พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นติชมการทุจริตในการสอบเข้างานเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตและป้องกันส่วนได้เสีย
เมื่อมีพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่า ผู้เสียหายทุจริตในขณะเป็นกรรมการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ จำเลยจึงกล่าวข้อความเช่นนั้นในขณะพูดหาเสียงให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วย จึงเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (3) และเนื่องจากจำเลยเป็นผู้สมัครสอบในครั้งนั้นด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามมาตรา 329 (1) อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปราศรัยหาเสียงในที่สาธารณะ ไม่เข้าข่ายการชุมนุมมั่วสุมตาม พ.ร.บ.ฉุกเฉิน
ที่สาธารณซึ่งตามปกติมีประชาชนมาเที่ยวเตร่พักผ่อนและมีร้านขายอาหาร จำเลยถือโอกาสนั้นกล่าวคำปราศรัยให้ประชาชนฟังเพื่อหาคะแนนนิยมส่วนตัว โดยไม่มีการนัดหมายร่วมใจกันอย่างไรนั้นไม่เป็นการชุมนุมมั่วสุมอันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2495 มาตรา8 และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ออกตามความในมาตรา 8ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นมาตรา 104(1) วรรคท้าย ครอบคลุมการติชมรัฐบาลในการหาเสียงได้
ข้อยกเว้นตามมาตรา 104(1) วรรคท้ายนั้นไม่ได้หมายเฉพาะการพูดในที่ประชุมของรัฐสภา ถ้าจำเลยได้กระทำการโฆษณาติและชมการกระทำของรัฐบาลในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการกระทำเข้าตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 104(1) วรรคท้ายแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหาเสียงที่เกี่ยวกับสิทธิที่ดินและการดูแลประชาชน ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง
ประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องวิธีการหรือลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ใด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2546 ข้อ 3 (11) ที่กำหนดว่า "การโฆษณาหาเสียงโดยการกล่าวถึงนโยบายในการที่จะเข้าไปบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้กระทำได้แต่ทั้งนี้ต้องเป็นงานที่ได้กำหนดว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ตามกฎหมาย และการดำเนินงานตามนโยบายนั้นจะต้องใช้จ่ายจากงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีความเป็นไปได้จริง โดยพิจารณาถึงงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ" มีลักษณะเป็นเพียงข้อแนะนำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้พิจารณาประกอบในการที่จะปราศรัยหาเสียง การที่จำเลยซึ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อันถือได้ว่าเป็นผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นนั้น ได้ปราศรัยนโยบายจะดำเนินการให้ประชาชนผู้ที่ถือสิทธิครอบครองในที่ดินสาธารณประโยชน์ได้มีสิทธิทำกินในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ถือได้ว่าเป็นหน้าที่โดยพื้นฐานของผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชนในท้องถิ่นดังกล่าว ภายหลังการเลือกตั้งปรากฏว่าเมื่อจำเลยได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนขนุนก็ได้ดำเนินการประสานงานกับราชการที่เกี่ยวข้องตามที่หาเสียงไว้ จนกระทั่งมีการดำเนินการออกเอกสารสิทธิให้แก่ประชาชนในท้องที่ ซึ่งในการออกเอกสารสิทธิดังกล่าวนี้ ได้ความจาก ศ. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน ว่า ในปี 2548 อำเภอเขาชัยสนได้ประสานงานไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลควนขนุนเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง หลังจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลควนขนุนได้สำรวจและจัดทำบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดินที่เข้าไปทำประโยชน์ในที่สาธารณะ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า การที่จำเลยปราศรัยหาเสียงจัดที่ทำกินให้ประชาชนดังกล่าวเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่จำเลยจะต้องเข้าไปรับผิดชอบดูแลโดยตรง คำปราศรัยหาเสียงของจำเลยจึงมิได้เป็นการหาเสียงที่ฝ่าฝืนต่อประกาศการเลือกตั้งแต่อย่างใด
