คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8083/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งงดสืบพยานเมื่อพยานเอกสารเพียงพอ & การตีราคาสินทรัพย์/สินค้า (หุ้น) ทางภาษี
ในวันชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางได้ตรวจคำฟ้อง คำให้การ คำแถลงของคู่ความตลอดจนพยานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีและให้คู่ความแถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวแล้วจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ และเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การ คำแถลงของคู่ความ และพยานเอกสารที่คู่ความส่งต่อศาลภาษีอากรกลางนั้นแสดงให้เห็นว่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในหนังสือรับรอง และโจทก์บันทึกรายการซื้อหุ้นไว้ตามงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองไว้ จึงเพียงพอที่จะฟังยุติในอันที่จะวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทได้แล้วโดยไม่จำต้องให้พยานบุคคลมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวอีก ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางจึงชอบด้วยกฎหมาย
ในงบดุลหมวดสินทรัพย์ โจทก์ได้บันทึกรายการหุ้นไว้ในเงินลงทุนในสถาบันการเงินอื่น แยกออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน หากโจทก์ต้องการซื้อหุ้นเพื่อขายในระยะสั้นอันถือเป็นสินค้า ก็ต้องบันทึกรายการหุ้นไว้ในสินทรัพย์หมุนเวียนโดยบันทึกเป็นรายการสินค้าคงเหลือด้วยการตีราคาสินค้าคงเหลือในวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แต่โจทก์ก็มิได้บันทึกรายการหุ้นไว้ในสินค้าคงเหลือแต่อย่างใด โจทก์ซื้อหุ้นธนาคาร ศ. มาจากบรรดาผู้มีชื่อแล้วถือไว้จนครบรอบระยะเวลาบัญชีในวันที่ 31 มีนาคม 2541 แสดงว่าโจทก์ซื้อหุ้นธนาคาร ศ. อันเป็นการลงทุนในสถาบันการเงินอื่นหรือเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งโจทก์จะได้รับประโยชน์เป็นเงินปันผลในระยะยาว หุ้นธนาคาร ศ. ที่โจทก์ถือไว้นั้นจึงเป็นสินทรัพย์ โจทก์ต้องตีราคาหุ้นตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์นั้นมาตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) การที่โจทก์ตีราคาหุ้นให้ลดลงจากราคาที่ซื้อครั้งแรกตามผลจากคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย อันมีผลทำให้มูลค่าหุ้นลดลง เข้าลักษณะเป็นค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาต่ำลง โจทก์ไม่สามารถนำมูลค่าหุ้นที่ลดลงมาถือเป็นรายจ่ายได้ เพราะต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (17)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นในบริษัทจำกัด ความรับผิดของกรรมการ และสิทธิเรียกร้องเมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน
จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งมีฐานะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 3 เท่านั้น โจทก์ จำเลยที่ 1 กับพวก ร่วมลงทุนซื้อที่ดินกันก่อนที่จำเลยที่ 3 จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ ความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือผู้ถือหุ้นคนอื่นก่อนที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะมีอยู่อย่างไร จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ไม่อาจเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเองจึงไม่อาจโอนหุ้นแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ขอให้โอนหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์แท้จริงเพียงเพื่อถือที่ดินแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง และดำเนินการต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับที่ดินนั้น ในส่วนของผู้ถือหุ้นคิดคำนวณจำนวนหุ้นตามสัดส่วนที่ดินที่เป็นเจ้าของ มิได้ถือหุ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ประการอื่น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องจำนวนหุ้นจึงมีนัยเดียวกันกับเรียกร้องเอาที่ดินคืน ดังนั้น หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนหุ้นของจำเลยที่ 1 ในบริษัทจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์ ก็ให้ใช้ราคาหุ้นตามราคาที่ดิน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2546)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องฉ้อฉลขายหุ้นไม่เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลไม่รับรวมพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกค้าของบริษัท ร. จำเลยได้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับบริษัทดังกล่าว โดยจำนองที่ดินเป็นประกัน จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยและต้นเงิน โจทก์ได้รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินมาจากบริษัท ร. มาฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้สินทั้งหมด จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า บริษัท ร. ใช้วิธีฉ้อฉลนำหุ้นของจำเลยประมาณสามล้านหุ้น มูลค่ากว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งจำนำเป็นประกันหนี้ไปขายโดยวิธีการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณหกสิบล้านบาท แต่จำเลยขอเรียกค่าเสียหายเพียงสองล้านบาท จึงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเป็นเงินสองล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยและให้ไถ่ถอนที่ดินจำนองคืนจำเลยด้วย ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าบริษัท ร. ฉ้อฉลขายหุ้นจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเมิดต่อจำเลยซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมที่โจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้และการหักกลบลบหนี้ด้วยเงินปันผลจากหุ้น ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นสมาชิกของโจทก์ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน ต่อมาจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ รับว่าเป็นหนี้เงินกู้กับหนี้ค่าเครื่องอุปโภคบริโภค และจำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย แต่การที่จำเลยต่อสู้คดีและฟ้องแย้งว่าจำเลยเป็นสมาชิกผู้ถือหุ้นของโจทก์ซึ่งในแต่ละปีจำเลยมีสิทธิได้รับเงินปันผลจากโจทก์หลายแสนบาท ขอให้นำเงินค่าหุ้นและเงินปันผลของจำเลยไปหักกลบลบหนี้กับเงินกู้ที่โจทก์เรียกร้องนั้น เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิในเงินลงหุ้นและเงินปันผลที่จำเลยจะพึงได้รับจากโจทก์และเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับเงินที่จำเลยลงหุ้นกับโจทก์เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์มีมูลหนี้มาจากการฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9465/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนำและการใช้สิทธิโดยสุจริต กรณีจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้
การจำนำมิได้ผูกพันผู้รับจำนำให้ต้องบังคับจำนำเฉพาะแต่ทางเดียว ผู้รับจำนำอาจใช้สิทธิบังคับผู้จำนำอย่างหนี้สามัญโดยสละบุริมสิทธิที่ผู้รับจำนำมีเหนือทรัพย์สินที่จำนำก็ย่อมทำได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ในสัญญากู้เงินกำหนดว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับการกู้ยืมเงินที่โจทก์ได้มีประกาศตามนัยแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้ ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968-5050/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยทางการเงิน กรณีจำกัดสิทธิขายหุ้น
โจทก์ทั้งแปดสิบสามตกลงจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของจำเลยที่ 1โดยมีข้อจำกัดสิทธิเกี่ยวกับการจำหน่ายหุ้นและยอมให้จำเลยที่ 1 นำหุ้นที่ยังไม่มีสิทธิจำหน่ายออกขายแก่บุคคลอื่น หากโจทก์ทั้งแปดสิบสามต้องพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ก่อนครบกำหนดสามปีนับแต่วันปิดการจองซื้อ ซึ่งโจทก์ดังกล่าวจะได้รับเงินค่าหุ้นคืนเท่ากับราคาจองซื้อพร้อมดอกเบี้ยภายใน 1 เดือน นับแต่พ้นสภาพการเป็นพนักงาน เงื่อนไขดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 มีภาระหรือมีหน้าที่ที่จะต้องนำหุ้นดังกล่าวออกขายแก่บุคคลอื่นด้วย เมื่อกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินหรือค้าหลักทรัพย์ได้ตามปกติ ถือได้ว่าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้อันเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคสอง จำเลยที่ 1จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ผิดข้อตกลงหรือยกเลิกเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ระบุในบันทึกการเสนอขายหุ้นโดยพลการจำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระเงินค่าหุ้น ค่าเสียหายและดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้นและการฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลยกฟ้องฐานฉ้อโกงเมื่อเป็นข้อพิพาทสัญญา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.นี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ได้
โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส.จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงรับรองฎีกา และความผิดฐานฉ้อโกงจากสัญญาซื้อขายหุ้น
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้น: ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แต่ฟ้องบังคับตามสัญญาได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวงแต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้นอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัทส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้วซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาเมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้นคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7071/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวไม่เกี่ยวกับการพิพาทสิทธิในหุ้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองคืนหุ้นที่ซื้อไปแก่โจทก์ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าจำเลยทั้งสองจะต้องคืนหุ้นพิพาทที่ซื้อไปให้แก่โจทก์หรือไม่ที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองใช้สิทธิออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นพิพาทคำร้องโจทก์จึงไม่เกี่ยวกับการพิพาทด้วยทรัพย์สินสิทธิหรือประโยชน์ตามประเด็นแห่งคดีที่จะได้รับความคุ้มครองโจทก์จึงขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้สิทธิในหุ้นพิพาทออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่ได้
of 8