พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7716/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่และมิได้เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป การฉีดพลาสติกขึ้นรูปไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ใหม่
อนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ใช้ชื่อและแสดงถึงสิ่งประดิษฐ์ว่าเป็นโต๊ะที่ประกอบจากชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปครั้งเดียว โดยมีคำอธิบายส่วนภูมิหลังว่าวิธีการดังกล่าวจะช่วยลดความเสียหายจากขั้นตอนของการต่อชิ้นส่วน หากผู้ประกอบไม่ชำนาญพอ และอื่นๆ โดยมีข้อถือสิทธิในวิธีการประดิษฐ์ว่าเป็นโต๊ะที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะซึ่งทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียวและมีบทสรุปว่า โต๊ะมีลักษณะประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะที่ขึ้นรูปครั้งเดียว ความสำคัญของอนุสิทธิบัตรของจำเลยจึงเป็นเรื่องของกรรมวิธีการประดิษฐ์เมื่อชุดขาโต๊ะตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยทำการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียวตรงกับฟ้องโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 นว วรรคสองแล้ว
คำขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลยมีชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือโต๊ะที่ประกอบจากชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปครั้งเดียวและตามข้อถือสิทธิว่าการประดิษฐ์ที่ขอคุ้มครองคือโต๊ะที่มีลักษณะประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียว สาระสำคัญทางการประดิษฐ์ที่จำเลยจดอนุสิทธิบัตรคือการฉีดพลาสติกขาโต๊ะขึ้นรูปครั้งเดียว แต่การฉีดขึ้นรูปพลาสติกเพียงครั้งเดียวเป็นวิธีการผลิตที่มีมานานแล้ว งานประดิษฐ์ของจำเลยจึงมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามความหมายในมาตรา 65 ทวิ ประกอบด้วย มาตรา 6 วรรค (1) (2) และมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 รวมถึงข้อถือสิทธิที่กล่าวถึงการประกอบขาโต๊ะทั้งสองด้านเข้าด้วยกันโดยใช้ท่อหรือคานเหล็กสองเส้นที่เจาะเป็นช่องทั้งปลายบนและล่างเพื่อใช้สกรูยึดด้านบน ส่วนด้านล่างใช้สำหรับสอดใส่ตะแกรง รวมทั้งลวดลายประกอบขาโต๊ะซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงรายละเอียดที่ไม่ซับซ้อนดังมีคำอธิบายอยู่ในหนังสือ การออกแบบเครื่องเรือน ซึ่งเป็นหนังสือคู่มือการศึกษาที่แพร่หลายมาก่อนหน้าวันขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลย จึงถือว่าไม่ใช่การประดิษฐ์ใหม่เช่นกัน กรณีมีเหตุที่ควรเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลย
คำขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลยมีชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือโต๊ะที่ประกอบจากชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปครั้งเดียวและตามข้อถือสิทธิว่าการประดิษฐ์ที่ขอคุ้มครองคือโต๊ะที่มีลักษณะประกอบด้วยชิ้นส่วนขาโต๊ะทำจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปครั้งเดียว สาระสำคัญทางการประดิษฐ์ที่จำเลยจดอนุสิทธิบัตรคือการฉีดพลาสติกขาโต๊ะขึ้นรูปครั้งเดียว แต่การฉีดขึ้นรูปพลาสติกเพียงครั้งเดียวเป็นวิธีการผลิตที่มีมานานแล้ว งานประดิษฐ์ของจำเลยจึงมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามความหมายในมาตรา 65 ทวิ ประกอบด้วย มาตรา 6 วรรค (1) (2) และมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 รวมถึงข้อถือสิทธิที่กล่าวถึงการประกอบขาโต๊ะทั้งสองด้านเข้าด้วยกันโดยใช้ท่อหรือคานเหล็กสองเส้นที่เจาะเป็นช่องทั้งปลายบนและล่างเพื่อใช้สกรูยึดด้านบน ส่วนด้านล่างใช้สำหรับสอดใส่ตะแกรง รวมทั้งลวดลายประกอบขาโต๊ะซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงรายละเอียดที่ไม่ซับซ้อนดังมีคำอธิบายอยู่ในหนังสือ การออกแบบเครื่องเรือน ซึ่งเป็นหนังสือคู่มือการศึกษาที่แพร่หลายมาก่อนหน้าวันขอรับอนุสิทธิบัตรของจำเลย จึงถือว่าไม่ใช่การประดิษฐ์ใหม่เช่นกัน กรณีมีเหตุที่ควรเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์หากมีการประดิษฐ์ที่ใช้แพร่หลายก่อนวันขอรับสิทธิบัตร การนำเข้าสินค้าที่เหมือนกับอนุสิทธิบัตรไม่ถือเป็นการละเมิด
ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.2 ที่บริษัท ก. และบริษัท ซ. นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ และ ว.จ.3 กับถุงห่อผลไม้ของจำเลยตามวัตถุพยานหมาย ว.ล.3 มีลักษณะเหมือนกัน กล่าวคือ เป็นถุง 2 ชั้น มีถุงห่อหุ้มชั้นนอกและถุงห่อหุ้มชั้นในถุงห่อหุ้มชั้นนอกมีการเคลือบสีดำอยู่ด้านในเพื่อกรองแสงไม่ให้แสงสว่างเข้าไปในถุงและถุงห่อหุ้มชั้นในเคลือบด้วยคาร์บอนอยู่อีกชั้นหนึ่ง ถุงห่อหุ้มชั้นนอกและชั้นในมีปลายเปิดด้านบนสำหรับรองรับการสอดเข้าของผลไม้ที่ต้องการห่อ ด้านล่างของถุงห่อหุ้มชั้นนอกมีรูเจาะทะลุถึงด้านล่างของถุงห่อหุ้มชั้นใน และด้านล่างของถุงห่อหุ้มชั้นนอกจะเป็นช่องเว้าออกด้านข้างมีรูเจาะทะลุถึงด้านในของถุงห่อหุ้มชั้นในบริเวณก้นถุงมีรูระบายน้ำและระบายอากาศมีปีกที่มีลวดเหล็กอยู่ข้างในยื่นออกมาเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ปีกที่ลวดเหล็กอยู่คนละด้านกันซึ่งปีกที่ยื่นออกมาจะใช้ในการรัดกิ่งไม้หรือใช้มัดปากถุงไม่ให้ถุงห่อผลไม้หลุดออกจากผลไม้ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 มีลักษณะเหมือนกับถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.ล.3 ของจำเลย และการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 เหมือนกับข้อถือสิทธิสำหรับการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ของจำเลยซึ่งระบุข้อถือสิทธิไว้ว่า ถุงห่อผลไม้ประกอบด้วยถุงห่อหุ้มชั้นนอกที่เป็นถุงชั้นนอกที่มีปลายเปิดด้านบนชั้นนอกและพื้นผิวด้านนอกของถุงห่อหุ้มชั้นนอกจะมีชั้นสารเคลือบกันน้ำเคลือบอยู่อย่างน้อยหนึ่งชั้น สำหรับป้องกันน้ำจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นนอกและพื้นผิวด้านในของถุงห่อหุ้มชั้นนอกจะเป็นสีทึบแสงอย่างน้อยหนึ่งชั้นสำหรับป้องกันแสงจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นในซึ่งถุงห่อหุ้มชั้นในจะเป็นถุงชั้นในที่อยู่ด้านในถุงห้อหุ้มชั้นนอกและมีปลายเปิดด้านบนชั้นในสำหรับเป็นช่องทางสวมเข้าทางด้านบนของผลไม้ที่ต้องการห่อหุ้มชั้นใน และพื้นผิวด้านนอกของถุงห่อหุ้มชั้นในอย่างน้อยหนึ่งด้านจะเป็นสีทึบแสงอย่างน้อยหนึ่งชั้น สำหรับป้องกันแสงจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นใน และพื้นผิวด้านนอกของสีทึบแสงอย่างน้อยหนึ่งด้านของถุงห้อหุ้มชั้นในจะมีชั้นสารเคลือบกันน้ำเคลือบอยู่อย่างน้อยหนึ่งชั้น สำหรับป้องกันน้ำจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นในอีกชั้นหนึ่ง แม้การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 จะมิใช่การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ก็ตาม แต่ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยาน ว.จ.2 และ ว.จ.3 เป็นการประดิษฐ์ที่ปรากฏอยู่แล้วนอกและในราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 เมื่อการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.ล.3 ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 เหมือนกับการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.ล.3 จึงเป็นการประดิษฐ์ที่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วอันมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 6 วรรคหนึ่ง การออกอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ย่อมไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ ต้องถือว่าอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ไม่สมบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 65 นว วรรคหนึ่ง โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 65 นว วรรคสอง แม้การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.1 ที่โจทก์นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเหมือนกับการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ในข้อถือสิทธิตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ของจำเลยก็ตาม แต่เมื่ออนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้เลขที่ 4343 ที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 เป็นอนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 สัตต การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 35 ทวิ และมาตรา 36 วรรคหนึ่ง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรกลไกประตูเลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการปรับปรุงเล็กน้อย ไม่เข้าข่ายการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
ผลิตภัณฑ์กลไกประตูเลื่อนของจำเลยมีลักษณะทางกายภาพที่เป็นรางเลื่อนประตู ด้านบนมีหูหิ้วรางเลื่อนเหมือนกับกลไกประตูเลื่อนของเดิม การที่จำเลยปรับปรุงระบบกลไกประตูเลื่อนสำหรับห้องเย็นซึ่งมีผู้ประดิษฐ์คิดค้นและใช้แพร่หลายอยู่ก่อนแล้วให้มีการทำงานดีขึ้น แข็งแรงและทนทานขึ้น โดยดัดแปลงปรับปรุงระบบกลไกที่มีอยู่เดิมอันเป็นการพัฒนากลไกรางประตูเลื่อนเพียงเล็กน้อยไม่ใช่ส่วนสาระสำคัญ มิใช่เป็นการคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ การประดิษฐ์กลไกประตูเลื่อนสำหรับห้องเย็นตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่เป็นการประดิษฐ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 3 และไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ (1) การที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกอนุสิทธิบัตรแก่จำเลยย่อมไม่ชอบ
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีลักษณะใหม่เนื่องจากมีการออกแบบรวมทั้งมีลายเส้นและลวดลายหรือรอยต่าง ๆ เห็นได้ชัดเจนนั้น เห็นว่า จำเลยให้การและนำสืบว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยแตกต่างจากของเดิมและใช้เป็นส่วนประกอบกลไกประตูเลื่อนสำหรับห้องเย็นตามอนุสิทธิบัตร โดยออกแบบให้เวลาเปิดประตูทำให้ยึดแน่นไม่เลื่อน มีแป้นนำร่องป้องกันมิให้ประตูถอยเลื่อนเมื่อใช้งานมาก ทำให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น อันเป็นการให้การต่อสู้คดีว่าการออกแบบของจำเลยเป็นไปในลักษณะเพื่อประโยชน์การใช้งานอันเป็นลักษณะของการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ มิใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีลักษณะใหม่เนื่องจากมีการออกแบบรวมทั้งมีลายเส้นและลวดลายหรือรอยต่าง ๆ เห็นได้ชัดเจนนั้น เห็นว่า จำเลยให้การและนำสืบว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยแตกต่างจากของเดิมและใช้เป็นส่วนประกอบกลไกประตูเลื่อนสำหรับห้องเย็นตามอนุสิทธิบัตร โดยออกแบบให้เวลาเปิดประตูทำให้ยึดแน่นไม่เลื่อน มีแป้นนำร่องป้องกันมิให้ประตูถอยเลื่อนเมื่อใช้งานมาก ทำให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น อันเป็นการให้การต่อสู้คดีว่าการออกแบบของจำเลยเป็นไปในลักษณะเพื่อประโยชน์การใช้งานอันเป็นลักษณะของการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ มิใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14585/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนอนุสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร มาตรา 65 นว ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องได้