การที่จำเลยกล่าวปราศรัยว่าจะดำเนินการให้ประชาชนที่ครอบครองทำกินในที่ดินสาธารณประโยชน์ให้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวโดยถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการทำหน้าที่ของผู้แทนปวงชนในท้องถิ่น กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเรื่องเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ตามความหมายแห่งมาตรา 57 (1) ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545
การที่จำเลยกล่าวปราศรัยว่าจะดำเนินการให้ประชาชนที่ครอบครองทำกินในที่ดินสาธารณประโยชน์ให้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวโดยถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการทำหน้าที่ของผู้แทนปวงชนในท้องถิ่น กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเรื่องเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ตามความหมายแห่งมาตรา 57 (1) ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอสิ่งของเพื่อแก้ไขปัญหาในการประชุมหมู่บ้านและการหาเสียงทั่วไป ไม่เข้าข่ายความผิดเลือกตั้ง
การประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเป็นไปเพื่อการจัดทำประโยชน์สาธารณะต่าง ๆ แก่ชุมชนคนในหมู่บ้าน จำเลยและกรรมการซึ่งรวมทั้งพยานโจทก์จำเลยเข้ามาเป็นกรรมการดำเนินการร่วมกันก็ด้วยต่างมีจิตอาสา การพูดจาหามติกันในหมู่กรรมการก็เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนเป็นสำคัญ ในการประชุมเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณกลางที่รัฐบาลจัดสรรมาให้ มีการเสนอในที่ประชุมว่าให้นำเงินดังกล่าวมาทำป้ายของกองทุนหมู่บ้าน ที่ประชุมได้แสดงความเห็นกันว่าไม่สามารถหาเงินส่วนใดของกองทุนหมู่บ้านมาเสริมได้ จำเลยซึ่งเป็นประธานที่ประชุมเสนอว่าปีกไม้เล้าไก่ของจำเลยมีให้ไปเลือกเอามาใช้ แต่เมื่อที่ประชุมทักท้วงว่าการเสนอของจำเลยไม่ถูกต้องจำเลยก็เงียบไป ตามพฤติการณ์ที่จำเลยพูดดังกล่าว เป็นการเสนอแนะโดยเจตนาจะแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเท่านั้น ส่วนการที่จำเลยไปหาเสียงโดยการแจกแผ่นพับที่บ้านที่มีผู้อยู่อาศัย 5 คน ซึ่งบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านนั้นมืด มีคนพูดว่าถนนมันมืด ถ้าเป็น อ.บ.ต. แล้วให้เอาไฟมาติดตั้ง จำเลยบอกว่า เมื่อจำเลยเป็น อ.บ.ต. แล้วจะนำไฟแสงเทียนมาติดตั้งตามบริเวณหมู่บ้านโดยจะติดตั้งที่บริเวณเสาไฟฟ้าสาธารณะ ก็เป็นการหาเสียงทั่วไป มิใช่เสนอประโยชน์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง มิได้มีลักษณะเป็นการให้หรือเสนอจะให้ทรัพย์สินสิ่งใดเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งแก่ตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13545/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหาเสียงด้วยดนตรีและการปราศรัยเข้าข่ายจัดมหรสพเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในการโฆษณาหาเสียงของจำเลยทั้งสิบสองมีการเล่นดนตรีพื้นบ้านประเภทสะล้อซอซึง บนรถยนต์บรรทุกในขบวนรถหาเสียง การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มจาวเชียงคำยืนปราศรัยอยู่บนรถยนต์บรรทุกหกล้อ โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 ยืนอยู่บนรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อขบวนรถหาเสียงเข้าพื้นที่เลือกตั้งเขตของตน การเล่นดนตรีพื้นบ้านประเภทสะล้อซอซึงในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นผู้สมัครกระทำการเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งแก่ตนเอง โดยทำการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงใด ๆ