พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายที่สามีลูกจ้างก่อขึ้น ไม่อาจหักจากค่าจ้างลูกจ้างได้ หากลูกจ้างมิได้เป็นผู้ก่อหนี้
แม้โจทก์จะทำหนังสือยินยอมให้จำเลยหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่ง อ. สามีโจทก์ได้กระทำไว้แก่จำเลย แต่ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงหน้า ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ... (1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ กับ... (4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง กรณีตาม (4) นั้นมุ่งหมายถึงตัวลูกจ้างโดยตรงเป็นผู้กระทำให้เกิดหนี้หรือความเสียหายแก่นายจ้างและลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแล้วจึงหักค่าจ้างลูกจ้างได้ แต่คดีนี้โจทก์เป็นเพียงภริยาของ อ. มิได้เป็นผู้ก่อหนี้หรือความเสียหายแก่จำเลยแต่อย่างใด กรณีย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้โจทก์จะทำหนังสือยอมให้หักค่าจ้างได้จำเลยก็หาอาจจะหักค่าจ้างของโจทก์ได้ไม่ คำว่าหนี้อื่นๆ นั้นหมายถึงหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น การชำระหนี้ภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือการชำระเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างซึ่งเกิดจากกฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ แต่กรณีนี้สามีโจทก์เป็นผู้กระทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จึงมิใช่หนี้อื่นๆ ตามนัยแห่งมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าจ้างให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากลูกจ้าง กรณีความเสียหายเกิดจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 ที่ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่ เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (4) นั้น มุ่งหมายถึงตัวลูกจ้างโดยตรงเป็นผู้กระทำให้เกิดหนี้หรือความเสียหายแก่นายจ้างและลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแล้ว จึงหักค่าจ้างลูกจ้างได้ แต่โจทก์เป็นเพียงภริยาของ อ. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ มิได้เป็นผู้ก่อหนี้หรือความเสียหายแก่จำเลย ย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้โจทก์จะทำหนังสือยอมให้หักค่าจ้างได้ จำเลยก็ไม่อาจหักค่าจ้างของโจทก์ได้
คำว่าหนี้อื่น ๆ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) หมายถึงหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น การชำระภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือการชำระเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างนั้นเอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากกฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ แต่กรณีที่สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์เป็นผู้ทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย มิใช่หนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าจ้างให้โจทก์
คำว่าหนี้อื่น ๆ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) หมายถึงหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น การชำระภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือการชำระเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างนั้นเอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากกฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ แต่กรณีที่สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์เป็นผู้ทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย มิใช่หนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าจ้างให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้าง: นายจ้างหักค่าจ้างโดยไม่ชอบ
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนของจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเดือน เมื่อไม่มีข้อตกลงหรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สิทธิแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่มาทำงานหรือขาดงานโดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขาดงานและทำงานไม่ครบเวลาในเดือนมีนาคมและเมษายน 2540 ก็ตาม จำเลยย่อมไม่มีสิทธิหักค่าจ้างในวันที่โจทก์ขาดงานโดยมิชอบนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้างล่าช้า เบี้ยปรับ ค่าเสียหาย และสิทธิในการหักค่าจ้างของผู้รับจ้าง
ตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ข้อ 22 ความว่า"ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาแต่ผู้ว่าจ้างก็ยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวัน" เบี้ยปรับดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ดังนั้นโจทก์ผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับได้ตามสัญญาแต่การที่โจทก์ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ภายหลังวันครบกำหนดที่โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จและโจทก์ก็ไม่ได้ว่าจ้างบุคคลใดก่อสร้างซ่อมแซมงานที่ขาดตกบกพร่องให้แล้วเสร็จโดยพลัน จึงมีส่วนผิดที่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเป็นเวลาถึง 132 วัน ซึ่งศาลชอบที่ใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้เป็นเวลาเพียง 60 วันได้ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ในการซ่อมแซมงานก่อสร้างโจทก์ผู้ว่าจ้างต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มจากที่ควรจ่ายตามสัญญาเดิมที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 เท่าใด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร ส่วนค่าเสียหายในการเช่าสถานที่อื่นนั้น เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ จำเลยที่ 1 มิได้คาดเห็นล่วงหน้าก่อน จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 222 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ทำงานงวดสุดท้ายไปแล้วหากแต่ทำงานไปโดยยังไม่เรียบร้อยมีข้อบกพร่องและไม่แก้ไขความชำรุดบกพร่องจนกระทั่งพ้นกำหนดระยะเวลา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและให้บุคคลอื่นซ่อมแซมงานที่ยังไม่เรียบร้อยนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำงานเสียเลยทีเดียว อันถึงกับจะทำให้โจทก์มีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิหักค่าจ้างเท่าที่ต้องเสียไป แต่ไม่มีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างงวดสุดท้ายเสียทั้งหมด อันเป็นค่าการงานที่จำเลยที่ 1 ทำให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหักค่าจ้างเพื่อบำรุงสหภาพ ไม่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพโจทก์ตามรายชื่อและลายมือชื่อที่ยินยอมให้หัก แล้วส่งให้ประธานหรือเหรัญญิกของโจทก์เพื่อเป็นค่าบำรุง ค่าฌาปนกิจ เป็นข้อตกลงอย่างอื่น ไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหักค่าจ้างเพื่อบำรุงสหภาพไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพโจทก์ที่ยินยอมให้หัก แล้วส่งให้ประธานหรือเหรัญญิกของโจทก์เพื่อเป็นค่าบำรุง ค่าฌาปนกิจ ดังนี้ เป็นข้อตกลงอย่างอื่น มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับพ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่จำเลยจะต้อง ปฏิบัติตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหักค่าจ้างเพื่อบำรุงสหภาพไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพโจทก์ตามรายชื่อและลายมือชื่อที่ยินยอมให้หัก แล้วส่งให้ประธานหรือเหรัญญิกของโจทก์เพื่อเป็นค่าบำรุง ค่าฌาปนกิจ เป็นข้อตกลงอย่างอื่น ไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการขายสินค้าของลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิหักจากค่าจ้างได้ หากเป็นหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างและเป็นพนักงานขายของจำเลย ได้ขายสินค้าของจำเลยให้แก่ลูกค้า แล้วเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์จึงทำบันทึกตกลงให้จำเลยเรียกร้องเงินค่าสินค้าของลูกค้าดังกล่าวจากโจทก์โดยให้ถือว่าโจทก์ได้รับชำระเงินจากลูกค้ารายนี้แล้ว หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 จำเลยนำหนี้รายนี้มาหักจากค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการขายสินค้าของลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิหักจากค่าจ้างได้ หากเป็นหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างและเป็นพนักงานขายของจำเลย ได้ ขายสินค้าของจำเลยให้แก่ลูกค้า แล้วเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์จึงทำบันทึกตกลง ให้จำเลยเรียกร้องเงินค่าสินค้าของลูกค้าดังกล่าวจากโจทก์โดย ให้ถือว่าโจทก์ได้รับชำระเงินจากลูกค้ารายนี้แล้ว หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตาม สัญญาจ้างแรงงาน มิใช่หนี้อื่นตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 จำเลยนำหนี้รายนี้มาหักจากค่าจ้างที่ต้อง จ่ายให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายค่ารถบริการรับส่งจากค่าจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นที่ไม่ชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ค่ารถบริการรับส่งที่นายจ้างทดรองจ่ายไปก่อนแทนลูกจ้างแล้วนำมาหักกับค่าจ้างของลูกจ้างตามที่ตกลงกัน เงินที่หักก็เป็นจำนวนอันสมควรที่นายจ้างได้จ่ายไปตามความเป็นจริง ถือได้ว่าเงินที่หักนั้นเป็นหนี้อันเกิดแต่การทำงาน มิใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 30