คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ห้ามตามกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องซ้ำเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ทำแผนและแผนฟื้นฟูที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำที่กฎหมายห้าม
ในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นข้อคัดค้านว่าผู้ทำแผนไม่มีคุณสมบัติและไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้บริหารแผน ทั้งแผนมีรายละเอียดที่ขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรม ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า บริษัทอ. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดสามารถเป็นผู้บริหารแผนได้ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการชอบด้วยกฎหมายจึงพิพากษายืนตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่เห็นชอบด้วยแผน ต่อมาวันที่ 5 กันยายน2544 ผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งมีข้อความเหมือนกับคำร้องฉบับลงวันที่เดียวกับที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนและมีคำสั่งว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นโมฆะ และให้ยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการ และเนื่องจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้เลือกบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนอันดับ 2 เมื่อบริษัท อ. ไม่สามารถเป็นผู้ทำแผนได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนแทนอันเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา ถือเป็นฟ้องซ้อน ห้ามตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและที่เช่าและใช้ค่าเสียหาย คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำนืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำที่ถูกห้ามตามกฎหมาย: ประเด็นสัญญาเช่าและการเช่าช่วง
โจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกับคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3772/2529 เมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยด้วยการนำตึกแถวพิพาทไปให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนั้นย่อมผูกพันโจทก์จำเลยและผู้ร้องสอดตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้โจทก์นำสืบและฎีกามาว่า การที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงตึกแถวพิพาท โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะมีบันทึกท้ายหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนด 25 ปี และสัญญาเช่าตึกแถวยินยอมให้โจทก์นำตึกแถวพิพาทออกให้เช่าช่วงได้ และแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาตัวแทนที่ดูประหนึ่งว่ามิได้เกี่ยวกับประเด็นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3772/2529 ของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ตามเนื้อหาแห่งคดีที่โจทก์นำสืบและเนื้อความแห่งฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงว่าโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยในการที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าตึกแถวพิพาท ซึ่งเป็นการโต้เถียงในประเด็นเดียวกันกับในคดีดังกล่าวนั่นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ ศาลฎีกาหยิบยกได้ และเป็นเหตุให้ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเดิม โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกว่าผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุด โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงเดิมเช่นนี้ โจทก์สามารถขอให้บังคับดังกล่าวแก่จำเลยทั้งสองในคดีเดิม ได้อยู่แล้ว ทั้งประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคดีนี้ก็อาศัยเหตุเดียวกันกับคดีก่อนว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148. ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ จำเลยก็อ้างอิงปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยและการห้ามตาม ม.248 ป.ว.พ. กรณีทุนทรัพย์ไม่ถึง 2,000 บาท
ทรัพย์มรดกกว่าสองพันบาทโจทฟ้องแบ่งไม่ถึงสองพันบาท เมื่อสาลอุธรน์แก้ไขสาลชั้นต้นเล็กน้อย คู่ความดีกาไนข้อเท็ดจิงไม่ได้.
กรนีที่ถือว่าเปนการแก้ไขเล็กน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นเดิมที่ศาลตัดสินถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการรื้อฟื้นคดีที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
มารดาร้องขัดทรัพย์แทนบุตรสาลชี้ขาดว่าทรัพย์นั้นเปนของจำเลยและว่ามารดาไม่มีสิทธิร้องแทนบุตรเมื่อบุตรบันลุนิติภาวะแล้ว มาร้องขัดทรัพย์อีกไนประเด็นหย่างเดียวกับที่มารดาร้องขัดทรัพย์ดังนี้ ถือว่าคดีเส็ดเด็ดขาดแล้วจะมาร้องขัดทรัพย์ไหม่ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ! คำร้องถอนผู้จัดการมรดกถูกตัดสิทธิ์แล้ว ยื่นซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา ผู้คัดค้านมิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ถูกตัดไม่ให้รับมรดก ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่มีสิทธิขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องได้ ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยกเอาเหตุข้อขัดข้องในการแบ่งทรัพย์มรดกมาเป็นมูลกล่าวอ้างว่าผู้ร้องไม่ทำตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกหรือกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว เมื่อผู้คัดค้านมิได้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงถึงที่สุด มีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีกหาได้ไม่ การที่ผู้คัดค้านมายื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้อง โดยอ้างเหตุเป็นอย่างเดียวกันว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยไม่แบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านและกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตายอีก ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คำร้องขอของผู้คัดค้านจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148