คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หักภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการให้กู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย และหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากค่าวัสดุ
ป. รัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (6) (เดิม) เกี่ยวกับภาษีการค้า บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดค่าบริการตามราคาตลาดเมื่อผู้ประกอบการค้าให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ต่อมาเมื่อยกเลิกการจัดเก็บภาษีการค้าจากการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และเปลี่ยนเป็นจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการประกอบกิจการดังกล่าวแทน ตามมาตรา 91/2 (5) เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยตามราคาตลาดในเวลาที่มีการกู้ยืมเงิน ในกรณีที่การให้กู้ยืมเงินนั้นไม่มีดอกเบี้ยหรือมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 91/16 (6) บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแสดงว่าการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ที่ต้องเสียภาษีการค้าหรือภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้คิดดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทน แต่เมื่อการไม่คิดดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนนั้นไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการควรได้รับจากการประกอบกิจการเพื่อใช้เป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีการค้าหรือภาษีธุรกิจเฉพาะได้ เมื่อโจทก์ให้บริษัท พ. กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าและภาษีธุรกิจเฉพาะโดยคำนวณจากดอกเบี้ยรับที่โจทก์ควรจะได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์มิได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีธุรกิจเฉพาะเพราะโจทก์มิได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
นิติบุคคลที่โจทก์จ่ายค่าแรงกับนิติบุคคลที่โจทก์ซื้อวัสดุเป็นนิติบุคคลต่างรายกัน แต่ละรายต่างมีรายรับรายจ่ายเป็นของตนเอง จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาวัสดุด้วย แม้ว่าโจทก์กับผู้รับเหมาช่วงจะไม่ได้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือและนิติบุคคลผู้รับจ้างทำของกับนิติบุคคลผู้ขายวัสดุจะมีความสัมพันธ์กันโดยมีสถานประกอบการอยู่แห่งเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน หรือมีกรรมการหรือหุ้นส่วนคนเดียวกันก็ตาม เงินค่าวัสดุที่โจทก์จ่ายให้แก่นิติบุคคลผู้ขาย จึงมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างทำของ โจทก์ไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่ง ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12104/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การหักภาษี ณ ที่จ่าย และสิทธิในการขอคืนภาษี
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุถึงเงินช่วยเหลือที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ไว้ในข้อ 1 ว่า "โจทก์ตกลงรับเงินช่วยเหลือที่จำเลยเสนอจ่ายเป็นเงิน 3,000,000 บาท โดยจำเลยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางที่ศาลแรงงานกลางภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2545" เท่านั้น มิได้มีข้อความว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสุทธิที่จำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์หรือจำเลยจะชำระภาษีแทนโจทก์แต่อย่างใด ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่ชัดเจน ไม่มีข้อสงสัยหรืออาจตีความได้สองนัย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 368 มาตีความให้เป็นอย่างอื่นได้ จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่โจทก์จำเลยมีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป. รัษฎากรฯ มาตรา 40 (1) จำเลยผู้จ่ายเงินได้จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตาม ป. รัษฎากรฯ มาตรา 50 ประกอบมาตรา 3 จตุทศ นำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอซึ่งรวมถึงที่ว่าการเขตภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินตามมาตรา 52 การที่จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ 1,890,000 บาท โดยหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 1,110,000 บาท และนำส่งสรรพากรเขตปทุมวัน จึงเป็นการชำระหนี้ครบถ้วนตามคำพิพากษาตามยอมแล้วหากโจทก์เห็นว่าตนได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหรือถูกหักภาษีไว้เกินกว่าจำนวนที่ควรต้องเสีย โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามมาตรา 63

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างทำของ vs. ซื้อขาย: หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ยกเลิกการประเมิน และของดหรือลดเบี้ยปรับโดยให้เหตุผลว่า ในการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปโดยถือความเข้าใจและความรู้สึกของตนเองเป็นเกณฑ์ หากมีกรณีความเห็นไม่ตรงกันก็จะใช้คำถามนำ และใช้คำพูดในเชิงใช้อำนาจอันเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมสรรพากร พร้อมทั้งโจทก์ได้ยื่นหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินมาพร้อมด้วย คำอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นการโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว
โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างสั่งให้โรงงานผู้รับจ้างผลิตรองเท้าตามที่โจทก์กำหนด กรณีจึงเป็นเรื่องจ้างทำของ หาใช่เป็นเรื่องซื้อขายไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ให้แก่โรงงานผลิตรองเท้าผู้รับ และนำส่งไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ป.รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ข้อ 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8479/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การจำหน่ายหนี้สูญ, ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี, และการหักภาษี ณ ที่จ่าย
การจำหน่ายหนี้สูญตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9) มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่าเจ้าหนี้ต้องทำอย่างไรบ้างเกี่ยวกับหนี้ที่จะถือว่าได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป
ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) หมายความว่า รายจ่ายที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจะต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ก็ให้นำไปถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้ โจทก์ใช้เกณฑ์สิทธิในการลงบัญชีและคำนวณกำไรสุทธิโดยถือรอบระยะเวลาบัญชีตามปีปฏิทิน ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 โจทก์ทำประมาณการรายจ่ายต่าง ๆ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2520 เพื่อจ่ายในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2520 และครั้งที่ 2 เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2520 เพื่อจ่ายในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2521 จะเห็นได้ว่าประมาณการรายจ่ายครั้งที่ 2 มิใช่ประมาณการรายจ่ายที่จะต้องจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี 2520 แต่เป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 รายจ่ายตามประมาณการครั้งที่ 2 จึงมิใช่รายจ่ายจริงของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำรายจ่ายตามประมาณการครั้งที่ 2 มาหักออกจากรายได้เพื่อคำนวณหากำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 เพราะเท่ากับเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร ส่วนการที่โจทก์นำรายจ่ายค้างจ่ายที่ยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 มาลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์เองไม่นำรายจ่ายมาหักออกจากรายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิให้ตรงตามรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายจ่ายขึ้นจริง ทั้ง ๆ ที่โจทก์สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้ มิใช่กรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 ได้ จึงนำมาลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 อันเป็นรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากในธนาคารต่างประเทศและธนาคารต่างประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้ได้นำยอดดอกเบี้ยมาหักทอนบัญชีเป็นการที่โจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารต่างประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้แล้ว ประกอบกับโจทก์ได้นำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยนั้นให้ธนาคารต่างประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้ดังนี้ เมื่อธนาคารต่างประเทศเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับดอกเบี้ยอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4) ที่จ่ายจากโจทก์ซึ่งอยู่ในประเทศไทย ธนาคารต่างประเทศจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ดังกล่าว โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 70 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง โจทก์จึงต้องรับผิดร่วมกับธนาคารต่างประเทศผู้มีเงินได้ในภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมเลิกสัญญากับหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย: เงินที่จ่ายตามสัญญานี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
เงินที่จำเลยตกลงชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นการตกลงที่จะชำระเต็มจำนวนตามสัญญาที่ทำไว้ต่อศาล แม้ตามสัญญาบริการระหว่างโจทก์จำเลยที่ใช้บังคับในระหว่างที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ใช้เป็นฐานแห่งการชำระเงินในคดีนี้ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ภาษีเงินได้และภาษีอื่นที่โจทก์พึงจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับค่าตอบแทน จำเลยจะเป็นผู้จ่ายแทนในนามของโจทก์ทั้งสิ้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไป จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้ว จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามข้อสัญญาอีกต่อไปและเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเงินได้อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานและเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)แห่ง ป.รัษฎากร จำเลยผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50ประกอบมาตรา 3 จตุทศ แห่ง ป.รัษฎากร แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหากโจทก์เห็นว่าโจทก์เสียภาษีน้อยกว่าที่จำเลยหักไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการแก่กรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องการคืนภาษีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินประนีประนอมยอมความหลังเลิกสัญญาจ้าง: เงินดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษีอากร
เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาบริการกันแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปจำเลยไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ดังนั้นเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิใช่ค่าจ้างเมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาบริการกันแล้วจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ต่อไปและเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเงินได้อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานและเป็นเงินพึงประเมินตามมาตรา40(1)แห่งประมวลรัษฎากรจำเลยผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ณที่จ่ายตามมาตรา50ประกอบมาตรา3จตุทศแล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหากโจทก์เห็นว่าโจทก์เสียภาษีน้อยกว่าที่จำเลยหักไว้เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการแก่กรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องการคืนภาษีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9909/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล การผลิต การหักภาษี ณ ที่จ่าย และเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
ค่าพาหนะที่โจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฎิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ เป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ย่อมไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งจึงต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 54ทั้งเจ้าพนักงานของจำเลยก็ได้ยอมให้ใช้ค่าพาหนะเหมาจ่ายเฉพาะส่วนที่ไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 42(2)ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์และพนักงานของโจทก์อยู่แล้ว ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 กำหนดให้เบิกเงินชดเชยการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้กิโลเมตรละ 90 สตางค์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2526 เป็นต้นไป จึงต้องเป็นไปตามนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินยกเว้นให้หลังวันที่ 7 พฤศจิกายน2526 และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นด้วยกับการประเมินจึงมิชอบ การที่โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายส่งพนักงานของโจทก์ไปดูงานต่างประเทศก็ต่อเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานให้แก่โจทก์ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ และต้องทำงานอยู่กับโจทก์นานและมี ความประพฤติดีด้วย ซึ่งมิใช่การให้ไปศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการแต่อย่างใด จึงหาใช่รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42(11) ไม่ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการที่ตนเองทำงานให้แก่โจทก์ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่ง การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในเรื่องนี้ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น ปัญหาต่อไปมีว่า การจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2526 ไม่ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526)เพียงแต่ปฎิบัติตามที่มาตรา 65 ทวิ (9) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16)พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ก็ถือได้ว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้และโจทก์ได้ปฎิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับการชำระหนี้แล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ การจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีที่อยู่ในบังคับของมาตรา 65 ทวิ(9) ที่แก้ไขใหม่และกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่1 มกราคม 2526 ต้องมีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวโดยครบถ้วนถูกต้อง การที่บริษัท อ. ซื้อที่ดินให้โจทก์เช่ามาก็เพื่อผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ใช้ตั้งสำนักงานทั้งตามสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 30 ปี ยังบังคับให้บริษัทดังกล่าวต้องจำหน่ายจ่ายที่ดินให้แก่โจทก์หรือบุคคลภายนอกที่โจทก์ระบุอีกด้วย สัญญาเช่าดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่าปกติธรรมดาทางธุรกิจโดยทั่วไปไม่ เมื่อโจทก์นำเงินจำนวนยี่สิบแปดล้านบาท มาให้บริษัท อ. นำไปชำระค่าที่ดินที่เช่าดังกล่าว แม้จะระบุในสัญญาเช่าว่าเป็นเงินประกันการเช่า ก็ถือได้ว่าโจทก์นำเงินจำนวนยี่สิบแปดล้านบาทมาให้บริษัทดังกล่าวกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย