พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาไม่รับโอนสิทธิเช่า และการคิดค่าเสียหายจากการอยู่อาศัยเกินสัญญา
สัญญาเช่าระบุว่า เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรกผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าพิจารณารับโอนสิทธิการเช่าสถานที่เช่าได้ โดยผู้ให้เช่ายินดีโอนสิทธิการเช่าที่ผู้ให้เช่ามีอยู่กับบริษัท ม.และให้ผู้เช่าผ่อนชำระกับบริษัทม.ต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าเมื่อครบกำหนด 1 ปีแรก หากจำเลยประสงค์จะรับโอนสิทธิการเช่าก็ทำได้แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าไว้ก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ของการทำสัญญา โจทก์จำเลยก็พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าในระยะเวลาพอสมควรนับแต่เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สัญญาเช่าครบกำหนด 1 ปีแรกวันที่ 20 พฤศจิกายน 2531 และครบกำหนดระยะเวลาเช่า3 ปีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์โอนสิทธิการเช่าเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2533 ซึ่งแม้จะเป็นเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าประมาณ 5 เดือน แต่ก็เป็นเวลาภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่า 1 ปีแรก ล่วงพ้นไปแล้วถึง 1 ปี 6 เดือน จะพึงเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรที่จะคาดหมายได้ว่าจำเลยยังคงประสงค์ที่จะขอรับโอนสิทธิการเช่าอยู่อีก ทั้งโจทก์ก็ยืนยันว่าเมื่อครบสัญญา1 ปีแรกแล้ว โจทก์ได้ถาม ส.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยว่าจะตกลงรับโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ ก็ตอบว่าขณะนั้นพื้นที่บริษัท ม.โอนสิทธิการเช่ากันตารางเมตรละ 60,000 บาท จำเลยจะต้องรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ตารางเมตรละ 65,000 บาท จึงไม่ต้องการรับโอน ดังนั้นการที่จำเลยปล่อยระยะเวลาให้ล่วงพ้นกำหนดการเช่า 1 ปีแรก ออกไปถึง1 ปี 6 เดือน ประกอบกับจำเลยเคยบอกโจทก์ว่าไม่ต้องการรับโอนสิทธิการเช่าจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ตามสัญญาแล้ว คำมั่นของโจทก์ที่จะต้องให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าจึงสิ้นผลผูกพัน เมื่อการเช่าพื้นที่พิพาทครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยจึงต้องส่งมอบพื้นที่เช่าคืนโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้า สมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ 300,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไป อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลง แต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใด หรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว แม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามา ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่า ไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้า สมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ 300,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไป อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลง แต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใด หรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว แม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามา ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่า ไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วยังอยู่อาศัยต่อโดยไม่ยินยอม ถือเป็นการละเมิดสิทธิและต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ในชั้นชี้สองสถานจำเลยยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท 2ประเด็นคือ1.โจทก์ให้คำมั่นจะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก6ปีหรือไม่และ2.โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยหรือไม่แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไปหรือไม่ประเด็นดังกล่าวนี้ได้ครอบคลุมรวมถึงประเด็นที่จำเลยประสงค์ให้กำหนดไว้แล้วทั้งสองประเด็นทั้งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยปัญหาทั้งสองประเด็นนี้ไว้แล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มเติมอีก คำมั่นจะให้เช่าที่ดินพิพาทต่อของโจทก์เป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาซึ่งอยู่นอกเหนือจาก ข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมแม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดสัญญาเช่าขึ้นใหม่ก็ตามแต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าที่ดินพิพาทใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับผิดเป็นสำคัญจำเลยย่อมไม่อาจขอบังคับให้โจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538 หนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนดระยะเวลา20ปีนับตั้งแต่วันที่13สิงหาคม2515ดังนั้นสัญญาเช่าจึงสิ้นสุดลงในวันที่13สิงหาคม2535โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา564ปรากฏข้อเท็จจริงว่าภายหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วเพียง4วันโจทก์ก็มา ฟ้องขับไล่จำเลยแสดงว่าโจทก์ได้ทักท้วงไม่ยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำเป็นต้องมีการบอกเลิกสัญญากันอีก เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงผู้เช่ายังอยู่ในที่ดินพิพาทโดยผู้ให้เช่าไม่ได้ยินยอมจึงเป็นการอยู่ในที่พิพาทโดยมิได้อาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าการอยู่ในที่ดินพิพาทของผู้เช่าจึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ให้เช่าผู้เช่าต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าส่วนค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าแถลงต่อศาลชั้นต้นยอมรับว่า ค่าเสียหายของโจทก์คิดเป็นเงินเดือนละ20,000บาทศาลย่อมกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ20,000บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมในสินสมรสและการยินยอมให้ผู้อื่นอยู่อาศัย