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ฉ วรรคหนึ่ง กำหนดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่และอธิบดีตรวจสอบและมีคำสั่งเกี่ยวกับเงื่อนไขการออกอนุสิทธิบัตรว่ามีลักษณะตามมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ภายในหนึ่งปีนับจากวันประกาศโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตร แต่มาตรา 65 นว วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติว่า "อนุสิทธิบัตรใดได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ทวิ มาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14 ให้ถือว่าอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์" และวรรคสองบัญญัติว่า "ความไม่สมบูรณ์ตามวรรคหนึ่งบุคคลใดจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นก็ได้" การฟ้องคดีนี้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดกล่าวอ้างว่าอนุสิทธิบัตรของจำเลยเป็นอนุสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์จึงเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 65 นว ไม่ใช่การใช้สิทธิตามมาตรา 65 ฉ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10485/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนอนุสิทธิบัตร: ลักษณะการประดิษฐ์ไม่ใหม่ แม้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งอุปกรณ์
การพิจารณาว่าการประดิษฐ์ที่โจทก์ขอรับอนุสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรือไม่ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 6 ที่บัญญัติว่า การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ได้แก่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว และงานที่ปรากฏอยู่แล้วตามมาตรา 6 วรรคสอง (2) ได้แก่ การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร
การประดิษฐ์และข้อถือสิทธิตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์เมื่อเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ตามเอกสารประกาศแสดงสิทธิบัตรในประเทศญี่ปุ่น อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร เห็นว่า เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายของเหลวและลักษณะทั่วไปทางกายภาพและการใช้งานทำนองเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ คงมีส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในบางส่วน แต่โจทก์ก็ไม่ได้แสดงรายละเอียดตามข้ออ้างดังกล่าวไว้ในรายการแสดงรายละเอียดการประดิษฐ์ของโจทก์ในคำขอรับอนุสิทธิบัตร จึงฟังไม่ได้ว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ย่อมไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรได้
การประดิษฐ์และข้อถือสิทธิตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์เมื่อเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ตามเอกสารประกาศแสดงสิทธิบัตรในประเทศญี่ปุ่น อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร เห็นว่า เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายของเหลวและลักษณะทั่วไปทางกายภาพและการใช้งานทำนองเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ คงมีส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในบางส่วน แต่โจทก์ก็ไม่ได้แสดงรายละเอียดตามข้ออ้างดังกล่าวไว้ในรายการแสดงรายละเอียดการประดิษฐ์ของโจทก์ในคำขอรับอนุสิทธิบัตร จึงฟังไม่ได้ว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ย่อมไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079-2084/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การพิจารณาการละเมิดสิทธิบัตรต้องพิสูจน์กรรมวิธีผลิตที่ตรงกัน มิใช่เพียงใช้กรรมวิธีคล้ายคลึงกัน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 บัญญัติว่า กระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้ และข้อกำหนดตามมาตรา 30 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. หรือ ป.วิ.อ. หรือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมและกรณีไต่สวนมูลฟ้องนี้ไม่มีบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.และข้อกำหนดดังกล่าวจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ลักษณะ 1 ฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น กรอบการพิจารณาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยจึงมีว่าคดีมีมูลหรือไม่ ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ทั้งสองย่อมมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงให้พอมีมูลให้รับฟังได้ว่ามีการกระทำละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ถึงที่ 23 เป็นผู้กระทำความผิดตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวหาในฟ้องโดยวินิจฉัยปัญหาว่ามีการกระทำละเมิดอนุสิทธิบัตรตามฟ้องหรือไม่ และในเบื้องต้นมีการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้กรรมวิธีตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวหรือไม่อันเป็นการพิจารณาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยว่าคดีมีมูลหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 167 นั้นเอง มิใช่เป็นการตั้งประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่ามีการกระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่
อนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ของโจทก์ทั้งสอง ระบุข้อถือสิทธิว่า "กรรมวิธีในการเตรียมส่วนผสมที่ใช้ได้อย่างน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ประกอบด้วยการทำให้ส่วนผสมต่อไปนี้ผสมเข้าด้วยกันโดยการใช้เครื่องสูบผสมเวียนน้ำมันพืชเหลือใช้ที่ผ่านการทำให้สะอาด น้ำมันดีเซลและน้ำมันละหุ่ง (หรือแอลกอฮอล์) ในอัตราส่วน 10:10:1 โดยมีปริมาตรตามลำดับ ก่อนปรับความหนืดเป็น 6 ถึง 8 เซนติสโตกส์ ด้วยน้ำมันดีเซล" ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงเพียงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าว ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำมาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้นบุคคลอื่นย่อมมีสิทธิที่จะผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำมาใน ราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีอื่นๆ นอกจากกรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสอง เมื่อโจทก์ที่ 1 เบิกความเพียงว่า จำเลยทั้งหมดผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้น้ำมันพืชใช้แล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลหรือไม่ แม้โจทก์ที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยทั้งหมดใช้กระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification) หรือกระบวนการกำจัดไขมันและสิ่งสกปรกที่เจือปนในน้ำมันในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลอันเป็นกรรมวิธีเดียวกันกับกรรมวิธีตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ที่ 1 ก็เบิกความตอบคำถามค้านว่า กระบวนการดังกล่าวคล้ายคลึงกับกรรมวิธีในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสอง แต่มีจุดแตกต่างกันคือวิธีการดังกล่าวใช้เมทานอล ส่วนของโจทก์ทั้งสองใช้น้ำมันดีเซลโดยอาจมีส่วนผสมที่ใช้แอลกอฮอล์หรือไม่ใช้เลยก็ได้ ประกอบกับทางไต่สวนไม่ได้ความว่ากระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นที่จำเลยทั้งหมดใช้ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลใช้กรรมวิธีมีลักษณะตรงกับกรรมวิธีในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองในสาระสำคัญหรือไม่อย่างไร คดีของโจทก์ทั้งสองไม่มีมูล
อนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ของโจทก์ทั้งสอง ระบุข้อถือสิทธิว่า "กรรมวิธีในการเตรียมส่วนผสมที่ใช้ได้อย่างน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ประกอบด้วยการทำให้ส่วนผสมต่อไปนี้ผสมเข้าด้วยกันโดยการใช้เครื่องสูบผสมเวียนน้ำมันพืชเหลือใช้ที่ผ่านการทำให้สะอาด น้ำมันดีเซลและน้ำมันละหุ่ง (หรือแอลกอฮอล์) ในอัตราส่วน 10:10:1 โดยมีปริมาตรตามลำดับ ก่อนปรับความหนืดเป็น 6 ถึง 8 เซนติสโตกส์ ด้วยน้ำมันดีเซล" ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงเพียงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าว ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำมาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้นบุคคลอื่นย่อมมีสิทธิที่จะผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำมาใน ราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีอื่นๆ นอกจากกรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสอง เมื่อโจทก์ที่ 1 เบิกความเพียงว่า จำเลยทั้งหมดผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้น้ำมันพืชใช้แล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลหรือไม่ แม้โจทก์ที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยทั้งหมดใช้กระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification) หรือกระบวนการกำจัดไขมันและสิ่งสกปรกที่เจือปนในน้ำมันในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลอันเป็นกรรมวิธีเดียวกันกับกรรมวิธีตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ที่ 1 ก็เบิกความตอบคำถามค้านว่า กระบวนการดังกล่าวคล้ายคลึงกับกรรมวิธีในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสอง แต่มีจุดแตกต่างกันคือวิธีการดังกล่าวใช้เมทานอล ส่วนของโจทก์ทั้งสองใช้น้ำมันดีเซลโดยอาจมีส่วนผสมที่ใช้แอลกอฮอล์หรือไม่ใช้เลยก็ได้ ประกอบกับทางไต่สวนไม่ได้ความว่ากระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นที่จำเลยทั้งหมดใช้ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลใช้กรรมวิธีมีลักษณะตรงกับกรรมวิธีในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองในสาระสำคัญหรือไม่อย่างไร คดีของโจทก์ทั้งสองไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4518/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์หากการประดิษฐ์มีอยู่แล้วก่อนขอรับสิทธิบัตร แม้ผู้ขอเป็นผู้เผยแพร่เอง
การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรได้นั้น พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ บัญญัติไว้ 2 อนุมาตรา รวมความว่า ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้ ซึ่งปัญหาความใหม่นั้น เมื่อพิจารณามาตรา 65 ทศ ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 6 และอีกหลายมาตราในหมวด 2 ว่าด้วยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มาใช้บังคับกับหมวดว่าด้วยอนุสิทธิบัตรโดยอนุโลม โดยในมาตรา 6 วรรคแรก บัญญัติว่า การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว และในวรรคสองบัญญัติว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วให้หมายความถึงการประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (2) การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ นอกจากนี้ ในมาตรา 6 วรรคท้าย บัญญัติความตอนหนึ่งว่า การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ภายในสิบสองเดือนก่อนที่จะมีการขอรับสิทธิบัตรมิให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดตาม (2) ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์จำหน่ายเทปโฟมกาวสองหน้ามาตั้งแต่ปี 2538 ก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2547 แล้ว การประดิษฐ์ดังกล่าวของโจทก์จึงมีหรือใช้อยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับอนุสิทธิบัตร และการที่โจทก์จำหน่ายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดย่อมเป็นการจำหน่ายแพร่หลายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 วรรคสอง อนุมาตรา (1) ดังกล่าว และถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดของการประดิษฐ์ต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ ตามอนุมาตรา (2) ด้วย เพราะบุคคลทั่วไปสามารถมองเห็นได้ว่าการประดิษฐ์ของโจทก์ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งมาก การประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ถึงแม้โจทก์จะเป็นผู้ทำให้เทปโฟมกาวสองหน้านั้นมีหรือใช้แพร่หลาย และเป็นผู้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดของการประดิษฐ์นั้นเองดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกระทำเกินกว่ากำหนดเวลาสิบสองเดือนก่อนโจทก์ขอรับอนุสิทธิบัตร กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 6 วรรคท้าย ที่จะไม่ถือว่าเป็นการทำให้แพร่หลายและเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดการประดิษฐ์ก่อนวันขอรับอนุสิทธิบัตร เทปโฟมกาวสองหน้าซึ่งเป็นการประดิษฐ์ของโจทก์จึงไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ, 65 ทศ ประกอบมาตรา 6 แม้โจทก์ได้รับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ก็เป็นอนุสิทธิบัตรที่ได้ออกให้โดยไม่ชอบด้วยมาตรา 65 ทวิ, 65 ทศ ถือว่าอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามอนุสิทธิบัตร โจทก์ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนสิทธิเด็ดขาดของโจทก์ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร และไม่อาจใช้มาตรการบังคับจำเลยทั้งสามตามสิทธิของอนุสิทธิบัตรนั้น ซึ่งศาลมีอำนาจยกความไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 65 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7343/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนอนุสิทธิบัตร: โจทก์ต้องรอผลการตรวจสอบก่อนฟ้องคดี
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 กำหนดเงื่อนไขวิธีการได้มาซึ่งอนุสิทธิบัตร การปฏิเสธคำขอรับอนุสิทธิบัตร และการให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ไว้ในหมวด 3 ทวิ ซึ่งมีเงื่อนไขแยกต่างหากจากการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในหมวด 2 โดยมีขั้นตอนในกระบวนการพิจารณาและการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตรโดยฝ่ายพนักงานเจ้าหน้าที่น้อยกว่าในกระบวนการพิจารณาและการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และให้ความคุ้มครองในสิทธิตามอนุสิทธิบัตรซึ่งมีระยะเวลาที่สั้นกว่าการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์
อย่างไรก็ตาม ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์และการออกอนุสิทธิบัตร บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอาจขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 65 ฉ การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมจำเลยที่ 1 กรณีที่อธิบดีของจำเลยที่ 1 มีคำวินิจฉัยว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามมาตรา 65 ทวิ ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตามมาตรา 72 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่ให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรให้อุทธรณ์ต่อศาล คู่กรณีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 74 หรืออีกวิธีทางหนึ่งได้กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการสามารถฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ หากอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ รวมถึงคำขอรับอนุสิทธิบัตรที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 9, 10, 11 หรือ 14 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 นว
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรทั้งสองวิธีดังกล่าวเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือก และไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันระหว่างคู่กรณีเดียวกันซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ว่ามีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ และอธิบดีของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำขอตรวจสอบดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 65 นว
