คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หีบห่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า: หีบห่อภายนอกเรียบร้อย ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายภายใน
การบรรจุสินค้าลงในหีบห่อ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ผู้ส่งออกกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร บริษัทจำเลยผู้ขนส่งคงรับมอบไปเฉพาะหีบห่อที่ห่อเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับการบรรจุสินค้าลงในหีบห่อด้วย รายละเอียดของสินค้าที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าเป็นเรื่องพิธีการทางศุลกากร เมื่อจำเลยได้มอบหีบห่อที่ขนส่งให้แก่ผู้รับตราส่งในสภาพที่หีบห่อภายนอกเรียบร้อยเช่นเดิมแล้ว จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความลักษณะสินค้าบรรจุหีบห่อเพื่อเสียภาษีการค้า กรณีลูกกวาดบรรจุปีบเพื่อการเก็บรักษา
สินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ทนายความโดยตรงถึงการจำหน่ายสินค้าในรูปลักษณะบรรจุไว้ในภาชนะหรือในหีบห่อผนึก หาใช่หมายความถึงการจำหน่ายสินค้าบรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกเพื่อการเก็บรักษาสินค้าไม่ ดังนั้น การที่โจทก์เก็บลูกกวาดซึ่งทำด้วยน้ำตาลไม่มีกระดาษห่อหุ้มไว้ในปีบเพื่อมิให้ถูกอากาศชื้นเสียหาย จึงเป็นการเก็บรักษาสินค้า และเมื่อโจทก์จำหน่ายสินค้า โจทก์ก็นำลูกกวาดออกจากปีบมาชั่งขาย มิได้จำหน่ายไปทั้งภาชนะหรือหีบห่อผนึกสินค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด 1 (4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัญชีที่ 1 ซึ่งตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นให้เรียกเก็บภาษีการค้าร้อยละ 0.5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและหีบห่อสินค้า แม้สินค้าต่างประเภทกัน หากสร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น ถือเป็นการละเมิด
ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรค 2 การกระทำที่เป็นการลวงชายมีความหมายกว้างขวางมาก ไม่จำเป็นว่าสินค้าที่ทำขึ้นจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันเท่านั้นซึ่งแปลความหมายได้ว่า ไม่ใช่แต่เป็นการลวงในวัตถุเท่านั้น หากรวมถึงการลวงในความเป็นเจ้าของด้วย
จำเลยใช้เครื่องหมายสินค้าหมากฝรั่งของจำเลยในหีบห่อเหมือนบุหรี่ของโจทก์ตลอดจนลักษณะและสี คือ ใช้พื้นสีแดง อักษรสีขาว กลางซองบุหรี่ด้านหน้าทำเป็นรูปวงกลมรี เป็นรูปไข่ขนาดเท่ากัน ผิดแต่แทนที่จะเป็นอักษร คราเวน เอ ทำเป็นอักษร โปรเกรส เหนือวงกลมนี้ขึ้นไปเป็นรูปแมวสีดำ รูปร่างหน้าตาขนาดเดียวกัน แต่ของจำเลยยึดลำตัวสูงกว่าเล็กน้อย อยู่ระหว่างตัวอักษร คำว่า คอร์ด ทิป เช่นเดียวกัน ของด้านหลังทำเป็นรูปกรอบสี่เหลี่ยมมุมกรอบทั้งสี่ข้างทำเป็นรูปและขนาดเดียวกัน แต่ของโจทก์เป็นอักษรภาษาอังกฤษ ของจำเลยเป็นอักษรไทย ใต้กรอบลงมามีอักษรฝรั่งสีดำขนาดตัวอักษรเดียวกัน ด้านข้างของกล่องบุหรี่พิมพ์ด้วยอักษรสีขาวของโจทก์ว่า คราเว่น เอ 10 ของจำเลยก็เป็น โปรเกรส 10 ด้านข้างอีกด้านหนึ่งเป็นอักษรภาษาอังกฤษ ตัวหนังสือสีขาวเช่นเดียวกัน ของโจทก์ว่า เมดอิน อิงแลนด์ ของจำเลยเป็น โปรเกรส 10 เหมือนกับทั้งสองข้าง ใต้รูปไข่ด้านหน้า มีอักษรตัวโตขนาดเดียวกันเด่นชัดว่า ซิกาแรต เพียงแต่สลับที่กัน ของโจทก์อยู่ชิดขอบซองแถวล่าง ของจำเลยอยู่ถัดแถวล่างสูงขึ้นไปบรรทัดหนึ่งผิดกันแต่คำว่า เวอรยินเนีย กับ ซิวอิงกัม เท่านั้น จริงอยู่แม้รูปจะผิดเพี้ยนกันบ้างเล็กน้อยแต่การวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าจะต้องให้เหมือนกันทุกสิ่งอย่างหามิได้ เพียงแต่ให้เห็นว่าเครื่องหมายนั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันหรือเกือบเหมือนสินค้าของโจทก์ก็พอแล้ว ทั้งจำเลยก็รับว่าได้เคยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนแล้ว จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเอารูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต ฉะนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยนำเอาหีบห่อในลักษณะ ขนาด และสีเช่นเดียวกับของโจทก์ไปใช้กำกับสินค้าหมากฝรั่งของจำเลย ย่อมเป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์แล้ว เป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิจะทำได้ ซึ่งเข้าลักษณะเป็นการผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงขายเครื่องหมายการค้า: แม้สินค้าต่างประเภทกัน หากหีบห่อคล้ายคลึงกันจนชวนเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ถือเป็นการละเมิด
ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29วรรคสอง การกระทำที่เป็นการลวงขายมีความหมายกว้างขวางมาก ไม่จำเป็นว่าสินค้าที่ทำขึ้นจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันเท่านั้น ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ไม่ใช่แต่เป็นการลวงในวัตถุเท่านั้น หากรวมถึงการลวงในความเป็นเจ้าของด้วย
จำเลยใช้เครื่องหมายสินค้าหมากฝรั่งของจำเลยในหีบห่อเหมือนบุหรี่ของโจทก์ตลอดจนลักษณะและสี คือ ใช้พื้นสีแดง อักษรสีขาว กลางซองบุหรี่ด้านหน้าทำเป็นรูปวงกลมรี เป็นรูปไข่ขนาดเท่ากัน ผิดแต่แทนที่จะเป็นอักษรคราเว่นเอทำเป็นอักษรโปรเกรส เหนือวงกลมนี้ขึ้นไปเป็นรูปแมวสีดำ รูปร่างหน้าตาขนาดเดียวกัน แต่ของจำเลยยึดลำตัวสูงกว่าเล็กน้อย อยู่ระหว่างตัวอักษร คำว่าคอร์คทิป เช่นเดียวกัน ซองด้านหลังทำเป็นรูปกรอบสี่เหลี่ยมมุมกรอบทั้งสี่ข้างทำเป็นรูปและขนาดเดียวกัน แต่ของโจทก์เป็นอักษรภาษาอังกฤษ ของจำเลยเป็นอักษรไทย ใต้กรอบลงมามีอักษรฝรั่งสีดำขนาดตัวอักษรเดียวกัน ด้านข้างของกล่องบุหรี่พิมพ์ด้วยอักษรสีขาวของโจทก์ว่า คราเว่นเอ 10 ของจำเลยก็เป็น โปรเกรส10 ด้านข้างอีกด้านหนึ่งเป็นอักษรภาษาอังกฤษ ตัวหนังสือสีขาวเช่นเดียวกัน ของโจทก์ว่า เมดอินอิงแลนด์ ของจำเลยเป็น โปรเกรส 10 เหมือนกัน ทั้งสองข้าง ใต้รูปไข่ด้านหน้า มีอักษรตัวโตขนาดเดียวกันเด่นชัดว่าซิกาแรต เพียงแต่สลับที่กัน ของโจทก์อยู่ชิดขอบซองแถวล่าง ของจำเลยอยู่ถัดแถวล่างสูงขึ้นไปบรรทัดหนึ่งผิดกันแต่คำว่า เวอร์ยินเนียกับชิวอิงกัม เท่านั้น จริงอยู่แม้รูปจะผิดเพี้ยนกันบ้างเล็กน้อยแต่การวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าจะต้องให้เหมือนกันทุกสิ่งอย่างหามิได้ เพียงแต่ให้เห็นว่าเครื่องหมายนั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันหรือเกือบเหมือนสินค้าของโจทก์ก็พอแล้ว ทั้งจำเลยก็รับว่าได้เคยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนแล้ว จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเอารูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยนำเอาหีบห่อในลักษณะ ขนาด และสีเช่นเดียวกับของโจทก์ไปใช้กำกับสินค้าหมากฝรั่งของจำเลย ย่อมเป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์แล้ว เป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิจะทำได้ ซึ่งเข้าลักษณะเป็นการผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420