บ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ฉ. จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ ฉ.ร่วมกัน เมื่อ ฉ.อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านพิพาท แม้โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไป ความยินยอมของฉ.ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่งการที่จำเลยไม่ยอมออกจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ตึกแถวเป็นสำนักงานทนายความ ไม่ถือเป็นการอยู่อาศัยเองหรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษา จึงไม่ได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน
นอกจากโจทก์จะใช้ตึกแถวของโจทก์เป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาและบุตรแล้ว โจทก์ยังให้บุตรเขยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานทนายความด้วยย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาอันจะได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 10 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2475 มาตรา 3. การใช้ตึกแถวตั้งสำนักงานทนายความ มีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอย่างหนึ่งถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาและการตั้งสำนักงานทนายความ แม้ว่าจะไม่ต้องจดทะเบียนการค้าและเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร ก็ไม่มีผลทำให้หน้าที่การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับตึกแถวของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5274/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการไม่มีเจตนาบุกรุก: จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินโต้แย้งโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา จึงไม่เข้าข่ายความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาบุกรุก จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าเจ้าของที่ดินคนเดิมให้บิดาจำเลยปลูกบ้านลงในที่ดิน ก่อนตายบิดาจำเลยยกบ้านให้จำเลยและจำเลยอยู่ในบ้านหลังนี้ไม่เคยย้ายไปที่ใด จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ดังนี้การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทจึงเป็นการอยู่โดยเจ้าใจว่ามีสิทธิที่จะอยู่ได้ ไม่มีเจตนากระทำผิดอาญาฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเว้นภาษีโรงเรือนต้องเป็นการอยู่อาศัยหรือมีผู้แทนรักษา ไม่ใช่ใช้เพื่อกิจการค้า
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้า ผลิต ซื้อ ขายซีเมนต์ โจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนพิพาท การที่โจทก์ใช้โรงเรือนพิพาทบางหลัง เป็นที่ทำงานฝ่ายบริหารติดต่อกับลูกค้ารายใหญ่และทำนิติกรรมสัญญา บางหลังเป็นห้องรับประทานอาหารของพนักงานของโจทก์บางหลังเป็นที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็น และบางหลังเป็นโรงจอดรถของพนักงานของโจทก์นั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่ เฝ้ารักษาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2475 มาตรา 3 โจทก์จึงมิได้รับงดเว้นการเสียภาษีโรงเรือนตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเว้นภาษีโรงเรือน: การใช้พื้นที่เพื่อธุรกิจ vs. การอยู่อาศัยหรือรักษาความปลอดภัย
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์เพื่อจำหน่ายการที่โจทก์ใช้อาคารพิพาทเป็นสำนักงานของโจทก์เองหรือใช้เป็นโรงอาหาร โรงจอดรถ หรือเป็นห้องเครื่องทำความเย็นก็ล้วนแต่เป็นการใช้อาคารเพื่อธุรกิจของโจทก์ หาใช่เป็นการอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาและซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือ ประกอบอุตสาหกรรม อันจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน ตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแล้วแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกการครอบครอง แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาตให้ผู้อื่นอยู่อาศัย
แม้เรือนจะเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ครอบครองอยู่อาศัย โจทก์บุกรุกรบกวนการครอบครองของจำเลยโดยปกติสุขเป็นความผิดตามมาตรา 362 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าระงับเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต แม้รับค่าเช่าต่อ ก็ถือเป็นการอยู่อาศัยโดยอาศัยสิทธิเจ้าของ
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เมื่อสามีจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าอาคารของโจทก์ตาย สัญญาเช่าอาคารพิพาทก็เป็นอันระงับไป แม้หลังจากนั้นโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทและรับเงินค่าเช่าอาคารพิพาทจากจำเลยทุกเดือนแต่มิได้ทำหนังสือสัญญาเช่าต่อกัน และโจทก์มิได้ออกใบเสร็จรับเงินค่าเช่าอาคารพิพาทให้จำเลย จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อโจทก์ฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จำเลยจะยกการเช่าขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้และถือว่าจำเลยอยู่ในอาคารพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในอาคารพิพาทของโจทก์ ต่อไปโจทก์ฟ้องขอให้ศาลขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทได้ทันที เพราะไม่มีกฎหมายในเรื่องนี้ให้บอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเพื่ออยู่อาศัย vs. การค้า: สิทธิผู้เช่าภายใต้กฎหมายควบคุมค่าเช่าและการวินิจฉัยนอกฟ้อง
หนังสือสัญญาเช่าระบุไว้ว่าจำเลยเช่าเพื่อทำการค้า จำเลยย่อมต่อสู้และนำสืบได้ว่าจำเลยเช่าเพื่ออยู่อาศัย
โจทก์มิได้กล่าวหาเลยว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าสองคราวติด ๆ กันอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 มาตรา 17(1) การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคแรก
การที่ผู้เช่าจะชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าหรือไม่นั้น ไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์มิได้กล่าวหาเลยว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าสองคราวติด ๆ กันอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 มาตรา 17(1) การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคแรก
การที่ผู้เช่าจะชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าหรือไม่นั้น ไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน