คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หักวันคุมขัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุ
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ศาลซึ่งรายงานว่าไม่ต้องหักวันคุมขังให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วแจ้งให้ทนายจำเลยทราบโดยไม่ได้สั่งแก้ไขหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกา เท่ากับให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 โดยเห็นด้วยกับรายงานของเจ้าหน้าที่ศาล จำเลยที่ 2 จึงอุทธรณ์คำสั่งได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกคุมขังในคดีนี้ตามหมายขังระหว่างพิจารณาตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2544 โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ถือได้ว่าตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาจำเลยที่ 2 ถูกคุมขังมาก่อนศาลพิพากษา เมื่อคำพิพากษาไม่ได้ระบุว่าไม่ให้หักวันคุมขังให้แก่จำเลยที่ 2 จึงต้องหักวันคุมขังดังกล่าวออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษา: ต้องยื่นคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนฎีกา
ปัญหาที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกาโดยคิดหักวันที่จำเลยถูกคุมขังมาแล้วให้ไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี เมื่อมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ว่าไม่ถูกต้องแต่ประการใดจึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นหักวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตาม ป.อ.มาตรา 22 แล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุมขังระหว่างพิจารณาคดี และการหักวันคุมขังออกจากโทษจำคุก ศาลฎีกาวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ว่าเมื่อจำเลยถูกขังในระหว่างพิจารณาในคดีหนึ่งแล้วจะถูกขังในคดีอื่นอีกไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นเวลาเดียวกับที่จำเลยถูกขังอยู่ในคดีอื่นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนับแต่วันที่ออกหมายขังจำเลยจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลาเกินกว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย ศาลชั้นต้นจึงปล่อยตัวไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410-4411/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็คหลายกรรมต่างกัน-หักวันคุมขัง-ข้อจำกัดการยกเหตุในชั้นฎีกา
แม้ เช็คพิพาท 2 ฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้รายเดียวกัน โดยลงวันที่เดียวกัน และธนาคารปฏิเสธการ จ่ายเงินทั้งสองฉบับในวันเดียวกัน แต่การออกเช็คเป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนในเช็ค ณ วันที่ที่ลงในเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีเจตนาให้จ่ายเงิน ตามเช็ค แต่ละ ฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละ จำนวน ไม่ได้ ร่วมเป็นเช็คฉบับเดียวกัน ความผิดเกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้ โดยชัดเจนเป็นการ เฉพาะตัว ของ เช็ค แต่ละ ฉบับจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน เป็นคนละกระทงความผิดแยกจากกัน การที่ศาลจะสั่งให้หักจำนวนวันที่จำเลยถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษ จำคุกตามคำพิพากษา หรือไม่นั้น เป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคแรก ทั้งมิใช่กรณีที่หาก โจทก์ไม่มีคำขอ ขึ้น มา ศาล ก็ วินิจฉัย ให้ไม่ได้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้น ระบุ ในคำพิพากษา โดยชัดแจ้งว่า หัก วันที่ จำเลย ถูก คุมขัง ให้ เฉพาะ วัน ถูกคุมขังที่ไม่ซ้ำซ้อนนั้นจึงชอบแล้ว ที่ จำเลยฎีกาว่า คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่าจำเลย ออกเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อ ชำระหนี้เป็นการ บรรยายฟ้อง ไม่ครบ องค์ประกอบ ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่ง เป็น กฎหมายที่ออกใช้บังคับภายหลังอันเป็นคุณแก่จำเลย จึงลงโทษ จำเลยไม่ได้นั้น เป็นข้อที่ จำเลย มิได้ ยกขึ้น ว่ากันมาแล้ว ใน ศาลอุทธรณ์ จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบกับมาตรา 225 และ แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่ศาลฎีกา เห็นสมควร ไม่รับ วินิจฉัย ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันคุมขังในคดีอื่นออกจากโทษจำคุก: คดีจำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นก่อนศาลพิพากษา ไม่สามารถหักวันคุมขังได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคแรก บัญญัติว่า "โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" คำว่า ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา หมายความว่า ต้องถูกคุมขังอยู่ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษา การที่จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังในคดีอื่นและผู้ประกันมิได้ร้องขอส่งตัวจำเลยที่ 1 เพื่อให้ศาลออกหมายขังจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จึงไม่อาจหักวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันคุมขังต้องเป็นการคุมขังในคดีเดียวกัน ผู้ประกันไม่ร้องขอส่งตัวจำเลยเพื่อออกหมายขังในคดีใหม่ ไม่อาจหักวันคุมขังได้
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก บัญญัติว่า "โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" คำว่า ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษานั้น หมายความว่า ต้องถูกคุมขังอยู่ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษา การที่จำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นและผู้ประกันมิได้ร้องขอส่งตัวจำเลย เพื่อให้ศาลออกหมายขังจำเลยในคดีนี้จึงไม่อาจหักวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการปลอมเงินตราและใช้เงินปลอมลักทรัพย์ การหักวันคุมขัง และการแจ้งข้อหา
จำเลยทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตราธนบัตรของรัฐบาลไทยชนิดราคา 100 บาท และมีธนบัตรปลอมนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นของปลอม เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ทำปลอมและมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้แล้ว จากนั้นจำเลยนำธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปใช้ลักทรัพย์ ด้วยการใส่ธนบัตรปลอมดังกล่าวเข้าไปในช่องรับเงินของตู้เติมเงินบุญเติมของผู้เสียหายเพื่อโอนเงินจำนวนดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของผู้มีชื่อที่จำเลยมีหรือเปิดไว้ใช้งานโดยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาเงินดังกล่าวไป เป็นการกระทำที่จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน