คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดเกินจำนวนที่ลงหุ้นได้ต่อเมื่อมีการสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วน และต้องมีการบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยมิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 3 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญที่ทำให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิด จึงถือไม่ได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเนื่องจากสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จำสืบว่าจำเลยที่ 3 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการนำสืบนอกเหนือไปจากคำฟ้อง ศาลไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องมีสถานะเป็นหุ้นส่วนขณะฟ้องและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงจะถูกขอให้ล้มละลายได้
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งได้จดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้นั้น ต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในขณะที่โจทก์ฟ้องและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนไว้เด็ดขาด ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในช่วงก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่อาจขอให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ห้างหุ้นส่วน และสิทธิยกอายุความ
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้าง-หุ้นส่วนจำกัด พ.ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพ-ความรับผิดโดยสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 วรรคสาม (เดิม)
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
บทบัญญัติตามมาตรา 1080 และมาตรา 1040แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญจะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกหรือชักนำบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นหุ้นส่วน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมดไม่ได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวย่อมนำมาใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยโดยอนุโลมสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดที่จะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจาก ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้ แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นอาจโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยลำพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นตามที่มาตรา 1091 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะเรื่องการโอนหุ้นเท่านั้นเพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมีสิทธิอำนาจหน้าที่และความรับผิดจำกัด และเนื่องจากมีสิทธิอำนาจหน้าที่ และความรับผิดจำกัดนี้เองคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจึงมิใช่สาระสำคัญ และการเป็นหุ้นส่วนจำพวกดังกล่าวไม่เป็นการเฉพาะตัว ทั้งการโอนหุ้นดังกล่าวก็หาใช่การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิม แห่งห้างหุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1032 ไม่ เมื่อการโอนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1091 โดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นก็อาจโอนได้ คำเบิกความของ ว. ที่ว่า จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ไม่อาจโอนหุ้นได้โดยขาดความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมเป็นเพียงความเห็นของพยาน จึงหาจำต้องหยิบยกคำเบิกความของ ว. มาวินิจฉัยให้โดยเฉพาะอีกไม่เพราะที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้นของตนโดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นก็โอนได้ เท่ากับศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่เห็นด้วยกับคำเบิกความของ ว. ดังกล่าวอยู่ในตัวแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ทั้งสามเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. แก่จำเลยที่ 3 และโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแก่จำเลยที่ 2 โดยสมรู้กัน ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เสียหาย โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือระงับการโอนและเรียกค่าเสียหายดังนี้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นการฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด: การฟ้องแทนห้างเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น
การที่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายทรัพย์สินของห้าง และขอให้ระงับข้อตกลงการโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของห้างกับขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ห้าง เป็นการฟ้องคดีแทนห้างซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่เพราะการฟ้องคดีแทนห้างเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจัดการกิจการเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น
โจทก์ทั้งสามเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. แก่จำเลยที่ 3 และโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแก่จำเลยที่ 2 โดยสมรู้กัน ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เสียหาย โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือระงับการโอนและเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นการฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสอดแทรกการจัดการ: สิทธิเรียกร้องระหว่างหุ้นส่วน vs. บุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องคดีโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสองข้อคือข้อแรก โจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อที่สองจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ปฏิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า หนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใด ซึ่งศาลล่างทั้งสองเห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา1088 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง จึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ข้อแรก ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใด สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกเนื่องจากบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด ส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด และมีหน้าที่อย่างใดหากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้ กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเกี่ยวข้องจัดการงานห้างหุ้นส่วน ความรับผิดต่อหนี้ของห้างฯ
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างสองข้อว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่ปฎิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใดซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชอบอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1088 วรรคหนึ่งเป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองจึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างของโจทก์ข้อแรกไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 วรรคหนึ่งเป็นบทบัญญัติเพื่อป้องกันมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนเพราะหน้าที่ดังกล่าวเป็นของหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดหนี้ระหว่างห้างหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอกได้ หากหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนก็ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดจำนวน บุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใดส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใดและมีหน้าที่อย่างใด หากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปจัดการกิจการ: ความรับผิดต่อหนี้ของห้างหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องคดีโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสองข้อคือข้อแรก โจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อที่สองจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่ปฏิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า หนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใด ซึ่งศาลล่างทั้งสองเห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง จึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ข้อแรก ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 วรรคหนึ่งซึ่งบัญญัติว่า ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกเนื่องจากบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด ส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใดและมีหน้าที่อย่างใด หากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้ กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน
of 4