คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาตศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8535/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำสัญญาโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มีผลผูกพัน
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงที่ว่า จำเลยทั้งหกขอถอนชื่อออกจากโฉนดที่ดินพิพาทในเฉพาะส่วนของ ส. นั้น ย่อมมีผลทำให้ที่ดินดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การถอนชื่อจำเลยที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ออกจากโฉนดดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการกระทำให้สิ้นสุดลงบางส่วนซึ่งทรัพย์สินของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และเป็นการประนีประนอมยอมความ จึงเป็นนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (2) และ (12) เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมดังกล่าว ซึ่งหมายรวมถึงทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบกรรม มีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 5 และที่ 6 ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตจากศาล บันทึกข้อตกลงการถอนชื่อจากโฉนดที่ดินดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 5 และที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
อำนาจของผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษและเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแห่งประเทศอังกฤษจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศใดย่อมเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงเรื่องอำนาจของผู้จัดการมรดกว่าต้องใช้กฎหมายใดบังคับ กรณีจึงต้องใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับ ซึ่งตามกฎเกณฑ์ทั่วไปนั้น กฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับอาจเป็นกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา เมื่อโจทก์มีสัญชาติอังกฤษและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้หลักกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมได้แก่กฎหมายแห่งประเทศอังกฤษแต่การที่ต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่กรณีเช่นนี้เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศนั้นบัญญัติไว้อย่างไร เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นเป็นที่ชัดแจ้งว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษบัญญัติไว้เช่นนั้นจริง กรณีนี้จึงต้องใช้กฎหมายภายในประเทศไทยบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 บัญญัติถึงเรื่องการที่บุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ถ้าผู้จัดการมรดกบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลร่วมกับจ. จึงไม่อาจนำมาตรา 1715 มาใช้บังคับได้เมื่อ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์เพียงคนเดียวจะฟ้องคดีนี้ต่อไปตามลำพังโดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9414/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูให้เพียงพอแก่อัตภาพ ถ้าหากไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 ดังนั้น สิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์ บันทึกที่ระบุว่าโจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ภ. ตกลงยินยอมรับเงินจำนวน 100,000 บาท เพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู ภ. จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอีก จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของ ภ. ผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) ซึ่งห้ามผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นนิติกรรมเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของผู้เยาว์เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น ไม่ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เยาว์จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ตาม ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ภ. ผู้เยาว์ ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตศาลก่อน แม้ศาลอนุญาตย้อนหลังก็ไม่ทำให้ความผิดหมดไป
ตามบทบัญญัติมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างด้วยเหตุอันใด นายจ้างจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อนเสมอจึงจะเลิกจ้างได้
จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางก่อน เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต้องรับโทษตาม มาตรา 143 และต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่วันดังกล่าว แม้ต่อมาภายหลังจำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ร่วม และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ก็ตาม ก็ไม่มีผลให้การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เป็นความผิดอยู่แล้วกลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้เยาว์เกี่ยวข้อง โมฆะหากไม่มีอนุญาตศาล
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์เข้าทำสัญญาดังกล่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในอันที่จะคุ้มครองผู้เยาว์ แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วยการแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ1ใน5 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับมรดกที่ทำโดยผู้จัดการมรดกแทนบุตรผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาลจึงมีผลผูกพัน
โจทก์เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ท. บิดา พ. จำเลยเป็นภริยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. เจ้ามรดก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ท. อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกได้แก่ บุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงเป็นนิติกรรมที่ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(8) และไม่มีผลบังคับถึงมรดกของ พ. ทั้งหมดที่ตกได้แก่ทายาท จึงไม่มีสิทธิของ ท. อันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวอันจะพึงตกได้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมของ ท. ดังนั้น โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับมรดกของบุตรผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ท.บิดาพ. จำเลยเป็นภริยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. เจ้ามรดก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ท.อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของพ.ที่ตกได้แก่ บุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงเป็นนิติกรรมที่ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(8) และไม่มีผลบังคับถึงมรดกของ พ.ทั้งหมดที่ตกได้แก่ทายาทจึงไม่มีสิทธิของท. อันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวอันจะพึงตกได้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมของ ท. ดังนั้น โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้หักเงินบำเหน็จตกทอดชำระหนี้แทนผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การรับเงินโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเหตุให้เรียกคืนได้
เงินบำเหน็จตกทอดซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย มิใช่มรดกของผู้ตาย
โจทก์เป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจะทำนิติกรรมที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้ชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ผู้ตาย และได้รับเงินบำเหน็จตกทอดไปเป็นการชำระหนี้โดยมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้เยาว์ และถือได้ว่าเป็นการได้ซึ่งทรัพย์สินโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตศาล แม้มีพฤติกรรมผิดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
แม้กรรมการลูกจ้างจะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 123 ก็ตาม แต่การที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน
of 4