คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความหมาย "อาวุธปืน" ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ครอบคลุมทั้งปืนมีทะเบียนและไม่มีทะเบียน การพาอาวุธปืนติดตัวต้องได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 4 ให้คำนิยามคำว่า "อาวุธปืน" ว่าหมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์" จากบทบัญญัติดังกล่าว อาวุธปืนตามความหมายของมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงมีความหมายตามคำนิยายคำว่าอาวุธปืน ซึ่งรวมถึงอาวุธที่มีหมายเลขทะเบียนและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครอง และอาวุธปืนที่ไม่มีหมายเลขทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครอง และอาวุธปืนที่ไม่มีหมายเลขทะเบียนและไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครองด้วย มิได้หมายความเฉพาะอาวุธปืนซึ่งมีหมายเลขทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครองเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังให้การแล้ว ศาลต้องฟังจำเลยก่อนห้ามอนุญาตทันที
ในคดีที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้อง ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) กำหนดให้ศาลฟังว่าจำเลยจะยินยอมให้โจทก์ถอนฟ้องหรือจะคัดค้านประการใด เพื่อประโยชน์ที่ศาลจะได้นำมาประกอบการพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรดังที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้นั้นต่อไป หากศาลยังมิได้ฟังจำเลยก่อนย่อมต้องห้ามตามกฎหมายไม่ให้ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ดังนั้นการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 ภายหลังจำเลยให้การต่อสู้คดีและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความในวันเดียวกันนั้น โดยปรากฏว่าจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องในวันที่ 22 ธันวาคม 2547 โดยไม่มีโอกาสได้คัดค้านหรือไม่คัดค้านในการที่โจทก์ถอนฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปก่อนที่จะได้ฟังจำเลยเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์หลังหมดอายุสติกเกอร์อนุญาต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
สติกเกอร์ที่ติดอยู่ที่ตู้เพลงจำเลยหมดอายุเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2547 จนถึงวันเกิดเหตุวันที่ 4 มิถุนายน 2547 จำเลยจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานเพลงของโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำวีดีโอซีดีที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 30 (2) และมาตรา 70 วรรคสอง หาใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิอยู่ก่อนและสติกเกอร์ขาดอายุการใช้งานจึงเป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ แม้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากเจ้าของสิทธิบัตร
บริษัทโจทก์ไม่เคยยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย แต่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสิทธิบัตรดังกล่าวจึงย่อมได้รับความคุ้มครองเฉพาะภายในอาณาเขตประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นที่มีกฎหมายยอมรับบังคับให้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรดังกล่าวจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรหรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ดังกล่าวไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้นโจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบด้วยมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 85

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุญาตอุทธรณ์ในคดีเยาวชนและครอบครัว: อธิบดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีอำนาจเฉพาะคดีในเขตอำนาจศาลตนเอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 122 ได้บัญญัติเรื่องการอนุญาตให้อุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแล้ว การพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์จึงต้องเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้นเท่านั้น อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางไม่มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกฟ้องประเด็นการอนุญาตประกอบธุรกิจลิสซิ่งนอกประเด็นข้อพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจในการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ประกอบธุรกิจดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ปัญหาข้อนี้และศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความมิได้นำสืบและมิใช่ประเด็นแห่งคดีขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือประเด็นข้อพิพาท ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6980/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า แม้สัญญาอนุญาตจะโมฆะ แต่เจ้าของเครื่องหมายยังฟ้องละเมิดได้ หากจำเลยใช้เครื่องหมายต่อหลังบอกเลิก
แม้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ "เลมอนกรีน (LEMON GREEN)" ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้อนุญาตให้จำเลยใช้เครื่องหมายบริการดังกล่าวโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนอันเป็นผลให้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับสิทธิหรือกล่าวอ้างสิทธิตามสัญญาแต่อย่างใด แต่ฟ้องกล่าวหาจำเลยกระทำละเมิดสิทธิในเครื่องหมายบริการของโจทก์ โดยจำเลยยังคงใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์ หลังจากที่โจทก์ได้แจ้งบอกเลิกการอนุญาตให้ใช้แล้ว โจทก์ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วซึ่งมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายบริการนั้นสำหรับบริการที่ได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 ย่อมมีสิทธิฟ้องว่าจำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายบริการของโจทก์ได้
การที่จำเลยเคยใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์ทั้งหมดให้ประชาชนได้เห็นแล้วต่อมาจำเลยเพียงแต่ลอกป้ายส่วนที่เป็นรูปและคำว่า "LEMON" ออกโดยป้ายต่างๆ ยังติดตั้งอยู่ที่เดิม ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่เคยเห็นป้ายร้านค้าของจำเลยดังกล่าวเข้าใจได้ว่าร้านค้าของจำเลยยังเป็นร้าน LEMON GREEN อยู่ส่วนรูปและคำว่า "LEMON" ที่หายไปนั้นก็อาจเข้าใจว่าเป็นเพราะป้ายได้รับความเสียหายเท่านั้น ถือว่าจำเลยยังใช้เครื่องหมายบริการของโจทก์อยู่อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่า หากจำเลยไม่ดำเนินการถอดป้ายและลบเครื่องหมายบริการของโจทก์ออกจากร้านค้าของจำเลย โจทก์ขอถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยให้โจทก์เข้าไปถอดป้ายและลบเครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าวได้โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้น หากโจทก์จะกระทำการดังกล่าวย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของจำเลยโดยไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดให้อำนาจแก่โจทก์ดำเนินการเช่นนั้นได้ คำขอในส่วนนี้ของโจทก์ จึงเป็นคำขอที่ไม่อาจพิพากษาบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเมื่อมีคัดค้าน - ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์แล้วมีคำสั่งให้ส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ แต่เมื่อจำเลยได้ยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำแก้อุทธรณ์แล้ว จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเมื่อมีคู่ความคัดค้าน เป็นการขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์แล้วมีคำสั่งให้ส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ แต่จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำแก้อุทธรณ์แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นส่งอุทธรณ์ของผู้ร้องต่อศาลฎีกาจึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามความประสงค์ของผู้พิพากษาที่จำเลยระบุชื่อเท่านั้น
ป.วิ.อ. มาตรา 221 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติหรือวางหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 คือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ซึ่งตามคำร้องฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2547 จำเลยระบุชื่อขอให้ อ. ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงคนเดียวเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาอื่นอีก การที่ อ. ไม่สั่งคำร้องดับกล่าว แต่กลับส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ ท. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องเป็นผู้พิจารณาดังนั้น แม้ ท. จะพิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาจให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่จำเลยจะฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยที่ขอให้ อ. เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ
of 94