พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักล้างสัญญาจะซื้อขายด้วยพยานบุคคล และการซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาประกันหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายนั้น เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาจะซื้อขายไม่ถูกต้องและไม่มี ผลใช้บังคับตามกฎหมาย ไม่ใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสุดท้าย จำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยหลังจากจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้แล้วและช.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทไปยังจำเลยร่วมก่อนแล้ว การที่จำเลยร่วมรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทาง ให้โจทก์ต้องเสียเปรียบก่อนรับโอนจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำ โดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6801/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างความถูกต้องของสัญญาซื้อขาย ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร
การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญากู้ยืมไม่ใช่สัญญาซื้อขายนั้นไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาซื้อขายไม่ถูกต้องจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างสัญญาซื้อขายว่าไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุถูกหลอกลวง ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา
จำเลยนำสืบว่าได้กู้เงินโจทก์ โจทก์ให้จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือในกระดาษซึ่งไม่ทราบว่าเป็นกระดาษอะไร ภายหลังทราบว่าจำเลยถูกหลอกให้ลงชื่อในสัญญาซื้อขายที่พิพาท หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร แต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาซื้อขายไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างสัญญาซื้อขายว่าไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา
จำเลยทั้งสองนำสืบว่าไม่ได้ทำสัญญาขายที่พิพาท แต่ที่จำเลยทั้งสองลงลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญาดังกล่าวเพราะไปกู้เงินโจทก์แล้วโจทก์ให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือในกระดาษ ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นกระดาษอะไร การนำสืบของจำเลยทั้งสองดังกล่าว เพื่อแสดงว่าถูกโจทก์หลอกลวงให้ลงชื่อในเอกสารและเอกสารนั้นใช้บังคับไม่ได้ มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร แต่เป็นการนำสืบหักล้างสัญญาซื้อขายที่พิพาทว่าไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยทั้งสองจึงนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาเช่าเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายควบคุมการเช่าเคหะ ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างได้
โจทก์ให้จำเลยและคนอื่นแบ่งกันเช่าบ้านรายพิพาทอยู่หลายคน ต่างคนต่างเสียค่าเช่า จำเลยเช่า 1 ห้อง เสียค่าเช่าเดือนละ 700 บาท เมื่อรวมค่าเช่าทุกคนแล้วเป็นค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท โจทก์ให้จำเลยทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทแต่ผู้เดียวในอัตราค่าเช่า เกินเดือนละ 1,000 บาท ก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการควบคุมของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 4 จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นด้วยเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยนำสืบหักล้างถึงความไม่สมบูรณ์แห่งสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาเช่าหลีกเลี่ยงกฎหมายควบคุมเคหะ: จำเลยมีสิทธิหักล้างได้
โจทก์ให้จำเลยและคนอื่นแบ่งกันเช่าบ้านรายพิพาทอยู่หลายคน ต่างคนต่างเสียค่าเช่า. จำเลยเช่า 1 ห้องเสียค่าเช่าเดือนละ 700 บาท เมื่อรวมค่าเช่าทุกคนแล้วเป็นค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท. โจทก์ให้จำเลยทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทแต่ผู้เดียวในอัตราค่าเช่าเกินเดือนละ 1,000บาท ก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการควบคุมของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 มาตรา 4. จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นด้วยเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยนำสืบหักล้างถึงความไม่สมบูรณ์แห่งสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1) ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้นย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาลวงที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้ว จะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การชำระราคาที่ดินที่แท้จริง แม้สัญญาจะระบุการชำระแล้ว การสืบพยานเพื่อหักล้างข้อความในสัญญาทำได้
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความชัดเจนว่า ผู้ขายได้รับเงินราคาที่ดินไปครบถ้วนแล้วก็ดี แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายรับกันว่า ความจริงเงินราคาที่ดินยังไม่ถึงมือผู้ขาย โดยผู้ซื้อนำไปมอบไว้แก่เจ้าอาวาสวัดหนึ่งไว้ โดยผู้ซื้ออ้างว่าผู้ขายตกลงให้ไปมอบแต่ผู้ขายปฏิเสธว่าไม่ได้ตกลงให้ไปมอบเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องสืบพยานกันว่าความจริงเป็นอย่างไร ไม่ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 94 เพราะเป็นการสืบหักล้างข้อความในสัญญาไม่ใช่เปลี่ยนแปลงแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการต่อสู้หักล้างข้อตกลงเช่าเพื่อการค้า หากผู้เช่าพิสูจน์ได้ว่าเช่าเพื่ออยู่อาศัย
สัญญาเช่ามีข้อความว่าเช่าเพื่อการค้า ผู้เช่าก็มีสิทธิจะต่อสู้และนำสืบได้ว่าตนเช่าเพื่ออยู่อาศัยได้