การที่เจ้าพนักงานประเมินรายได้จากดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอันเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว เทปกาวม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามาตัดแบ่งนั้นไม่มีชื่อหรือเครื่องหมายการค้าปรากฎอยู่ เมื่อโจทก์นำมาตัดแบ่งกรอใส่แกนเป็นม้วนเล็กตามขนาดที่ต้องการโดยที่แกนปรากฎเครื่องหมายการค้าพิมพ์อยู่ แล้วใส่ลงถุงพลาสติกและบรรจุกล่องซึ่งมีคำว่า 3M พิมพ์ไว้ด้านข้างของกล่องนั้น เป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้า เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามคำนิยามของคำว่า "ผลิต"ตามมาตรา 77 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2525 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นของบริษัทแม่ของโจทก์ในต่างประเทศหรือโจทก์จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำดังกล่าวมิใช่การผลิตแต่อย่างใด กระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามามีเครื่องหมายการค้า 3M ปรากฎอยู่ชัดด้านหลังของกระดาษทรายโจทก์นำกระดาษทรายม้วนใหญ่มาตัดแบ่งเป็นหน้าแคบ ๆ แต่ยาวตามขนาดที่ลูกค้าสั่ง และถ้าลูกค้าขอให้นำส่วนที่ตัดแบ่งแล้วมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำปลายส่วนที่ตัดแบ่งแล้วนั้นมาประกบเชื่อมติดกันด้วยกาวในลักษณะสายพาน โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากลูกค้า หากลูกค้าไม่ได้สั่งให้นำกระดาษทรายแต่ละแผ่นมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำกระดาษทรายที่ตัดแบ่งแล้วม้วนและห่อด้วยกระดาษนำบรรจุในกล่องกระดาษที่มีคำว่า 3M ปรากฎอยู่ด้านข้างตัวกล่องนั้นการกระทำดังกล่าวหาใช่เป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าไม่ เพราะเครื่องหมายการค้า3M นั้น มีปรากฏอยู่แล้วเดินในกระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามา ทั้งการตัดแบ่งออกเป็นแผ่นยาวและบางครั้งมีการเชื่อมต่อระหว่างแผ่นตามคำสั่งของลูกค้าเพื่อประโยชน์ที่ลูกค้าจะนำไปใช้ได้ ก็เป็นกรณีที่โจทก์นำมาแบ่งขายในสภาพเช่นเดิมและได้ขายสินค้านี้ในรูปรอยตราเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 โจทก์จึงมิใช่ผู้ผลิตไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษีเงินได้กรณีขายลดตั๋วเงินข้ามประเทศ แม้ผู้จ่ายไม่ใช่ผู้กู้ยืมหรือขายลดเอง
ผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตผ่านธนาคารในประเทศจ่ายให้แก่ผู้ขายไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศก่อนที่จะถึงกำหนดจ่ายตามตั๋วเงินโดยโจทก์รับภาระชำระเงินส่วนหนึ่งให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเนื่องจากการขายลดนั้นเงินที่โจทก์ส่งออกไปให้ธนาคารในต่างประเทศดังกล่าวแม้เดิมโจทก์จะเจตนาให้เป็นค่าสินค้าที่โจทก์ซื้อจากผู้ขายในต่างประเทศก็ตามแต่เมื่อผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์ต้องชำระไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเสียแล้วธนาคารในต่างประเทศจึงเป็นผู้ที่จะได้รับเงินที่โจทก์จะต้องชำระนั้นต่อไปหาใช่ผู้ขายสินค้าอีกไม่เงินส่วนที่ธนาคารในต่างประเทศได้จากโจทก์เนื่องจากการขายลดตั๋วเงินของผู้ขายดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ยตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา40(4)(ก)และเป็นเงินที่จ่ายจากประเทศไทยโจทก์ผู้จ่ายจึงต้องมีหน้าที่หักภาษีเงินได้นำส่งจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา70วรรคแรกแม้โจทก์จะมิใช่เป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินให้ธนาคารในต่างประเทศก็ตามเพราะมาตรา70วรรคแรกหาได้บัญญัติว่าผู้จ่ายต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าบริการทางวิศวกรรมและค่าสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 40(3) และ 70(2) ไม่ใช่ 40(6) และ 70(4)
การที่โจทก์ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศไว้ 2 ประเภท คือสัญญาประเภทให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรม กับสัญญาประเภทให้ใช้เครื่องหมายการค้า โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมเลิกกัน โจทก์ต้องส่งคำแนะนำและเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตอันถือเป็นความลับคืน โดยห้ามทำสำเนาไว้ และผลของการเลิกสัญญาดังกล่าวมีผลให้สัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้าเลิกกัน สิทธิของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าย่อมหมดไปสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทนสัญญาจึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 70(2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6)ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70(4) แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวไม่ โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนค้าข้าวโพดและการมีอำนาจของกรรมการ: ผลผูกพันต่อหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เมื่อโจทก์จดทะเบียนและเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวโพดแล้ว โจทก์จะมาอ้างว่ากรรมการของโจทก์ไปจดทะเบียนนอกเหนือวัตถุประสงค์ ไม่มีผลผูกพันโจทก์ไม่ได้ โจทก์ต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในเงินที่จ่ายซื้อข้าวโพดให้ผู้ขายเพื่อนำส่งจำเลย
of 3