พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยุบสภา อบจ. รัฐมนตรีช่วยฯ ทำได้หากได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการ
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.อ้างว่าจำเลยทั้งสามออกคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ ดังนี้ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลยุติธรรมได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจโดยเฉพาะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมิได้กำหนดห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกระทำการแทน ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานของกรมการปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจปฏิบัติราชการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.อ้างว่าจำเลยทั้งสามออกคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ ดังนี้ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลยุติธรรมได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจโดยเฉพาะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมิได้กำหนดห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกระทำการแทน ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานของกรมการปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจปฏิบัติราชการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งยุบสภา อบจ. มอบอำนาจ รมช.กระทรวงมหาดไทยได้หรือไม่ และมีอำนาจฟ้องหรือไม่
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ยุบสภาพองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.อ้างว่าจำเลยทั้งสามออกคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำ ของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ ดังนี้ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลยุติธรรมได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจโดยเฉพาะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและมิได้กำหนดห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทยกระทำการแทน ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาตการอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานของกรมการปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจปฏิบัติราชการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การได้มาของที่ดินโดยโรงเรียนและโอนไปยัง อบจ. ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง
เมื่อ พ.ศ. 2496 ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลจับจองที่พิพาทอันเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเพื่อใช้ในกิจการของโรงเรียน ได้เข้าครอบครองที่พิพาทเพื่อกิจการของโรงเรียนแล้ว และยังได้ขึ้นทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้เป็นทรัพย์สินของโรงเรียน โดยมีศึกษาธิการอำเภอรับรองว่าเป็นทรัพย์สินของโรงเรียน ครั้น พ.ศ. 2498 ครูใหญ่ก็ได้แจ้ง ส.ค.1 ที่พิพาทไว้ในฐานะแทนโรงเรียน ดังนี้แม้โรงเรียนประชาบาลดังกล่าวจะไม่เป็นนิติบุคคล แต่เป็นโรงเรียนที่นายอำเภอตั้งขึ้น จึงเป็นส่วนราชการของรัฐ และพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าทางราชการอำเภอได้รับเอาที่พิพาทมาเป็นทรัพย์สินของทางราชการแล้ว ที่พิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2496 เป็นต้นมา โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลัง พ.ศ. 2496 จึงไม่อาจจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ โจทก์ไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
กรณีดังกล่าวข้างต้น เมื่อต่อมาโรงเรียนประชาบาลนั้นได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโอนโรงเรียนประถมศึกษาบางประเภทไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2509 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติให้โอนบรรดากิจการและทรัพย์สินไปเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนด้วย เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล ที่พิพาทจึงโอนมาเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนนั้น
กรณีดังกล่าวข้างต้น เมื่อต่อมาโรงเรียนประชาบาลนั้นได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโอนโรงเรียนประถมศึกษาบางประเภทไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2509 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติให้โอนบรรดากิจการและทรัพย์สินไปเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนด้วย เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล ที่พิพาทจึงโอนมาเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12776/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของ อบจ. ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐ และการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้แทนนิติบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดตามมาตรา 7 ซึ่งอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการนี้ย่อมหมายรวมถึงอำนาจติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐที่อยู่ในเขตจังหวัดที่อยู่ในความดูแล ตลอดจนมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งปวงเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามสิทธิและหน้าที่ที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 66 และ 67 ด้วย เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการทำโดยละเมิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โดยไม่จำต้องรับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดอีก
เหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โดยที่ดินดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีวัตถุประสงค์สร้างเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่อาจนำออกให้เช่าตามคำขอเช่าของจำเลยได้เพราะขัดต่อวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์มีเหตุที่ไม่อาจให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทตามคำขอเพราะต้องนำที่ดินไปสร้างเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ มิใช่เรื่องโจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่มีเหตุผลรองรับซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ในทางตรงกันข้ามการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นอุปสรรคทำให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย การใช้สิทธิทางศาลของโจทก์จึงชอบแล้ว หาใช่เป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย 1,746,000 บาท เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ด้วย อัตราค่าขึ้นศาลตาราง 1 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ให้คิดค่าขึ้นศาลตามอัตราคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ไม่ให้น้อยกว่าอัตราค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์แล้วแต่กรณี เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพียง 8,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนที่มีทุนทรัพย์ของจำเลยจึงมีจำนวน 8,000 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลตามตาราง (1) (ก) เป็นเงิน 160 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ที่ตาราง (2) (ก) กำหนดไว้ 200 บาท จำเลยจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าเป็นเงินชั้นศาลละ 200 บาท
เหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โดยที่ดินดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีวัตถุประสงค์สร้างเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ ซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่อาจนำออกให้เช่าตามคำขอเช่าของจำเลยได้เพราะขัดต่อวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์มีเหตุที่ไม่อาจให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทตามคำขอเพราะต้องนำที่ดินไปสร้างเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการตามโครงการก่อสร้างสนามกีฬาของโจทก์ มิใช่เรื่องโจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทโดยไม่มีเหตุผลรองรับซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ในทางตรงกันข้ามการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นอุปสรรคทำให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย การใช้สิทธิทางศาลของโจทก์จึงชอบแล้ว หาใช่เป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย 1,746,000 บาท เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ด้วย อัตราค่าขึ้นศาลตาราง 1 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ให้คิดค่าขึ้นศาลตามอัตราคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ไม่ให้น้อยกว่าอัตราค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์แล้วแต่กรณี เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพียง 8,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนที่มีทุนทรัพย์ของจำเลยจึงมีจำนวน 8,000 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลตามตาราง (1) (ก) เป็นเงิน 160 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าขึ้นศาลในส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ที่ตาราง (2) (ก) กำหนดไว้ 200 บาท จำเลยจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าเป็นเงินชั้นศาลละ 200 บาท