิพาทต่อมา ศาลย่อมมีอำนาจนำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้กับจำนวนค่าก่อสร้างตึกแถวจำนวน 3 ห้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ผลกระทบต่อสิทธิครอบครอง ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้
คดีก่อนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างตึกแถวและเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากโจทก์คดีนี้ผิดสัญญาไม่ยอมส่งมอบตึกแถวแก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาเลิกกันคู่ความต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวซึ่งถือว่าเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองในคดีนี้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวต่อไป ส่วนค่าเสียหายนั้นเนื่องจากได้ตกลงเลิกสัญญากันแล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งมอบตึกแถว จำเลยทั้งสองจึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้ พิพากษาให้ขับไล่โจทก์คดีนี้ออกจากที่ดินและตึกแถว ดังนั้นผลของคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ โจทก์คดีนี้จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและตึกแถวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนคือวันที่ 12 ตุลาคม 2537 ให้โจทก์คดีนี้ฟัง การที่โจทก์คดีนี้คงอยู่ต่อมาจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2538 จึงเป็นละเมิด ดังนั้นที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดใน ช่วงระยะเวลาดังกล่าวจนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและตึกแถวจึงเป็นการฟ้องแย้งเพื่อให้บังคับตามสิทธิที่เกิดจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ก่อสร้างตึกแถวตามสัญญา ต่อมาจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อสร้างตึกแถวและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเลิกกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ดังนั้น โจทก์จึงควรได้ค่าก่อสร้างตึกแถวเพียงเท่าที่ก่อสร้างจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากตกลงกัน 6 เดือน หลังจากนั้นโจทก์ยังก่อสร้างตึกแถวอีก 3 เดือนจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 3 ห้องให้แก่โจทก์เนื่องจากเป็นการงานอันได้กระทำให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่ดินและตึกพิพาทต่อมา จึงเห็นสมควรนำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้กับจำนวนค่าก่อสร้างตึกแถวจำนวน 3 ห้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ และข้อต่อสู้หนี้ที่นำมาหักกลบลบไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นลูกหนี้ของจำเลยตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหนี้ดังกล่าวต่างก็ถึงกำหนดชำระแล้ว ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์นั้น ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบกันได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์แต่ประการใด
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 344 หมายถึงหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบถึงความรับผิดในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด ซึ่งข้อความในเอกสารหมาย ล.7 หาได้มีข้อความตอนใดที่เป็นการปฏิเสธความรับผิด หรือโต้แย้งจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้มีข้อต่อสู้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ก่อนการฟื้นฟูกิจการ: การหักกลบลบหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ ถือว่าระงับหนี้ได้
ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดว่า การหักกลบลบหนี้จะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อบริษัท บ. เป็นลูกหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันและหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระ จึงถือว่าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ และจำเลยตกเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตั้งแต่เวลาที่ลูกหนี้ผิดนัดเป็นต้นไป ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นลูกหนี้ของจำเลยตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งหนี้ดังกล่าวก็ถึงกำหนดชำระแล้วเช่นกัน เมื่อขณะที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบกันได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 หมายถึงหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบถึงความรับผิดชอบในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด
จำเลยได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังโจทก์ ขอให้นำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันจำนวน 9,119,733.86 บาท หักกลบลบกันกับหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 20,000,000 บาท ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2540 แต่โจทก์ยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการและศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2542 การหักกลบลบหนี้จึงเกิดขึ้นและมีผลโดยสมบูรณ์ไปก่อนที่จะมีการฟื้นฟูกิจการของโจทก์ หนี้ที่มีอยู่แต่ละฝ่ายระงับไปเท่ากับจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ ซึ่งในขณะนั้นมูลหนี้ที่จำเลยนำไปขอหักกลับยังคงมีอยู่และยังมิได้ระงับไป แม้ต่อมาภายหลังจำเลยได้นำหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 20,000,000 บาท ไปยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ขอฟื้นฟูกิจการ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้จำเลยได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน ก็ไม่ทำให้การหักกลบลบหนี้ดังกล่าวระงับหรือสิ้นผลไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอม และหนี้ที่มีข้อโต้แย้งแต่ไม่กระทบสาระสำคัญยังคงหักกลบลบได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้แต่ประการใดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นลูกหนี้ของจำเลยตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหนี้ดังกล่าวต่างก็ถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์นั้น ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบกันได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์แต่ประการใด
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 หมายถึง หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบถึงความรับผิดในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด ซึ่งข้อความในเอกสารหมาย ล.7 หาได้มีข้อความตอนใดที่เป็นการปฏิเสธความรับผิด หรือโต้แย้งจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่
of 32