พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายของสัญญาเช่า ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
สัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าระบุไว้แต่เพียงว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์เท่านั้นการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์3ชั้นและ2ชั้นหน้ากว้าง4เมตรลึก14ถึง16เมตรเป็นการนำสืบอธิบายความหมายของคำว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ในสัญญาไม่ใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์จึงนำพยานบุคคลมาสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและหมิ่นประมาทจากคำบรรยายฟ้อง: การอธิบายความหมายถ้อยคำไม่ถือเป็นยืนยันข้อเท็จจริง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ คือ 'ถ้อยคำพูด' ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญากู้ที่ไม่ชัดเจนเรื่องอัตราดอกเบี้ย ศาลอนุญาตให้สืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายได้
เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้แต่เพียงร้อยละห้าไม่ชัดเจนว่าร้อยละห้าสลึงหรือร้อยละห้าบาท โจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ มิใช่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ไม่มีดอกเบี้ย การทำนาต่างดอกเบี้ยเป็นการอธิบายความหมายสัญญากู้ การไถนาทับที่ถือเป็นการทำละเมิด
หนังสือสัญญากู้ที่จำเลยกู้เงินโจทก์มีข้อความว่า ไม่มีดอกเบี้ย โจทก์มีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ว่าไม่มีดอกเบี้ยที่คิดเป็นเงิน แต่จำเลยยอมให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ยเพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ หาใช่เป็นการสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ไม่
จำเลยมอบนาให้โจทก์ทำต่างดอกเบี้ย และโจทก์ได้เข้าทำนาตลอดมา เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้ และโจทก์ยังไม่ส่งมอบนาคืน การที่จำเลยเข้าไปไถนาทับที่ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยมอบนาให้โจทก์ทำต่างดอกเบี้ย และโจทก์ได้เข้าทำนาตลอดมา เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้ และโจทก์ยังไม่ส่งมอบนาคืน การที่จำเลยเข้าไปไถนาทับที่ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์