พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างไม่ชอบด้วยข้อบังคับสหภาพแรงงานเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ จึงไม่มีหน้าที่จัดประชุมหารือ
ตามข้อบังคับสหภาพแรงงานธนาคารเอเซีย ข้อ 27 กำหนดว่า การประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด ซึ่งหมายถึงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการที่จดทะเบียนไว้สหภาพแรงงานธนาคารเอเซียมีคณะกรรมการสหภาพแรงงานที่จดทะเบียนไว้ 16 คน เมื่อการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างมีกรรมการสหภาพแรงงานร่วมเข้าประชุมจำนวน 7 คน จึงไม่ครบองค์ประชุม คณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย จึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประชุมหารือระหว่างจำเลยกับคณะกรรมการลูกจ้างตาม มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประชุมกรรมการบริษัท: การตีความข้อบังคับบริษัทและการประชุมที่ไม่ชอบ
โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรรมการของบริษัท ร. ข้อบังคับของบริษัท ร.ระบุว่า การประชุมกรรมการต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้ แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า บริษัท ร.มีกรรมการรวม 4 คน การปรึกษากิจการระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 จึงครบเป็นองค์ประชุมตามข้อบังคับของบริษัทแล้ว จำเลยหาได้ให้การต่อสู้คดีว่ามีการเรียกประชุมไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า มีการนัดเรียกหรือประชุมกรรมการก่อนจึงรับฟังไม่ได้ ดังนั้น เมื่อการนัดเรียกในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของบริษัทและฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้ว การประชุมดังกล่าวจึงเป็นการประชุมไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นไม่ชอบเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับบริษัทและกฎหมาย
โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร.ข้อบังคับของบริษัทร. ระบุว่าการประชุมกรรมการต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า บริษัท ร. มีกรรมการรวม4 คน การปรึกษากิจการระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2จึงครบเป็นองค์ประชุมตามข้อบังคับของบริษัทแล้ว จำเลยหาได้ให้การต่อสู้คดีว่ามีการเรียกประชุมไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า มีการนัดเรียกหรือประชุมกรรมการก่อนจึงรับฟังไม่ได้ดังนั้น เมื่อการนัดเรียกในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของบริษัทและฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้วการประชุมดังกล่าวจึงเป็นการประชุมไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567-2568/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกมูลนิธิเนื่องจากกรรมการไม่ครบองค์ประชุมและไม่สามารถหาเสียงข้างมากได้ตามกฎหมาย
การดำเนินกิจการของมูลนิธิต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของกรรมการมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 แต่กรรมการมูลนิธิบางคนตายคงเหลือเพียง 2 คน และไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ตามมาตรา 131(3) จึงต้องเลิกมูลนิธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย: อำนาจหน้าที่, องค์ประชุม, คุณสมบัติกรรมการ, และคดีมีทุนทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 10 เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของข้าราชการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่า ผู้ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวจะต้องไม่เป็นชาวไร่อ้อย กรรมการผู้จัดการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของโรงงานเท่านั้น ส่วนมาตรา 11 เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยคุณสมบัติ ฯลฯ(5) ไม่เป็นข้าราชการเมืองหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง (6) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง การแต่งตั้งข้าราชการแม้เป็นวุฒิสมาชิกแต่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 จึงมิได้มีข้อห้ามในการเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กรรมการที่มาจากข้าราชการ 3 กระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแต่งตั้งนั้นพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 9 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีการแต่งตั้งดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการนั้น ๆ และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะทั้งตามระเบียบบริการราชการแผ่นดินการแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใด ย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆ และเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่ง ไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไป ฉะนั้นหากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ การแต่งตั้งจึงชอบแล้ว การออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบ หรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 แม้ชื่อระเบียบดังกล่าวจะไม่มีคำว่าเงินรางวัลนำจับแต่ข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดระเบียบการจ่ายเงินรางวัลนำจับ การแจ้งความและการรับเงินรางวัลนำจับไว้โดยละเอียดแล้วและการกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับดังกล่าวเนื่องจากพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17(25) บัญญัติให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด คณะกรรมการจึงมีอำนาจที่จะกำหนดระเบียบที่สอดคล้องและไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่คณะกรรมการได้นำข้อความตามมาตรา 44 บางส่วนมากำหนดเป็นระเบียบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในมาตรา 17(25) และการกำหนดเบี้ยปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้เป็นบทบังคับทางแพ่งเฉพาะโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และกำหนดให้ชำระเฉพาะเงินเบี้ยปรับ มิได้มีการลงโทษทางอาญาแต่ประการใด ส่วนพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 เป็นบทบังคับบุคคลหรือนิติบุคคลรวมทั้งโรงงานซึ่งหมายความถึงผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายด้วยและบทบังคับมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับอันเป็นโทษทางอาญา ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับจึงมิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ได้มีการนำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจได้เห็นชอบในหลักการ จึงได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบถึงการออกระเบียบดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ดังกล่าวจึงถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอนตามตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมอบหมายให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ตามนัยมาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังไม่มีสถาบันชาวไร่อ้อยที่จะเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อย ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 แต่งตั้งผู้ซึ่งปลูกอ้อยเพื่อขายให้แก่โรงงานเป็นผู้แทนชาวไร่อ้อยและมาตรา 11 วรรคสี่ การเสนอและการถอดถอนผู้แทนชาวไร่อ้อยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อมารัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุนคณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทราย โดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ยังไม่มีกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ คณะกรรมการชุดเดิมจึงมีอำนาจดำเนินงานประชุมและลงมติได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้มอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน จ. รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ฉ. รองปลัดกระทรวงพาณิชย์แทนปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์และ ป.รองอธิบดีกรมการค้าภายในแทนอธิบดีกรมการค้าภายในทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บังคับบัญชาในกระทรวงที่ตนสังกัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนกันโดยชอบด้วยกฎหมายบุคคลดังกล่าวจึงมีอำนาจเข้าร่วมประชุมแทนได้ โจทก์ฟ้องว่าคณะกรรมการบริหารมีมติให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเป็นเงิน 32,786,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ แต่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายยกอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 58 ขอให้ศาลเพิกถอนมติและคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ ผลของคำพิพากษาก็คือเมื่อโจทก์ชนะคดี ทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวกรณีจึงเป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย: อำนาจองค์ประชุม การแต่งตั้งกรรมการ และการเพิกถอนมติ
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา10เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของข้าราชการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าผู้ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวจะต้องไม่เป็นชาวไร่อ้อยกรรมการผู้จัดการหรือพนักงานหรือลูกจ้างของโรงงานเท่านั้นส่วนมาตรา11เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยคุณสมบัติฯลฯ(5)ไม่เป็นข้าราชการเมืองหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง(6)ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองการแต่งตั้งข้าราชการแม้เป็นวุฒิสมาชิกแต่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา10จึงมิได้มีข้อห้ามในการเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กรรมการที่มาจากข้าราชการ3กระทรวงซึ่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแต่งตั้งนั้นพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา9ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีการแต่งตั้งดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการนั้นๆและไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะทั้งตามระเบียบบริการราชการแผ่นดินการแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใดย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้นๆและเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่งไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นตายโอนย้ายหรือลาออกจากราชการไปฉะนั้นหากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้นๆได้การแต่งตั้งจึงชอบแล้ว การออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ฉบับที่1พ.ศ.2528แม้ชื่อระเบียบดังกล่าวจะไม่มีคำว่าเงินรางวัลนำจับแต่ข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดระเบียบการจ่ายเงินรางวัลนำจับการแจ้งความและการรับเงินรางวัลนำจับไว้โดยละเอียดแล้วและการกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับดังกล่าวเนื่องจากพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา17(25)บัญญัติให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนดคณะกรรมการจึงมีอำนาจที่จะกำหนดระเบียบที่สอดคล้องและไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่คณะกรรมการได้นำข้อความตามมาตรา44บางส่วนมากำหนดเป็นระเบียบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในมาตรา17(25)และการกำหนดเบี้ยปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้เป็นบทบังคับทางแพ่งเฉพาะโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบและกำหนดให้ชำระเฉพาะเงินเบี้ยปรับมิได้มีการลงโทษทางอาญาแต่ประการใดส่วนพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527เป็นบทบังคับบุคคลหรือนิติบุคคลรวมทั้งโรงงานซึ่งหมายความถึงผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายด้วยและบทบังคับมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับอันเป็นโทษทางอาญาระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับจึงมิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527 ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่1พ.ศ.2528ได้มีการนำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจได้เห็นชอบในหลักการจึงได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบถึงการออกระเบียบดังกล่าวและคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่1พ.ศ.2528ดังกล่าวจึงถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอนตามตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา17แล้ว การที่จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมอบหมายให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยและน้ำตาลทรายนั้นตามนัยมาตรา80วรรคสองบัญญัติว่าในระหว่างที่ยังไม่มีสถาบันชาวไร่อ้อยที่จะเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527แต่งตั้งผู้ซึ่งปลูกอ้อยเพื่อขายให้แก่โรงงานเป็นผู้แทนชาวไร่อ้อยและมาตรา11วรรคสี่การเสนอและการถอดถอนผู้แทนชาวไร่อ้อยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อมารัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหารคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะกรรมการอ้อยและคณะกรรมการน้ำตาลทรายโดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่างๆดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ยังไม่มีกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่คณะกรรมการชุดเดิมจึงมีอำนาจดำเนินงานประชุมและลงมติได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในคณะกรรมการต่างๆตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้มอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนจ.รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมฉ. รองปลัดกระทรวงพาณิชย์แทนปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์และป.รองอธิบดีกรมการค้าภายในแทนอธิบดีกรมการค้าภายในทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บังคับบัญชาในกระทรวงที่ตนสังกัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนกันโดยชอบด้วยกฎหมายบุคคลดังกล่าวจึงมีอำนาจเข้าร่วมประชุมแทนได้ โจทก์ฟ้องว่าคณะกรรมการบริหารมีมติให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเป็นเงิน32,786,000บาทโจทก์อุทธรณ์แต่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายยกอุทธรณ์โจทก์จึงมาฟ้องตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา58ขอให้ศาลเพิกถอนมติและคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับผลของคำพิพากษาก็คือเมื่อโจทก์ชนะคดีทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวกรณีจึงเป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทเมื่อกรรมการลาออก – องค์ประชุม – การเพิ่มกรรมการ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โดยอ้างเหตุว่ากรรมการผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งได้ลาออกเป็นเหตุให้กรรมการที่เหลือไม่สามารถทำกิจการของบริษัทได้ตามข้อบังคับ เหตุที่ผู้ร้องอ้างดังกล่าวเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้ จึงต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1159 กรรมการที่มีตัวอยู่คือผู้ร้องย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้น จะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายในการออกระเบียบและแต่งตั้งกรรมการ รวมถึงองค์ประชุมและความชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2427 บัญญัติว่า "คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้...
(25) กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด..."และวรรคสองบัญญัติว่า "การกำหนดตาม...(25)... ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี" เมื่อปรากฏตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วย เบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบนั้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว ระเบียบนี้จึงเป็นระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายและได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ ทั้งไม่เป็นการออกระเบียบที่ซ้ำซ้อนหรือมีบทลงโทษที่หนักกว่าโทษสำหรับความผิดฐานขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงานตามบทบัญญัติมาตรา 44 (7)และ 71 แห่ง พ.ร.บ. และน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 เพราะเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ตามระเบียบดังกล่าวสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมิใช่โทษอาญาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 44 (7)และ 71 ดังกล่าว หากแต่เป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบนั้น ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นระเบียบที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คำว่า "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มาตรา20 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า"คณะกรรมการบริหาร"..." ได้ และตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการน้ำตาลทราย"..."ดังนี้ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการน้ำตาลทราย หาใช่อำนาจของรัฐมนตรีไม่
คณะที่ปรึกษากฎหมายไม่ใช่คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายแต่งตั้งขึ้นเพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติการแทนคณะกรรมการน้ำตาลทรายดังที่บัญญัติไว้ มาตรา 42 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527 คณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่จำต้องมีคุณสมบัติ จำนวน และสัดส่วนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว แต่การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อนำความเห็นทางกฎหมายของคณะที่ปรึกษามาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการน้ำตาลทรายเท่านั้น คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจอิสระที่จะรับฟังหรือไม่รับฟังความเห็นของคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ ทั้งการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การแต่งตั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 21 คน ปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 1/2532 ที่คณะกรรมการให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีกรรมการเข้าประชุม 13 คน ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด การประชุมดังกล่าวจึงมีกรรมการมาประชุมครบองค์ประชุมชอบด้วยมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามบทบัญญัติมาตรา 9 ดังกล่าว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเข้าประชุมด้วยตนเอง และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน เมื่อกรรมการนั้นไม่อาจมาปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกระทรวงหรือกรมที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ไปปฏิบัติราชการแทนในฐานะผู้แทนได้ การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อ้างว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยที่ 4 กรรมการดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง มีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการ และนายสุทธิพรเกริกกฤตยา มิใช่ชาวไร่อ้อย ไม่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการนั้น ปรากฏว่าข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้อง แม้โจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
(25) กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด..."และวรรคสองบัญญัติว่า "การกำหนดตาม...(25)... ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี" เมื่อปรากฏตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วย เบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบนั้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว ระเบียบนี้จึงเป็นระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายและได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ ทั้งไม่เป็นการออกระเบียบที่ซ้ำซ้อนหรือมีบทลงโทษที่หนักกว่าโทษสำหรับความผิดฐานขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงานตามบทบัญญัติมาตรา 44 (7)และ 71 แห่ง พ.ร.บ. และน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 เพราะเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ตามระเบียบดังกล่าวสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมิใช่โทษอาญาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 44 (7)และ 71 ดังกล่าว หากแต่เป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบนั้น ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นระเบียบที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คำว่า "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มาตรา20 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า"คณะกรรมการบริหาร"..." ได้ และตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการน้ำตาลทราย"..."ดังนี้ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการน้ำตาลทราย หาใช่อำนาจของรัฐมนตรีไม่
คณะที่ปรึกษากฎหมายไม่ใช่คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายแต่งตั้งขึ้นเพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติการแทนคณะกรรมการน้ำตาลทรายดังที่บัญญัติไว้ มาตรา 42 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527 คณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่จำต้องมีคุณสมบัติ จำนวน และสัดส่วนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว แต่การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อนำความเห็นทางกฎหมายของคณะที่ปรึกษามาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการน้ำตาลทรายเท่านั้น คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจอิสระที่จะรับฟังหรือไม่รับฟังความเห็นของคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ ทั้งการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การแต่งตั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 21 คน ปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 1/2532 ที่คณะกรรมการให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีกรรมการเข้าประชุม 13 คน ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด การประชุมดังกล่าวจึงมีกรรมการมาประชุมครบองค์ประชุมชอบด้วยมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามบทบัญญัติมาตรา 9 ดังกล่าว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเข้าประชุมด้วยตนเอง และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน เมื่อกรรมการนั้นไม่อาจมาปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกระทรวงหรือกรมที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ไปปฏิบัติราชการแทนในฐานะผู้แทนได้ การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อ้างว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยที่ 4 กรรมการดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง มีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการ และนายสุทธิพรเกริกกฤตยา มิใช่ชาวไร่อ้อย ไม่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการนั้น ปรากฏว่าข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้อง แม้โจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับโรงงานน้ำตาล: การแต่งตั้งกรรมการ, องค์ประชุม, และการพิจารณาอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ฉบับที่1พ.ศ.2528ออกโดยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามอำนาจในมาตรา17วรรคหนึ่ง(25)แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527และได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วทั้งไม่เป็นระเบียบที่ซ้ำซ้อนหรือมีบทลงโทษที่หนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวเพราะเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ตามระเบียบมิใช่โทษทางอาญาหากแต่เป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับผู้ฝ่าฝืนระเบียบเท่านั้นระเบียบดังกล่าวจึงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการน้ำตาลทรายตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา4,20วรรคหนึ่งและมาตรา41วรรคหนึ่งหาใช่อำนาจของรัฐมนตรีไม่ คณะที่ปรึกษากฎหมายไม่ใช่คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา42วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527จึงไม่จำต้องมีคุณสมบัติจำนวนและสัดส่วนตามบทบัญญัติดังกล่าว กรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามบทบัญญัติมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติ อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ซึ่งเป็นข้าราชการไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเข้าประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทนจึงอาจมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดไปประชุมแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, องค์ประชุม, การมอบอำนาจประชุม, และการบังคับใช้ระเบียบเบี้ยปรับ
มาตรา17วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2427บัญญัติว่า"คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (25)กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด"และวรรคสองบัญญัติว่า"การกำหนดตาม(25)ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี"เมื่อปรากฎตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527ฉบับที่1พ.ศ.2528ว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบนั้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วระเบียบนี้จึงเป็นระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายและได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ทั้งไม่เป็นการออกทะเบียนที่ซ้ำซ้อนหรือมีบทลงโทษที่หนักกว่าโทษสำหรับความผิดฐานขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงานตามบทบัญญัติมาตรา44(7)และ71แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527เพราะเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ตามระเบียบดังกล่าวสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมิใช่โทษอาญาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา44(7)และ71ดังกล่าวหากแต่เป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบนั้นระเบียบดังกล่าวจึงเป็นระเบียบที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527คำว่า"คณะกรรมการ"หมายความว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมาตรา20วรรคหนึ่งบัญญัติว่า"ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า"คณะกรรมการบริหาร"ได้และตามมาตรา41วรรคหนึ่งบัญญัติว่า"ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า"คณะกรรมการน้ำตาลทราย"ดังนี้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการน้ำตาลทรายหาใช่อำนาจของรัฐมนตรีไม่ คณะที่ปรึกษากฎหมายไม่ใช่คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายแต่งตั้งขึ้นเพื่อมอบหมายให้ปฎิบัติการแทนคณะกรรมการน้ำตาลทรายดังที่บัญญัติไว้มาตรา42วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527คณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่จำต้องมีคุณสมบัติจำนวนและสัดส่วนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวแต่การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อนำความเห็นทางกฎหมายของคณะที่ปรึกษามาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการน้ำตาลทรายเท่านั้นคณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจอิสระที่จะรับฟังหรือไม่รับฟังความเห็นของคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ทั้งการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ไม่มีกฎหมายห้ามไว้การแต่งตั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด21คนปรากฎตามรายงานการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายครั้งที่1/2535ที่คณะกรรมการให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีกรรมการเข้าประชุม13คนซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดการประชุมดังกล่าวจึงมีกรรมการมาประชุมครบองค์ประชุมชอบด้วยมาตรา15วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมปลัดกระทรวงพาณิชย์และอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามบทบัญญัติมาตรา9ดังกล่าวซึ่งการปฎิบัติหน้าที่ของกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเข้าประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดปฎิบัติหน้าที่แทนเมื่อกรรมการนั้นไม่อาจมาปฎิบัติหน้าที่ได้ก็ย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกระทรวงหรือกรณีที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ไปปฎิบัติราชการแทนในฐานผู้แทนได้การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่โจทก์อ้างว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะจำเลยที่4กรรมการดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมืองมีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการและส.มิใช่ชาวไร่อ้อยไม่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการนั้นปรากฎว่าข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้องแม้โจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็ถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้