พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตก่อสร้างภายหลังกฎกระทรวงหมดอายุ: เจ้าของที่ดินมีสิทธิหากไม่มีกฎหมายห้าม
โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารภายหลังจากที่กฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่บริเวณที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเป็นเขตพื้นที่สีเขียวอ่อนสิ้นผลบังคับใช้ไปแล้ว จึงไม่มีกฎหมายใด ๆ กำหนดว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตพื้นที่สีเขียวอ่อนซึ่งห้ามเจ้าของที่ดินก่อสร้างอาคาร ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขออนุญาตโดยถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตก่อสร้างและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การแบ่งแยกที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย และอำนาจฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสามที่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและให้จำเลยทั้งสามออกใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารที่ขอตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา26วรรคหนึ่งซึ่งมาตรา52บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยก็เสนอคดีต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามทันทีแทนที่จะอุทธรณ์และนำคดีขึ้นสู่ศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายจึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนคำขอที่ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในข้อนี้ ที่ดินที่โจทก์จะปลูกสร้างอาคารแต่เดิมอยู่ติดซอยซึ่งการปลูกสร้างอาคารบนที่ดินนั้นต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพประกาศกรุงเทพมหานครและกฎกระทรวงซึ่งเป็นผลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามที่ขอได้การที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินนั้นออกเป็น2โฉนดแล้วขออนุญาตปลูกสร้างอาคารบนที่ดินตามโฉนดที่แบ่งแยกมาส่วนโฉนดที่ดินเดิมโอนให้บุคคลอื่นเพื่อให้มีรอยตะเข็บกั้นไม่ให้ที่ดินตามโฉนดที่แบ่งแยกมีอาณาเขตติดซอยเห็นได้ว่ามีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจึงไม่อาจอ้างความเสียหายที่ได้รับจากการดังกล่าวมาเรียกร้องทางละเมิดแก่จำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7496/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลย 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจากความล่าช้าการอนุญาตก่อสร้าง แม้มีเหตุผลด้านนโยบาย แต่ไม่สามารถอ้างได้
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 26 และมาตรา 27 กำหนดเวลาไว้เป็นการเด็ดขาด กล่าวคือเมื่อผู้ขอใบอนุญาตเสนอแบบแปลน แผนผังบริเวณ รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องออกใบอนุญาตหรือมีคำสั่ง ไม่อนุญาตและแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบโดยตรง ไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 และมิอาจอ้างเหตุอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 มาเป็นเหตุไม่มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์ที่ขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารจนพ้นกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 26 เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้ข้ออ้างในการที่ไม่มีคำสั่งตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จะเป็นเรื่องของการรักษาผลประโยชน์สาธารณะตามอำนาจหน้าที่อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอ้างมาทำให้โจทก์ต้องรับภาระนั้นแต่ผู้เดียวได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ความเสียหายจากการที่โจทก์มิได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตนตามบทกฎหมายและกฎข้อบังคับที่ชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ในฐานะดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ในการสั่งการวินิจฉัย ที่จำเลยที่ 2 มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่จนพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายก็เพราะจำเลยที่ 2 คำนึงถึงนโยบายของจำเลยที่ 1 และรัฐมนตรี ที่จะอนุรักษ์บริเวณที่โจทก์ขอใบอนุญาตก่อสร้างไว้เป็น บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2มีเจตนาไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การสั่งการวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ในพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมอยู่ภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงได้รับยกเว้นตามกฎหมายไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ค่ามัดจำที่ดินที่โจทก์จะซื้อเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคาร เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโจทก์จึงไม่ได้ซื้อที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงถูกริบมัดจำไปเป็นค่าเสียหายพิเศษที่โจทก์ได้รับ กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1ย่อมไม่เคยทราบความเสียหายที่จะเกิดนี้มาก่อน ทั้งโจทก์ก็ไม่เคยแจ้งเตือนจำเลยที่ 1 จึงเป็นค่าเสียหายไกลกว่าเหตุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย ค่าออกแบบ ค่าคำนวณการก่อสร้างของสถาปนิกและวิศวกรนั้น เมื่อโจทก์จะก่อสร้างอาคารตามที่ขออนุญาต โจทก์ต้องยื่น แบบแปลนรายการคำนวณและผังแบบแปลนตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์ได้จ่ายค่าจ้างศึกษาโครงการแล้ว แต่โจทก์จะตัดสินใจดำเนินการหรือไม่อยู่ที่ว่าโครงการนั้นคุ้มค่าลงทุนหรือไม่ หากไม่คุ้มค่าลงทุนโจทก์ก็ต้องงดโครงการ และย่อมต้องเสียค่าศึกษาโครงการอยู่ดี ค่าศึกษาโครงการจึงเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ ค่าเสียโอกาสและเวลานั้น หากโครงการของโจทก์ได้รับอนุญาต แล้วกิจการของโจทก์อาจไม่ประสบความสำเร็จและประสบการขาดทุน ก็ได้ ไม่มีความแน่นอน การที่โจทก์ไม่ได้ก่อสร้างอาคาร ตามโครงการจะถือว่าเป็นการเสียโอกาสและเวลาที่จำเลย ต้องรับผิดชดใช้ให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการดัดแปลงโครงสร้างอาคารที่ผิดกฎหมาย
จำเลยขออนุญาตก่อสร้างอาคารสูงสี่ชั้น แต่ทำการก่อสร้างเป็นอาคารสูงห้าชั้นเป็นการก่อสร้างเพิ่มทั้งจำนวนชั้นและความสูงของอาคาร เมื่อความสูงของอาคารเป็นส่วนที่จะต้องนำมาใช้คำนวณโครงสร้างของอาคารตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การก่อสร้างอาคารของจำเลย จึงเป็นการเพิ่มเติมส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคารเป็นการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการอนุญาตก่อสร้าง และการฟ้องคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 4 จำเลยที่1มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 8 ให้นายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งสุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าพนักงานท้องถิ่น"' หมายความว่า ฯลฯ (2) ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาลเมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทบัญญัติให้สุขาภิบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายและใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารแต่อย่างใดเลย การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 21, 22, 23 และมาตรา 24 นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตดังนั้น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือประธานกรรมการสุขาภิบาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตปลูกอาคารชิดเขตที่ดินและการละเมิดสิทธิของเจ้าของที่ดินข้างเคียง
การที่เทศบาลอนุญาตให้จำเลยปลูกอาคารชิดแนวเขตที่ดินของโจทก์โดยไม่เว้นระยะ 50 เซนติเมตรอันเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัตินั้น เทศบัญญัตินี้มิได้บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินข้างเคียงราคาตกต่ำและมิใช่กฎหมายที่ประสงค์จะปกป้องโจทก์ จะถือว่าการฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเป็นการทำให้โจทก์เสียหายโดยผิดกฎหมายเพราะเหตุนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 ยังมิได้ การกระทำของเทศบาลยังไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 มิได้บัญญัติถึงกับให้เจ้าของที่ดินติดต่อต้องงดเว้นไม่ก่อสร้างสิ่งใดลงใกล้แนวเขตที่ดินเสียเลยและตลอดไป.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 มิได้บัญญัติถึงกับให้เจ้าของที่ดินติดต่อต้องงดเว้นไม่ก่อสร้างสิ่งใดลงใกล้แนวเขตที่ดินเสียเลยและตลอดไป.