อย่างไรก็ตาม ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์และการออกอนุสิทธิบัตร บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอาจขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 65 ฉ การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมจำเลยที่ 1 กรณีที่อธิบดีของจำเลยที่ 1 มีคำวินิจฉัยว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามมาตรา 65 ทวิ ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตามมาตรา 72 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่ให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรให้อุทธรณ์ต่อศาล คู่กรณีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 74 หรืออีกวิธีทางหนึ่งได้กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการสามารถฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ หากอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ รวมถึงคำขอรับอนุสิทธิบัตรที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 9, 10, 11 หรือ 14 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 นว
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรทั้งสองวิธีดังกล่าวเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือก และไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันระหว่างคู่กรณีเดียวกันซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ว่ามีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ และอธิบดีของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำขอตรวจสอบดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 65 นว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประดิษฐ์ไม่ขึ้นใหม่: เปรียบเทียบอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 กับเลขที่ 5116 และสิทธิบัตรจีน CN 201068257Y
คดีนี้เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ โดยผู้มีส่วนได้เสียขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ หรือไม่ หลังจากมีการยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ฉ วรรคหนึ่ง แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการประดิษฐ์และทำรายงานการตรวจสอบเสนอต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสอง เมื่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณารายงานการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว เห็นว่าการประดิษฐ์ไม่มีลักษณะตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ จึงมีคำสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงและแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ โดยโจทก์ยื่นคำแถลงแสดงเหตุผลของตนแล้วตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ตอนต้น หลังจากสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องพิจารณาว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาวินิจฉัยว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 มีลักษณะทางเทคนิคแตกต่างไปจากงานที่ปรากฏอยู่แล้วเฉพาะข้อถือสิทธิข้อที่ 10 และกำหนดเงื่อนไขให้โจทก์แก้ไขข้อถือสิทธิใหม่โดยให้ระบุขอบเขตความคุ้มครองให้ชัดเจนเฉพาะข้อถือสิทธิที่แตกต่างดังกล่าวเท่านั้น เห็นได้ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวได้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของอนุสิทธิบัตรดังกล่าวพร้อมแสดงเหตุผลไว้ครบถ้วนแล้ว แต่ที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อเพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็เนื่องจากเห็นว่าหากโจทก์ยอมแก้ไขข้อถือสิทธิใหม่โดยระบุขอบเขตความคุ้มครองเฉพาะข้อถือสิทธิข้อที่ 10 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเสนอให้คณะกรรมการสิทธิบัตรเพิกถอนสิทธิบัตร อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา แล้วอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 72 โดยในอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ยังคงโต้แย้งเป็นประเด็นด้วยว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่พร้อมเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว สำนวนการพิจารณาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 ฉ ในคดีนี้ จึงเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิบัตร ดังนี้ แม้อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อเพิกถอนอนุสิทธิบัตร แต่ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมถือได้ว่ามีการดำเนินการไปตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 ฉ วรรคสี่ แล้ว เมื่อคณะกรรมการสิทธิบัตรมีอำนาจในการพิจารณาสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ตอนท้าย ทั้งยังมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับอนุสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ ตามที่ พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 7 (2) บัญญัติ คณะกรรมการสิทธิบัตรซึ่งขณะนั้นมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นกรรมการจึงมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ของโจทก์ไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คณะกรรมการสิทธิบัตรย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้
ที่โจทก์แก้ฎีกาโต้แย้งทำนองว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้โจทก์แก้ไขอนุสิทธิบัตรตามกรณีปัญหาในคดีนั้นถือว่ายังอยู่ในระหว่างกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นการให้ถ้อยคำชี้แจง ส่งเอกสาร หรือสิ่งใดเพิ่มเติม ซึ่งถือว่ายังอยู่ในกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวและไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งฉบับ แต่มีหน้าที่เพียงรวบรวมหนังสือและข้อชี้แจงดังกล่าว และทำความเห็นเสนอต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพิจารณาสั่งประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์ หากคณะกรรมการสิทธิบัตรมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรได้โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรย่อมเป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น เห็นว่า เมื่อคดีมีการเริ่มดำเนินกระบวนการตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ มาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาแสดงเหตุผลในประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยแล้ว การพิจารณาต่อมาของคณะกรรมการสิทธิบัตรจึงมิใช่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ตามอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 มีรายละเอียดการประดิษฐ์ไม่แตกต่างไปจากอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 ส่วนข้อถือสิทธิข้อที่ 2 ถึงที่ 9 ตามอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 นั้น ก็ล้วนเป็นการอ้างถึงลักษณะทางเทคนิคอันเป็นลักษณะพิเศษหรือรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิข้อที่ 1 เว้นแต่ข้อที่ 9 ซึ่งเพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิข้อที่ 8 อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นได้ว่ามีรายละเอียดการประดิษฐ์ไม่แตกต่างไปจากอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 เช่นกัน ดังนี้ ข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ถึงที่ 9 ของอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 จึงเป็นการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดไว้ในอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว สำหรับข้อถือสิทธิข้อที่ 10 ของอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 ซึ่งมีครีบยื่น (8) มีลักษณะเป็นครีบเฉียงนั้น แม้จะไม่ปรากฏว่ามีลักษณะตรงกับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 ก็ตาม แต่ก็ถือเป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ส่งผลต่อองค์ประกอบสำคัญของการประดิษฐ์ ไม่ทำให้การทำงานต่างไปจากเดิม เมื่อพิจารณาข้อถือสิทธิทั้งหมดโดยรวมแล้วเห็นว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ไม่แตกต่างไปจากงานที่ปรากฏอยู่แล้วเดิม นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ชิ้นส่วนตัวจุกและชิ้นส่วนช่องไหลอาจถอดแยกออกจากกันได้โดยปรับปรุงให้ชิ้นส่วนตัวจุกและชิ้นส่วนช่องไหลกลายเป็นชิ้นส่วนเดียวกันนั้น ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพียงเล็กน้อยโดยไม่ทำให้ลักษณะการทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ทั้งฉบับจึงไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ในฐานะคณะกรรมการสิทธิบัตรเห็นว่าอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 มีข้อถือสิทธิส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ถือว่าไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และมีคำสั่งให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์แก้ฎีกาโต้แย้งทำนองว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้โจทก์แก้ไขอนุสิทธิบัตรตามกรณีปัญหาในคดีนั้นถือว่ายังอยู่ในระหว่างกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นการให้ถ้อยคำชี้แจง ส่งเอกสาร หรือสิ่งใดเพิ่มเติม ซึ่งถือว่ายังอยู่ในกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวและไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งฉบับ แต่มีหน้าที่เพียงรวบรวมหนังสือและข้อชี้แจงดังกล่าว และทำความเห็นเสนอต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพิจารณาสั่งประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์ หากคณะกรรมการสิทธิบัตรมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรได้โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรย่อมเป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น เห็นว่า เมื่อคดีมีการเริ่มดำเนินกระบวนการตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ มาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาแสดงเหตุผลในประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยแล้ว การพิจารณาต่อมาของคณะกรรมการสิทธิบัตรจึงมิใช่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ตามอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 มีรายละเอียดการประดิษฐ์ไม่แตกต่างไปจากอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 ส่วนข้อถือสิทธิข้อที่ 2 ถึงที่ 9 ตามอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 นั้น ก็ล้วนเป็นการอ้างถึงลักษณะทางเทคนิคอันเป็นลักษณะพิเศษหรือรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิข้อที่ 1 เว้นแต่ข้อที่ 9 ซึ่งเพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิข้อที่ 8 อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นได้ว่ามีรายละเอียดการประดิษฐ์ไม่แตกต่างไปจากอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 เช่นกัน ดังนี้ ข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ถึงที่ 9 ของอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 จึงเป็นการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดไว้ในอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว สำหรับข้อถือสิทธิข้อที่ 10 ของอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 ซึ่งมีครีบยื่น (8) มีลักษณะเป็นครีบเฉียงนั้น แม้จะไม่ปรากฏว่ามีลักษณะตรงกับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 ก็ตาม แต่ก็ถือเป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ส่งผลต่อองค์ประกอบสำคัญของการประดิษฐ์ ไม่ทำให้การทำงานต่างไปจากเดิม เมื่อพิจารณาข้อถือสิทธิทั้งหมดโดยรวมแล้วเห็นว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ไม่แตกต่างไปจากงานที่ปรากฏอยู่แล้วเดิม นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ชิ้นส่วนตัวจุกและชิ้นส่วนช่องไหลอาจถอดแยกออกจากกันได้โดยปรับปรุงให้ชิ้นส่วนตัวจุกและชิ้นส่วนช่องไหลกลายเป็นชิ้นส่วนเดียวกันนั้น ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพียงเล็กน้อยโดยไม่ทำให้ลักษณะการทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ทั้งฉบับจึงไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ในฐานะคณะกรรมการสิทธิบัตรเห็นว่าอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 มีข้อถือสิทธิส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ถือว่าไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และมีคำสั่งให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของคณะกรรมการสิทธิบัตรภายใต้ พ.ร.บ.ทรัพย์สินทางปัญญา และกระบวนการสอบสวนความใหม่
คดีนี้เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ โดยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ หรือไม่ โดยหลังจากมีการยื่นคำขอให้ตรวจสอบตามมาตรา 65 ฉ วรรคหนึ่ง แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการประดิษฐ์และทำรายงานการตรวจสอบเสนอต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาตาม มาตรา 65 ฉ วรรคสอง เมื่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณารายงานการตรวจสอบดังกล่าวแล้วเห็นว่าการประดิษฐ์ไม่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ จึงมีคำสั่งให้สอบสวนข้อเท็จจริง และแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ โดยโจทก์ยื่นคำแถลงแสดงเหตุผลของตนแล้วตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ตอนต้น หลังจากสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องพิจารณาว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ซึ่งอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาวินิจฉัยว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5377 มีลักษณะทางเทคนิคแตกต่างไปจากงานที่ปรากฏอยู่แล้วเฉพาะข้อถือสิทธิข้อที่ 7 และกำหนดเงื่อนไขให้โจทก์แก้ไขข้อถือสิทธิใหม่โดยให้ระบุขอบเขตความคุ้มครองให้ชัดเจนเฉพาะข้อถือสิทธิที่แตกต่างดังกล่าวเท่านั้น คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของอนุสิทธิบัตรพร้อมแสดงเหตุผลไว้ครบถ้วนแล้ว แต่ที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อเพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็เนื่องจากเห็นว่าหากโจทก์ยอมแก้ไขข้อถือสิทธิใหม่โดยระบุขอบเขตความคุ้มครองเฉพาะข้อถือสิทธิข้อที่ 7 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเสนอให้คณะกรรมการสิทธิบัตรเพิกถอนสิทธิบัตร อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 72 โดยโจทก์ยังคงโต้แย้งว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5377 เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่พร้อมเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว สำนวนการพิจารณาตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ ในคดีนี้จึงเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิบัตร ดังนี้ แม้อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อเพิกถอนอนุสิทธิบัตร แต่ย่อมถือได้ว่ามีการดำเนินการไปตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสี่ แล้ว เมื่อคณะกรรมการสิทธิบัตรมีอำนาจในการพิจารณาสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ตอนท้าย ทั้งยังมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ ตามที่มาตรา 70 (2) บัญญัติ คณะกรรมการสิทธิบัตรซึ่งขณะนั้นมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นกรรมการจึงมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5377 ของโจทก์ไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คณะกรรมการสิทธิบัตรย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ โดยหลังจากอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามีคำสั่งให้สอบสวนข้อเท็จจริงตามมาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ก็มีการแจ้งคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงอนุสิทธิบัตรทราบโดยโจทก์ได้ยื่นคำแถลงแสดงเหตุผลของตนแล้ว และไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำชี้แจง ให้ส่งเอกสารหรือสิ่งใดเพิ่มเติมอีก ทั้งคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของอนุสิทธิบัตรดังกล่าวพร้อมแสดงเหตุผลไว้ครบถ้วน การสอบสวนข้อเท็จจริงตามมาตรา 65 ฉ วรรคสี่ จึงเสร็จสิ้นแล้ว การที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาย่อมมิใช่เป็นการให้ถ้อยคำชี้แจง ส่งเอกสาร หรือสิ่งใดเพิ่มเติม เมื่อคดีมีการเริ่มดำเนินกระบวนการตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ มาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาแสดงเหตุผลในประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยแล้ว การพิจารณาต่อมาของคณะกรรมการสิทธิบัตรจึงมิใช่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา